สาระ+ภาพ: ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับล่าสุด จะมีผลกับเรายังไงบ้าง

ชวนอ่านสรุปสาระสำคัญร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับวันที่ 18 พ.ย. 2559 ในประเด็นที่น่าจะกระทบกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 
 

 

มาตรา 14(1) มักถูกนำมาฟ้องหมิ่นประมาทออนไลน์ แม้ว่าเจตนารมณ์ของมาตรานี้จะมีขึ้นเพื่อจัดการกับการปลอมแปลงเอกสารและฉ้อโกงออนไลน์ 

กมธ.ที่ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ เองก็เคยบอกว่าเห็นปัญหาของมาตรานี้ 

แต่ในร่างปัจจุบัน ก็ไม่มีการแก้เนื้อหาให้ชัดเจนขึ้น 

อ่านต่อที่ สรุปร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุด 'บล็อคไปให้ไพศาล' 

 


มีความกังวลว่า ข้อความที่เพิ่มเข้ามา อาจทำให้มีการใช้มาตรา 14(2) ฟ้องเอาผิดกับผู้ที่วิจารณ์นโยบายสาธารณะ หรือตรวจสอบคอร์รัปชัน 

อ่านต่อที่ รายงาน: โค้งท้ายๆ กับร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีอะไรที่ไม่โอเค?

มาตรา 15 เรื่องความรับผิดของตัวกลางหรือผู้ให้บริการ เป็นอีกประเด็นที่ได้รับความสนใจมาก เพราะกำหนดโทษของผู้ให้บริการ (ซึ่งกินความกว้างตั้งแต่ ISP, เจ้าของเว็บ ยันคนปล่อยสัญญาณไวไฟ) มีโทษเท่ากับคนโพสต์ตามมาตรา 14 

มีการแก้ไขว่า ถ้าเอาออกตามที่มีคนแจ้งเตือนแล้วก็ไม่ผิด แต่ขั้นตอนก็ยังกว้างมาก เปิดให้ใครก็แจ้งเตือนได้ แถมต้องลบในสามวัน เสี่ยงเกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง 

อ่านต่อที่ รายงานเสวนา: เสรีภาพออนไลน์ใต้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

ข่าวเกี่ยวกับตัวกลาง http://prachatai.org/category/ตัวกลาง
 

มาตรา 15 เรื่องความรับผิดของตัวกลางหรือผู้ให้บริการ เป็นอีกประเด็นที่ได้รับความสนใจมาก เพราะกำหนดโทษของผู้ให้บริการ (ซึ่งกินความกว้างตั้งแต่ ISP, เจ้าของเว็บ ยันคนปล่อยสัญญาณไวไฟ) มีโทษเท่ากับคนโพสต์ตามมาตรา 14 

มีการแก้ไขว่า ถ้าเอาออกตามที่มีคนแจ้งเตือนแล้วก็ไม่ผิด แต่ขั้นตอนก็ยังกว้างมาก เปิดให้ใครก็แจ้งเตือนได้ แถมต้องลบในสามวัน เสี่ยงเกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง 

อ่านต่อที่ รายงานเสวนา: เสรีภาพออนไลน์ใต้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

 
 
 
 
มาตรา 16/2 กำหนดให้ใครก็ตามที่มีข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ศาลสั่งให้เป็นความผิดตามมาตรา 14 (นำเข้าข้อมูลเท็จ) และมาตรา 16 (ตัดต่อภาพ-ภาพคนตาย) และให้ทำลาย ในครอบครอง จะต้องทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นด้วย ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดครึ่งหนึ่งของผู้โพสต์ 

คำถามคือแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลเหล่านั้นผิดตามมาตรา 14 หรือ 16 แล้วศาลสั่งให้ทำลาย

ภาระในการรู้ ค้นคำพิพากษา หรือพิสูจน์ว่าเราไม่รู้เป็นของใคร

แล้วจะกระทบกับคนที่ต้องทำงานกับข้อมูล อย่าง สื่อ นักวิจัย หรือห้องสมุดหรือไม่ ข้อมูลที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จะถูกทำให้หายไป?

อ่านต่อที่ รายงาน: โค้งท้ายๆ กับร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีอะไรที่ไม่โอเค?

 
 
 
 
มาตรา 20 นอกจากจะเป็นการยื่นบล็อคจากรัฐฝ่ายเดียวและบล็อคเนื้อหาได้กว้างขวางแล้ว ยังขาดกระบวนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้วย

อ่านเกี่ยวกับมาตรา 20
 

 
 
 
นอกจากการบล็อคตามมาตรา 20 แล้ว ในร่างใหม่ยังเพิ่มมาตรา 20/1 ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรอง 5 คน มาทำหน้าที่ขอให้ศาลมีคำสั่งบล็อคข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ผิดกฎหมายแต่ดันขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีอีกด้วย

การเขียนเช่นนี้ กว้างเกินไปหรือเปล่า?

 
 
 
ในร่างประกาศฯ ที่เกี่ยวข้อง ระบุให้กระทรวงดิจิทัลตั้งศูนย์ เพื่อระงับหรือลบได้เอง โดยหากผู้ให้บริการยินยอม ศูนย์ตามร่างประกาศข้อ 4 จะเชื่อมโยงตรงกับผู้ให้บริการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ระงับหรือลบข้อมูลในระบบของผู้ให้บริการได้เอง

 

 
 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท