นักกิจกรรมเรียกร้องแลกเปลี่ยนเรื่องความหลากหลายทางเพศพื้นที่ชายแดนใต้อย่างสร้างสรรค์

11 ก.พ. 2560 สืบเนื่องจากกรณีที่รายการ ‘ก(ล)างเมือง’ ตอน ‘ห้องเรียนเพศวิถี’ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชนร้านหนังสือบูคู (Buku Classroom) ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 ได้มีการเผยแพร่บทความเชิงวิพากษ์วิจารณ์ในเว็บไซต์และการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์โดยนักวิชาการมุสลิมจำนวนหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้เกิดบรรยากาศของการโต้เถียงกันอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีบางส่วนที่มีการใช้ถ้อยคำแสดงความเกลียดชัง (hate speech) ซึ่งมีลักษณะเป็นการข่มขู่ต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ทำให้กลุ่มนักกิจกรรมได้ออกจดหมายเปิดผนึกเรื่อง ‘การคุกคามนักกิจกรรมเพื่อสิทธิในภาคใต้ กรณีห้องเรียนเพศวิถี’

โดยในจดหมายเปิดผนึกได้เรียกร้องให้มียุติการกระทำที่เป็นการส่งต่อข้อมูลส่วนตัว การใช้วาจาข่มขู่คุกคามที่จะนำไปสู่ความเกลียดชังและความขัดแย้ง ซึ่งไม่สร้างผลดีใดๆ แก่ประชาชนและบรรยากาศสันติภาพในพื้นที่โดยทันที รวมทั้งขอให้มีการแสวงหาพื้นที่กลางในการร่วมพูดคุยอย่างสันติ เพื่อเรียนรู้และสร้างความเข้าใจระหว่างกัน ถกเถียงแลกเปลี่ยนในเรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศของคนมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้/ปาตานีอย่างสร้างสรรค์ และอยู่บนหลักการสิทธิมนุษยชนสากลที่ปกป้องคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนเท่าเทียมกัน

รายละเอียดของจดหมายเปิดผนึกทั้งหมดมีดังต่อไปนี้

จดหมายเปิดผนึก
การคุกคามนักกิจกรรมเพื่อสิทธิในภาคใต้ กรณีห้องเรียนเพศวิถี

จากการออกอากาศรายการ ‘ก(ล)างเมือง’ ตอน ‘ห้องเรียนเพศวิถี’ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน ร้านหนังสือบูคู (Buku Classroom) ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 ได้เกิดการเผยแพร่บทความเชิงวิพากษ์วิจารณ์ในเว็บไซต์และการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์โดยนักวิชาการมุสลิมจำนวนหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้เกิดบรรยากาศของการโต้แย้งกันอย่างกว้างขวาง เกิดการใช้ถ้อยคำแสดงความเกลียดชัง (hate speech) ซึ่งมีลักษณะเป็นการข่มขู่ต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้มีความหลากหลายทางเพศ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมคนอื่นๆ มีการกล่าวหาว่าห้องเรียนเพศวิถีและกิจกรรมฟุตบอล Buku FC เป็นการส่งเสริมหรือ “สอน” ให้มุสลิมเป็นบุคคลรักเพศเดียวกัน สถานการณ์ในพื้นที่ มีแนวโน้มจะนำไปสู่การคุกคามและการใช้ความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นที่น่ากังวลใจอย่างยิ่ง

พื้นที่ชายแดนใต้/ปาตานี เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม พหุศาสนา ที่ผู้คนอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายทางอัตลักษณ์และวัฒนธรรมมายาวนาน แม้ในทศวรรษที่ผ่านมา ห้วงเวลาย้อนกลับไปทางประวัติศาสตร์จะเกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นหลายครั้งด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุปัจจัยที่ประชาชนในพื้นที่นี้ได้รับการเลือกปฏิบัติ การถูกเบียดขับให้เป็นชายขอบ การถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกถึงความคิดเห็นที่แตกต่างและอัตลักษณ์ทางภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมของตน รวมถึงการไม่ได้รับความเป็นธรรมในหลายมิติ ท่ามกลางความหวังและการร่วมมือกันทำงานของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะนักสันติวิธีและนักเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน ที่พยายามผลักดันให้เกิดความสงบสันติ และคลี่คลายความขัดแย้งในพื้นที่นี้ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ความสงบสันติที่แท้จริงนั้นควรอยู่บนพื้นที่ของการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย เพื่อสันติภาพในชายแดนใต้/ปาตานีอย่างแท้จริง

กรณีการโจมตีการทำงานของนักกิจกรรม ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน ณ ร้านหนังสือบูคู โดยใช้ถ้อยคำแสดงความเกลียดชังต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้/ปาตานีที่เกิดขึ้น เป็นที่จับตามองของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งในและนอกพื้นที่อย่างกว้างขวางด้วยความเป็นห่วงถึงสถานการณ์ ซึ่งส่งสัญญาณถึงบรรยากาศของความรุนแรง ที่อาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างร้ายแรงที่จะเกิดกับกลุ่มบุคคลนี้

เราจึงขอเรียกร้องให้

1.ยุติการกระทำที่เป็นการส่งต่อข้อมูลส่วนตัว การใช้วาจาข่มขู่คุกคามที่จะนำไปสู่ความเกลียดชังและความขัดแย้ง ซึ่งไม่สร้างผลดีใดๆ แก่ประชาชนและบรรยากาศสันติภาพในพื้นที่โดยทันที

2.แสวงหาพื้นที่กลางในการร่วมพูดคุยอย่างสันติ เพื่อเรียนรู้และสร้างความเข้าใจระหว่างกัน

3.การถกเถียงแลกเปลี่ยนในเรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศของคนมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้/ปาตานีเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ และอยู่บนหลักการสิทธิมนุษยชนสากลที่ปกป้องคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนเท่าเทียมกัน

เราในฐานะกลุ่ม/องค์กรที่ทำงานเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ดังรายชื่อต่อไปนี้ เชื่อมั่นในหลักการสิทธิมนุษยชน เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกันและกัน รวมถึงการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างอย่างอดทนอดกลั้น ไม่ว่าจะมีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว เพศภาวะ เพศวิถี แนวคิด อุดมการณ์ เพื่อให้ดินแดนปาตานี/ชายแดนใต้กลับคืนสู่สันติอย่างยั่งยืนต่อไป

รายชื่อแนบท้าย

1.   FAIRLY TELL

2.   กรกนก คำตา

3.   กลุ่มทำทาง

4.   กาญจนา แถลงกิจ, เอนจีโอเอดส์

5.   ก้าวหน้า เสาวกุล, นักกิจกรรมอิสระ

6.   กุลวีณ์ ผลดี

7.   กุสุมา จันทร์มูล, อรุชาคลับเพื่อความหลากหลาย

8.   เควียร์แมงโก้

9.   จตุรงค์ จงอาษา, นักวิชาเกรียนอิสระ

10.  จารุวรรณ สาทลาลัย

11.  จิตรา คชเดช, ผู้ประสานงานกลุ่มคนงาน Try Arm

12.  จุฑิมาศ สุกใส, นักวิจัยอิสระ

13.  จุลศักดิ์ แก้วกาญจน์, นักกฎหมาย

14.  เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี

15.  เจริญพงศ์ พรหมศร

16.  ฉัตรสุดา หาญบาง

17.  ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่, สำนักพิมพ์สะพาน

18.  ชญานิน เตียงพิทยากร

19.  ชมพูนุช เฉลียวบุญ, อันเฟล

20.  ชลธิชา แจ้งเร็ว, สมาชิกกลุ่มประชาธิปไตยใหม่

21.  ชลิดา ทาเจริญศักดิ์

22.  ชานันท์ ยอดหงษ์

23.  ชุติมา จินตกะเวช

24.  ชุมาพร แต่งเกลี้ยง

25.  ฐิติญานันท์ หนักป้อ ,มูลนิธิซิสเตอร์

26.  ณัชปกร นามเมือง, iLaw

27.  ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว

28.  ณัฐวรนัชย์ เลอกีรติกุล

29.  ไตรทศ สระทองเพ็ชร

30.  ทรงคุณ โชคคติวัฒน์

31.  ทฤษฎี สว่างยิ่ง, เครือข่ายสุขภาพและโอกาส

32.  ธารารัตน์ ปัญญา

33.  ธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร

34.  ชีรา ทองกระจาย

35.  ธีระวัฒน์ มุลวิไล, ผู้กำกับละครเวทีกลุ่ม B-Floor

36.  นพนัย ฤทธิวงศ์, นักกิจกรรม

37.  นพวรรณ พุ่มเงินพวง

38.  นวลคำ ขะยอมแดง, นักกิจกรรม

39.  นาดา ไชยจิตต์, นักกิจกรรมอิสระ

40.  นิศารัตน์ จงวิศาล ,นักกิจกรรมอิสระ

41.  เนดีน ขจรน้ำทรง, นักวิจัยอิสระ

42.  เนตรดาว เถาถวิล 

43.  ปฐมพงษ์ เสิกภูเชียว, นักแปลอิสระ

44.  ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

45.  ปิยะธร​ สุวรรณวาสี​

46.  ผศ. สุรพศ ทวีศักดิ์, นักวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา

47.  พงศ์ธร จันทร์เลื่อน

48.  พรพิศ ผักไหม

49.  พระชาย วรธัมโม, นักเขียน

50.  พัสตะวัน นคร

51.  พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ

52.  ไพศาล ลิขิตปรีชากุล

53.  ภัควดี วีระภาสพงษ์

54.  มัจฉา พรอินทร์

55.  มูลนิธิผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี

56.  มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ (FOR SOGI)

57.  มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์, เชียงใหม่

58.  เมธาวี คัมภีรทัศน์

59.  เยาวลักษ์ อนุพันธุ์, ทนายความ

60.  รจเรข วัฒนพาณิชย์, บุ๊ครีพับลิก

61.  โรงน้ำชา (Tea- Togetherness for Equity and Action)

62.  วรมัน วัฒนสิงห์

63.  วรรณพงษ์ ยอดเมือง, นักกิจกรรมอิสระ

64.  วัชระ พฤกษสิน

65.  วีรวรรณ วรรณะ, สร้างสรรค์อนาคตเยาวชน

66.  ศรัทธารา หัตถีรัตน์, การเมืองหลังบ้าน

67.  ศรายุธ ตั้งประเสริฐ

68.  สมชาย แซ่จิว

69.  สมฤทธิ์ ลือชัย, นักวิชาการอิสระ

70.  สุนี ใจช่วง

71.  สุภัทรา จรัสจรุงเกียรติ

72.  สุรินทร์ ปัทมาศนุพงศ์

73.  สุลักษณ์ หลำอุบล

74.  สุไลพร ชลวิไล, นักกิจกรรมอิสระ

75.  อนุสรา แท่นพิทักษ์

76.  อภิศักดิ์ สุขเกษม

77.  อรอนงค์ ทิพย์พิมล

78.  อัสมาดี บือเฮง

79.  อาทิตยา อาษา

80.  อานนท์ ชวาลาวัณย์, iLaw

81.  ฮากิม พงติกอ

82. ศรีไพร นนทรีย์ กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต และใกล้เคียง(กสรก.)

83. เทวฤทธิ์ มณีฉาย

84. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)

85. สมชาย หอมลลออ
 
86. สมาคมเพศวิถีศึกษา
 
87. กาญจนา ดีอุต
 
88. เพิ่มทรัพย์ แซ่อึ๊ง
 
89. ดร.นันท์นภัส แสงฮอง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
90. กฤตยา อาชวนิจกุล รองผู้อำนวยการสถาบันประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
 
91. อัญชนา สุวรรณานนท์
 
92. พักตร์วิไล สหุนาฬุ,กลุ่มเยาวชนศีขรภูมิ สุรินทร์
 
93. กังวาฬ ฟองแก้ว
 
94. สุณัย ผาสุข
 
95. ดนัย ลินจงรัตน์
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท