Skip to main content
sharethis
ก.ค. 2559 มีผู้ประกันตนว่างงานจำนวน 153,661 คน มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 13.37% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว และขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมา 7 เดือนแล้วตั้งแต่ ม.ค. 2559
 
 
25 ก.ค. 2559 สำนักเศรษฐกิจการแรงงาน เปิดเผยตัวเลข เศรษฐกิจแรงงาน กรกฎาคม 2559 พบว่าภาวะการจ้างงานในตลาดแรงงาน เดือนกรกฎาคม 2559 การจ้างแรงงานในระบบประกันสังคม มีผู้ประกันตน (มาตรา 33) จำนวน 10,389,934 คน มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.10 (YoY) เมื่อเทียบกับ เดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งมีผู้ประกันตน จำนวน 10,176,391 คน แสดงให้เห็นว่ามีผู้ใช้แรงงานเข้าสู่การทำงานเพิ่มขึ้นถึง 213,543 คน สำหรับการว่างงานจากตัวเลขผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม มีจำนวน 153,661 คน มีอัตราขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 13.37 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.93 (MoM) เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2559 ที่มีจำนวน 152,240 คน และขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมา 7 เดือนแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 ส่วนอัตราการว่างงาน อยู่ที่ร้อยละ 1.48 ของผู้ประกันตนมาตรา 33 อัตราการเลิกจ้างลูกจ้างในระบบประกันสังคม มาตรา 33 ผู้ประกันตนที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้าง มีจำนวนทั้งสิ้น 27,777 คน คิดเป็นร้อยละ 0.27 ทรงตัวจากเดือนมิถุนายน 2559 ที่ร้อยละ 0.27 สำหรับสถานการณ์การจ้างงานจากข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2559 มีลูกจ้างที่มีนายจ้างในระบบประกันสังคม (ม.33) จำนวน 10,389,934 คน มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.10 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เดือนกรกฎาคม 2558) ซึ่งมีจำนวน 10,176,391 คน หากพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลง (YoY) ของเดือนกรกฎาคม 2559 เทียบกับเดือนมิถุนายน 2559 พบว่าในเดือนกรกฎาคม 2559 มีอัตราการขยายตัว (%YoY) อยู่ที่ร้อยละ 2.10 ชะลอตัวจาก เดือนมิถุนายน 2559 (%YoY) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.55 สถานการณ์การจ้างงานขยายตัวมากกว่า 1% จึงถือว่าสถานการณ์การจ้างงานอยู่ในภาวะปกติ
 
ด้านข้อมูลจาก กองวิจัยตลาดแรงงาน ระบุว่ากรมการจัดหางานได้รับแจ้งความต้องการแรงงาน (ตำแหน่งงานว่าง) จากนายจ้าง/สถานประกอบการเดือนกรกฎาคม 2559 จำนวน 33,104 อัตรา มีผู้สมัครงาน 9,544 คน และบรรจุงานได้ 27,126 คน โดยอุตสาหกรรมที่มีความต้องการแรงงานมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต  16,934 อัตรา รองลงมาคือ การขายส่ง การขายปลีก ซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ 7,103 อัตรา ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 1,639 อัตรา กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 1,597 อัตรา การก่อสร้าง 1,220 อัตรา อาชีพที่มีความต้องการแรงงานมากที่สุดคือ อาชีพงานพื้นฐาน (แรงงานทั่วไป, แรงงานด้านการผลิต) 13,079 อัตรา รองลงมาคือ พนักงานบริการ พนักงานขาย 5,397 อัตรา เสมียน เจ้าหน้าที่ 4,232 อัตรา ช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 3,938 อัตรา ผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่างๆ 2,237 อัตรา 
 
ตำแหน่งที่นายจ้าง/สถานประกอบการต้องการแรงงานมาก 10 อันดับแรก ได้แก่ 1. แรงงานทั่วไป 2. แรงงานด้านการผลิต 3. พนักงานขาย/ผู้นำเสนอสินค้า 4. พนักงานธุรการ 5. พนักงานขายของหน้าร้าน 6. ผู้ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ 7. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย 8. พนักงานขับรถยนต์ 9. พนักงานบริการลูกค้า 10. พนักงานบัญชี โดยความต้องการแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑลร้อยละ 67.57 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 11.55 ภาคเหนือ ร้อยละ 10.98 และภาคใต้ร้อยละ 9.90 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net