รายงานพิเศษ: เมื่อที่ดิน-ทะเลถูกยึดแย่ง เขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลาที่สร้างจากกระบอกปืน

รัฐบาลทหารไทยมีแผนขับไล่ชาวบ้านราว 300 คนออกจากบ้านเรือนเพื่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสงขลาทางใต้ของประเทศไทย แม้แผนการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลทหารอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่กลับผลักให้คนจนในประเทศแบกรับภาระ

รัฐบาลทหารกำลังทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการดำเนินโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ด้วยงบประมาณมหาศาล เมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่ง คสช. ที่ 17/2558 ทำให้พื้นที่จำนวนมากแถบแนวชายแดนกลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะมีการผ่อนปรนระเบียบสำหรับอุตสาหกรรมเพื่อดึงดูดนักลงทุน

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไทย-มาเลเซีย ตั้งอยู่ที่ตำบลสำนักคาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาชายแดนไทยมาเลเซีย ครอบคลุมพื้นที่ 1,207 ไร่ ที่ดินแถบนี้ถูกเวนคืนโดยกรมธนารักษ์เพื่อเตรียมก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทว่า หน่วยงานภาครัฐจะต้องไล่รื้อชาวบ้านหลายร้อยคนออกจากที่ดินก่อนส่งมอบที่ดินให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

ด่านศุลกากรที่คลาคล่ำใกล้ชายแดนไทยมาเลเซีย อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

 

ถ้าไม่ย้ายออกจะโดนตั้งข้อหา

ฤดูมรสุมพ้นไปแล้ว เมฆเทาทาบทับสวนสนุกที่เงียบเหงา ห่างออกไปอีก 300 เมตร ซิติฟาติเมาะห์ อับดันเลาะห์ หญิงมุสลิมอายุ 48 ปีนั่งหน้าร้านขายน้ำมันพลางมองรถบรรทุกที่ผ่านไปมาอย่างไม่ใส่ใจ ซิติฟาติเมาะห์กล่าวว่า “ธุรกิจไม่ดีเหมือนเคย ตั้งเเต่เขามาตัดไฟฟ้าที่บ้าน เราต้องใช้น้ำมันปั่นไฟเอง” ซิติฟาติเมาะห์อาศัยอยู่ในบ้านที่ยังไม่ถูกไล่รื้อ 1 ใน 4 หลัง จากการรื้อสิ่งปลูกสร้างครั้งล่าสุด เธอและเพื่อนบ้านหลายร้อยคนไม่ทราบว่าจะต้านทานเจ้าหน้าที่ที่มาไล่รื้อนี้ได้นานเท่าไหร่

 

ซิติฟาติเมาะห์ผู้อาศัยในบ้านหนึ่งในสี่หลังบนที่ดินที่จะใช้ก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดา

 

ระยะแรกครอบครัวส่วนใหญ่ที่อาศัยในเขตเวนคืนเพื่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดาอาศัยอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่ พ.ศ.2547 เดิมที่ดินนี้เป็นของสุรินทร์ ลิ้มวรากร เจ้าของสวนยาง หลังจากที่เจ้าของเดิมถูกตั้งข้อหาฟอกเงินและถูกยึดทรัพย์โดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ปปง. ได้ให้ชาวบ้านเข้ามาเช่าที่ดินราคาตารางเมตรละ 1,000 บาท

“ทหารและเจ้าหน้าที่มาเยี่ยมบ้านเราหลายครั้งหลังจากมีการติดประกาศให้ย้ายออกจากพื้นที่ เรารู้สึกกลัวเวลาที่ทหารพกอาวุธเข้ามาด้วย ครั้งสุดท้ายที่เจ้าหน้าที่เข้ามาก็มาตัดสายไฟฟ้าเส้นที่ต่อเข้าบ้านเรา ตอนนี้ต้องจ่ายค่าปั่นไฟฟ้าเองวันละ 60-80 บาท"

หลังจากมีคำพิพากษาคดีสุรินทร์ ปปง. ได้ส่งมอบที่ดินให้กรมธนารักษ์ จากนั้นมีการเสนอว่าที่ดินแถบนี้เหมาะสมกับการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพียงชั่วข้ามคืนประชาชนที่อาศัยอยู่อย่างสงบมา 10 ปีกลายเป็นผู้บุกรุก

ที่ดินจำนวน 600 ไร่ ถูกแผ้วถางในช่วงการก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะแรก เจ้าหน้าที่สั่งให้บุคคลประมาณ 39 คนอพยพออกจากที่ดิน มีบ้านเพียงสี่หลังหลงเหลือจากการรื้อถอนบ้านของซิติฟาติเมาะห์เป็นหนึ่งในสี่หลังที่ยังรอดพ้นจากรื้อถอนในพื้นที่ โดยในการก่อสร้างระยะที่ 2 ยังต้องใช้ที่ดินอีก 400 ไร่ ยังมีประชาชน 259 คนอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ชาวบ้านส่วนมากยังยืนยันไม่ยอมย้าย

อรุณ กำเนิดผล วัย 48 ปี กล่าวว่า “เจ้าหน้าที่บอกว่าเราบุกรุกพื้นที่สาธารณะ แต่เราเข้าทำกินในพื้นที่นี้ เราจ่ายค่าเช่าทุกเดือนตั้งแต่เข้ามาอาศัย” อรุณเป็นแกนนำชุมชนซึ่งประกอบด้วยประชาชนประมาณ 300 คนที่กำลังต่อสู้คัดค้านคำสั่งให้ย้ายออกจากที่ดิน

 

อรุณ กำเนิดผลกับชาวบ้านที่ได้รับคำสั่งจากเจ้าหน้าที่ให้ย้ายออกจากพื้นที่

 

อรุณบอกประชาไทว่า ประชาชนที่อยู่ในมาจากทั่วประเทศ เมื่อแรกอาจมาทำงานในร้านอาหารหรือทำงานก่อสร้างในมาเลเซีย เเต่อาศัยออยู่ที่สะเดา เมื่อประชาชนทราบว่า ปปง.

ให้เช่าที่ดินราคาถูกเมื่อทศวรรษที่แล้วจึงตัดสินใจย้ายจากตัวเมืองสะเดามาตั้งรกรากที่ที่ดินแห่งนี้ ปลูกกล้วย เสาวรส และผักต่างๆ เป็นรายได้เสริม

อรุณกล่าวเพิ่มเติมว่าตั้งแต่ประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐกับทหารพร้อมอาวุธเข้ามาที่หมู่บ้านบ่อยๆ เพื่อสั่งให้ชาวบ้านย้ายออกจากพื้นที่ ชาวบ้านรู้สึกว่าการมา ‘เยี่ยม’ เป็นการคุกคาม

ซิติฟาติเมาะห์กล่าวว่า “ทหารและเจ้าหน้าที่มาเยี่ยมบ้านเราหลายครั้งหลังจากมีการติดประกาศให้ย้ายออกจากพื้นที่ เรารู้สึกกลัวเวลาที่ทหารพกอาวุธเข้ามาด้วย ครั้งสุดท้ายที่เจ้าหน้าที่เข้ามาก็มาตัดสายไฟฟ้าเส้นที่ต่อเข้าบ้านเรา ตอนนี้ต้องจ่ายค่าปั่นไฟฟ้าเองวันละ 60-80 บาท"

“หลายคนปล่อยที่ดินให้คนอื่นเช่าโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอ้างว่าได้รับอนุญาตจาก ปปง. ให้เป็นนายหน้าผู้เช่า ผู้เช่าที่เช่าที่ดินถูกกฎหมายมีเพียงรายเดียวคือผู้เช่ารายที่มีกิจการร้านข่ายอุปกรณ์ก่อสร้างที่เช่าจาก ปปง. โดยตรง”

กองคำ ไจยา อายุ 57 ปี อาชีพก่อสร้างอยู่บ้านตรงข้ามกับซิติฟาติเมาะห์ เขาปลูกบ้านแบบเรียบง่ายและมีแปลงปลูกผักหลังบ้านขายส่งพ่อค้าคนกลางชาวมาเลเซีย กองคำได้รับคำสั่งให้ย้ายออกจากที่ดินเช่นกัน

กองคำเล่าว่า “ผมย้ายมาอยู่ที่นี่สิบปีกว่าแล้ว หมดเงินปลูกบ้านหลังเล็กๆ ไปเยอะ ผมไม่อยากย้ายเพราะพวกเราส่วนใหญ่ไม่มีเงินมากมาย และไม่รู้ว่าจะย้ายไปที่ไหนเพราะที่ดินที่สะเดาราคาแพงมาก”

 

บ้านหลังเล็กพร้อมแปลงกล้วยหลังบ้านของชาวบ้านสะเดาคนหนึ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่มีคำสั่งให้ย้ายออกจากพื้นที่

 

เกชา เบญจกาญจน์ นายกเทศบาลสำนักคาม กล่าวว่า ชาวบ้านเข้ามาครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จะถูกสั่งให้ออกจากพื้นที่โดยไม่ได้ค่าชดเชยและไม่สามารถรับที่ดินใหม่ชดเชยการไล่รื้อได้

เกชากล่าวว่า “หลายคนปล่อยที่ดินให้คนอื่นเช่าโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอ้างว่าได้รับอนุญาตจาก ปปง. ให้เป็นนายหน้าผู้เช่า ผู้เช่าที่เช่าที่ดินถูกกฎหมายมีเพียงรายเดียวคือผู้เช่ารายที่มีกิจการร้านข่ายอุปกรณ์ก่อสร้างที่เช่าจาก ปปง. โดยตรง”

นายกเทศมนตรีกล่าวว่า “มีประชาชนเพียง 39 คน ที่มีหลักฐานว่ามีอยู่อาศัยมากกว่า 10 ปี เเละเป็นผู้มีรายได้น้อย ซึ่งจะได้ย้ายไปอาศัยในที่ดินชดเชยใกล้กับที่ทำการเทศบาลแห่งใหม่ โดยจะได้ที่ดิน 50 ตารางเมตรหรือได้ห้อง 1 ห้อง ถ้าสร้างห้องแถวทดแทนให้ ส่วนที่เหลือ ถ้าไม่ย้ายก็ต้องตั้งข้อหา เราไม่มีทางเลือก”

การพัฒนาเพื่อใคร?

นอกจากการไล่รื้อชุมชน ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่กำหนดให้ก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษกำลังต่อสู้กับอุตสาหกรรมหนักในพื้นที่ อรุณกล่าวว่า “เราไม่อยากให้อุตสาหกรรมหนักมาลงที่นี่ สะเดาเป็นเขตท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวมาเลเซียเพราะตั้งอยู่ติดชายแดน ผมไม่ทราบว่าทำไมจึงวางแผนให้สร้างโรงงานเพิ่มขึ้นแถบนี้”

แกนนำชุมชุนที่กำลังต่อสู้อยู่บอกว่า ชาวบ้านเพิ่งยื่นหนังสือร่วมกันให้เจ้าหน้าที่รัฐแบ่งพื้นที่ 400 ไร่ที่เหลือให้ชาวบ้าน 274 ไร่ เพื่อให้ชาวบ้านอยู่อาศัยเเละก่อตั้งสหกรณ์การเกษตรปลูกพืชอาหารเลี้ยงอำเภอ

อรุณกล่าวกับประชาไทว่า “เราแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าอยากจะพบกันครึ่งทาง เจ้าหน้าที่สามารถเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษและสร้างโรงงานได้ โดยที่ชาวบ้านก็อยู่ในพื้นที่ได้เช่นกัน เราหวังว่าเจ้าหน้าที่จะฟังชาวบ้านและพิจารณาแผนใหม่ ตอนนี้ยังไม่ได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่”

 

ที่ดินแปลงใหญ่ใกล้พื้นที่ก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดาได้รับการปรับหน้าดินเตรียมรองรับการก่อสร้างสำนักงานศุลกากรสะเดา

 

ขณะที่นายกเทศมนตรีสำนักคามเห็นว่าเจ้าหน้าที่ไม่สามารถยอมตามข้อเรียกร้องของชาวบ้านได้ เพราะที่ดินเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์ ซึ่งกำลังจะส่งมอบให้การนิคมอุตสาหกรรม ถึงกระนั้นเกชาเเละชาวบ้านที่กำลังต่อสู้ก็มีความเห็นตรงกันเรื่องหนึ่งคืออำเภอสะเดาไม่ควรมีอุตสาหกรรมหนัก

เกชากล่าวว่า “การนิคมอุตสาหกรรมบอกว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดามีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมธุรกิจการขนส่ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-มาเลเซีย โรงงานที่ตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นโรงงานแปรรูปสินค้าไม่ใช่โรงงานผลิตสินค้า แต่ผมเกรงว่าภายหลังจากการก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ การนิคมอุตสาหกรรมจะอนุญาตให้ตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษด้วย”

 

เกชา เบญจกาญจน์ นายกเทศมนตรีสำนักคามคนปัจจุบัน

 

เกชา ยังกล่าวอีกว่า ต้องการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพิจารณาแผนเขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่ และว่าสะเดาควรเป็นศูนย์กลางการขนส่งสำหรับจังหวัดสงขลาเพราะชาวมาเลเซียจำนวนมากต้องเดินทางมาที่นี่ก่อนจะเดินทางไปยังที่อื่นๆ ต่อ เกชามองในแง่ดีว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษจะสร้างฐานเศรษฐกิจที่หลากหลายให้อำเภอสะเดาและสร้างงานให้คนในภูมิภาคมากขึ้น

“ในอดีตปริมาณปลาในจะนะลดลงอย่างมากเพราะการจับปลาเกินขนาด เราใช้เวลา 20 ปี ต่อสู้กับเรืออวนลากอวนรุนและการประมงโดยไม่มีการควบคุมเพื่อให้ทะเลฟื้นตัว พอเราทำสำเร็จเขาก็เอาทะเลไปจากเราอีกแล้ว”

ขณะที่ประชาคมธุรกิจในสะเดาก็ยังไม่ทราบชัดเจนว่า แผนเขตเศรษฐกิจพิเศษจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในพื้นที่อย่างไร เพราะยังไม่ทราบเรื่องแผนเขตเศรษฐกิจพิเศษ ไชยรัตน์ เรืองวรุณวัฒนา เจ้าของบริษัทถาวรอุตสาหกรรมยางพารากล่าวกับประชาไทว่า “นักธุรกิจในพื้นที่ยังไม่แน่ใจเรื่องแผนเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำรับธุรกิจเราก็ยังดำเนินการเป็นปกติอยู่”

เขาเอา ‘ทะเล’ ไปจากเรา

ชาวบ้านหมู่บ้านหาดสน ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ กำลังร้อนใจ หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอสะเดาไปโดยประมาณ 50 กิโลเมตร รัฐบาลทหารกำลังจะฟื้นแผนการสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งที่ 2 ในจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขนาดใหญ่ในภาคใต้

สมบูรณ์ พฤกษนุรักษ์ อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมสงขลากล่าวว่า โครงการท่าเรือจะเป็นเเรงจูงใจเสริมให้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลามากขึ้น เช่นเดียวกับท่าเรือแหลมฉบังในจังหวัดชลบุรีทางภาคตะวันออกของประเทศที่ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ภาคตะวันออก

 

ชายหาด ณ หมู่บ้านหาดสน

 

หมู่บ้านหาดสน ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ชาวบ้านส่วนมากทำการประมงแบบยั่งยืน ชาวบ้านที่จะนะส่วนใหญ่เป็นชาวประมง โครงการท่าเรือมูลค่า 11,000 ล้านบาทคืออวสานของกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่

รุ่งเรือง รามัญญา อายุ 44 ปี แกนนำชุมชนและประธานกลุ่มอนุรักษ์ทะเลจะนะ เล่าให้ประชาไทฟังว่า “ในอดีตปริมาณปลาในจะนะลดลงอย่างมากเพราะการจับปลาเกินขนาด เราใช้เวลา 20 ปี ต่อสู้กับเรืออวนลากอวนรุนและการประมงโดยไม่มีการควบคุมเพื่อให้ทะเลฟื้นตัว พอเราทำสำเร็จเขาก็เอาทะเลไปจากเราอีกแล้ว”

รุ่งเรืองกล่าวเสริมว่า ตามแผนของกรมเจ้าท่าจะมีการเวนคืนที่ดิน 675 ไร่ เพื่อการสร้างท่าเรือ ชาวหาดสนประมาณ 400 คนจะต้องถูกไล่รื้อออกจากพื้นที่

“อยู่แบบนี้เราไม่รวยไม่จน เราได้เงินอย่างน้อยวันละ 1,000 บาท แต่ก็ทำงานไม่กี่ชั่วโมง เพราะเราอนุรักษ์ทะเลดี ทะเลก็ตอบแทนเราด้วยปลาอุดมสมบูรณ์ พวกนั้นที่ต้องการสร้างท่าเรือบอกให้เราวางแหวางอวนแล้วไปทำงานในโรงงานหรือพอมีท่าเรือก็ไปขายของที่ระลึก ตลกนะ”

รุ่งเรืองกล่าวว่า “เขาทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโครงการแล้ว แต่ชาวบ้านในพื้นที่ไม่ทราบเลย เจ้าหน้าที่รัฐอยากให้รัฐบาลทหารใช้มาตรา 44 เพื่อให้อนุมัติโครงการได้โดยเร็ว ผมไม่ทราบว่าทำไมต้องเร่งรัดขนาดนั้น ทำไมเขาถึงต้องใช้กฎหมายแบบนั้นต่อคนจนตลอดเวลาด้วย”

 

รุ่งเรือง รามัญญา อายุ 44 ปี แกนนำชุมชนและประธานกลุ่มอนุรักษ์ทะเลจะนะ

 

ไซหนับ ยะมันญา ชาวประมงพื้นบ้านหาดสน อายุ 45 ปี ตัวแทนชาวบ้านกล่าวว่า ชาวบ้านไม่ต้องการท่าเรือเพราะชาวบ้านพอใจกับความเป็นอยู่ที่ได้รับจากทะเลจะนะ

ไซหนับกล่าวว่า “อยู่แบบนี้เราไม่รวยไม่จน เราได้เงินอย่างน้อยวันละ 1,000 บาท แต่ก็ทำงานไม่กี่ชั่วโมง เพราะเราอนุรักษ์ทะเลดี ทะเลก็ตอบแทนเราด้วยปลาอุดมสมบูรณ์ พวกนั้นที่ต้องการสร้างท่าเรือบอกให้เราวางแหวางอวนแล้วไปทำงานในโรงงานหรือพอมีท่าเรือก็ไปขายของที่ระลึก ตลกนะ”

แม้ชาวบ้านจะคัดค้าน แต่รัฐบาลทหารมีอำนาจเบ็ดเสร็จผ่านมาตรา 44 ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถผลักดันโครงการพัฒนาไปได้ง่ายขึ้น ชาวบ้านหวั่นเกรงว่าฝันร้ายจะกลายเป็นจริง

รุ่งเรืองสรุปว่า “เจ้าหน้าที่อ้างว่าโครงการเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของชาติและเศรษฐกิจ แล้วเราล่ะ ความมั่นคงของเราอยู่ตรงไหน”

 

ไซหนับ ยะมันญา ชาวประมงพื้นบ้านหาดสน อายุ 45 ปี ชาวบ้านผู้คัดค้านการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกจะนะ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท