ประชาสังคมทั่วเอเชียโวย RCEP เจรจาปิดลับหารือแค่นักธุรกิจ ส่งจม.เปิดผนึกจี้โปร่งใส

1 ก.ย. 2559 กรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อชท์ – FTA Watch) เปิดเผยถึงความไม่พอใจของภาคประชาสังคมทั่วเอเชียต่อการเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ปิดลับและขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม เปิดโอกาสให้เพียงกลุ่มธุรกิจเข้าร่วม ทำให้ภาคประชาสังคมในระดับสากล ภูมิภาคและระดับประเทศ 64 องค์กรได้ลงนามในจดหมายเปิดผนึกแสดงข้อกังวลและท้วงติงเรื่องดังกล่าวส่งถึงรัฐบาล 16 ประเทศที่เจรจา

“ในการเจรจารอบล่าสุดที่กรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามที่ผ่านมา  ภาคประชาสัมคมถูกขับออกจากกระบวนการ ทั้งที่สองรอบของการเจรจาก่อนหน้านี้ ภาคประชาสังคมมีโอกาสในการนำเสนอความคิดเห็น ถึงแม้ว่าจะไม่เพียงพอ แต่เป็นการยอมรับถึงความชอบธรรมของบทบาทของภาคประชาสังคมในการแสดงข้อกังวลของสังคม เช่นเดียวกับในประเทศไทยนับตั้งแต่มีการรัฐประหาร กระบวนการหารือรับฟังความคิดเห็นเหลือเพียงการรายงานและรับฟังแต่กับกลุ่มธุรกิจเท่านั้น กรณีของ RCEP กระทรวงพาณิชย์ได้เคยส่งตัวแทนไปรายงานให้สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรมฟังถึงสำนักงาน แต่ไม่เคยจัดกระบวนการเช่นนี้กับภาคประชาสังคมหรือแม้แต่แวดวงวิชาการเลย” กรรณิการ์ กล่าว

ส่วนหนึ่งของจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล 16 ประเทศระบุว่า การเจรจาความตกลงดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการเข้าถึงยาที่รักษาชีวิต อาชีพที่ดีและมั่นคง การอยู่รอดของเกษตรกรรมและธุรกิจรายย่อย ความมั่นคงทางการเงิน องค์ความรู้ของชนเผ่าพื้นเมือง การปกป้องสิ่งแวดล้อม การบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งประชาชนเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องทราบถึงสิ่งที่ถูกนำเสนอและควรมีโอกาสในการแสดงความเห็นและข้อห่วงใย นำเสนอผลการวิเคราะห์และข้อแนะนำให้แก่ผู้เจรจา แต่มีแต่ผู้ได้ผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้นที่ได้รับเชิญเพื่อแสดงความเห็นต่อคณะเจรจา RCEP โดยที่กระบวนการเจรจา RCEP ก็ยังคงปิดกั้นภาคประชาสังคมอยู่ จึงหวังที่จะเห็นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียครบถ้วนที่กรุงเพิร์ธ ออสเตรเลีย และรอบถัดไปที่โอ๊คแลนด์ นิวซีแลนด์

สำหรับองค์กรไทยที่ร่วมลงนามทั้งสิ้น 14 องค์กรประกอบไปด้วย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ (ประเทศไทย), เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, มูลนิธิชีววิถี, กลุ่มศึกษาปัญหายา, มูลนิธิบูรณะนิเวศ, มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิผู้หญิง, เครือข่ายผู้หญิงพื้นเมือง, ชมรมเพื่อนโรคไต, ชมรมเภสัชชนบท, มูลนิธิสุขภาพไทย, เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ และ กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์)

 

จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล 16 ประเทศที่เจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)

ตามหลักการของการเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ท่านได้มุ่งเป้าเพื่อบรรลุสู่ความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่ ทันสมัย ครอบคลุม มีประสิทธิภาพสูงและเป็นประโยชน์ร่วมกันต่อภาคีระหว่างประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และ ภาคีเขตการค้าเสรีอาเซียน (FTA) ที่ครอบคลุมถึงการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขัน การระงับข้อพิพาทและประเด็นอื่นๆ  

ประเด็นเหล่านี้ล้วนกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชนในทั้งสิบหกประเทศที่ร่วมการเจรจาความตกลงดังกล่าว – การเข้าถึงยาที่รักษาชีวิต อาชีพที่ดีและมั่นคง การอยู่รอดของเกษตรกรรมและธุรกิจรายย่อย ความมั่นคงทางการเงิน องค์ความรู้ของชนเผ่าพื้นเมือง การปกป้องสิ่งแวดล้อม การบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และอื่นๆอีกมากมาย

ชุมชนที่หลากหลายที่ได้รับผลกระทบจากการเจรจาที่สำคัญนี้จำเป็นที่จะต้องทราบถึงสิ่งที่ถูกนำเสนอและควรมีโอกาสในการแสดงความเห็นและข้อห่วงใย และนำเสนอผลการวิเคราะห์และข้อแนะนำให้แก่ผู้เจรจา 

ที่ผ่านมารัฐบาลของท่านทั้งหกคือ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และเวียดนามได้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระหว่างการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก  โดยบรรจุกระบวนการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นส่วนหนึ่งของรอบการเจรจาที่ท่านเป็นเจ้าภาพ ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะประเด็นเนื้อหาความตกลงที่เป็นความลับและได้ยุติก่อนจะมีการสรุปการเจรจา

เราเข้าใจว่าผู้ได้ผลประโยชน์ทางการค้าได้ถูกเชิญเพื่อแสดงความเห็นต่อท่านในการเจรจา RCEP รอบที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการเจรจา RCEP ก็ยังคงปิดกั้นภาคประชาสังคมอยู่ หลังจากการเจรจารอบที่ 12 เท่านั้นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกเหนือจากผู้ได้ประโยชน์จากการค้า ได้รับโอกาสที่จำกัดในการแสดงข้อกังวล

เราได้คาดว่าการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่กรุงเพิร์ธและรอบถัดไปที่โอ๊คแลนด์จะดำเนินต่อไปในอนาคตและขยายสู่บางอย่างที่อย่างน้อยที่สุดเหมือนกับ TPPA แต่ในการเจรจารอบล่าสุด ประตูได้ถูกปิดลงอีกครั้ง การกีดกันภาคประชาสังคมจะขยายความแคลงใจและความกังวลต่อสิ่งที่พวกท่านกำลังเจรจาเท่านั้น

ดังนั้นเราจึงเรียกร้องต่อท่านในการให้โอกาสที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อความร่วมมือกันในทุกรอบการเจรจาในอนาคต พร้อมทั้งให้ข้อมูลล่วงหน้าถึงเวลาและสถานที่ที่การเจรจาจะเกิดขึ้นและเผยแพร่เนื้อหาในตอนท้ายของการเจรจาแต่ละรอบ เพื่อให้เกิดการประเมินที่รอบด้านและการถกเถียงอย่างมีข้อมูลเกี่ยวกับนัยยะสำคัญของ RCEP แม้ในขั้นปลายนี้ของการเจรจา

องค์กรภาคประชาสังคมที่ร่วมลงนา

องค์กร

ประเทศ RCEP

Electronic Frontier Foundation

Global

GRAIN

Global

International League of Peoples Struggle (ILPS) - Peasant Commission

Global

International Trade Union Confederation (ITUC)

Global

Asia Pacific Forum on Women, Law & Development (APWLD)

Regional

Building and Wood Workers' International Asia-Pacific

Regional

Asia Pacific Research Network (APRN)

Regional

Public Services International, Asia-Pacific

Regional

Southeast Asia Tobacco Control Alliance

Regional

Asian Peasant Coalition (APC)

Regional

People's Health Movement Australia

Australia

Public Health Association of Australia

Australia

Australian Fair Trade and Investment Network

Australia

Social Action for Change

Cambodia

Women's Network for Unity

Cambodia

Cambodian Grassroots Cross-sector Network

Cambodia

Cambodian Labour Confederation

Cambodia

The Messenger Band

Cambodia

United Sisterhood Alliance

Cambodia

Rainbow Community Kampuchea

Cambodia

Forum Against FTAs

India

Thanal

India

Alliance for a Sustainable and Holistic Agriculture

India

Save our Rice Campaign - India

India

Tamilnadu organic farmers federation

India

Vithu trust

India

Serikat Perempuan Indonesia

Indonesia

Indonesia for Global Justice

Indonesia

Kolektif Anarkonesia

Indonesia

Institut Perempuan

Indonesia

Ahimsa Society

Indonesia

Federation of Indonesian Labours Struggle ( FPBI )

Indonesia

People's Action against TPP

Japan

Pacific Asia Resource Center, PARC

Japan

Positive Malaysian Treatment Access & Advocacy Group (MTAAG+)

Malaysia

Consumers' Association of Penang

Malaysia

Sahabat Alam (Friends of the Earth) Malaysia

Malaysia

Cooperative Comittee of Trade Union

Myanmar

It's Our Future

New Zealand

New Zealand Council of Trade Unions

New Zealand

Kilusang Magbubukid ng Pilipinas or Peasant Movement of the Philippines (KMP)

Philippines

Resistance and Solidarity against Agrochem Transnational Corporations (RESIST)

Philippines

Sentro ng Nagkakaisa at Progresibong Manggagawa

Philippines

Initiatives for Dialogue and Empowerment through Alternative Legal Services

Philippines

Knowledge Commune

South Korea

IPLeft

South Korea

The International Trade Committee of the MINBYUN

South Korea

Korean Federation of Medical Groups for Healthrights (KFHR)

South Korea

People's Solidarity for Participatory Democracy

South Korea

AIDS ACCESS Foundation

Thailand

Alternative Agriculture Network (AAN)

Thailand

BioThai Foundation

Thailand

Drug Study Group

Thailand

Ecological Alert and Recovery – Thailand (EARTH)

Thailand

Foundation for AIDS Rights

Thailand

Foundation for Consumers

Thailand

Foundation for Women

Thailand

FTA Watch

Thailand

Indigenous Women's Network of Thailand

Thailand

Renal Failure Patient Group

Thailand

Rural Pharmacy Association

Thailand

Thai Holistic Health Foundation

Thailand

Thai Network of People living with HIV/AIDS (TNP+)

Thailand

The Women's Network for Progress and Peace

Thailand

Vietnam Network of People living with HIV (VNP+)

Vietnam

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท