Skip to main content
sharethis

เด็กหลังห้อง รายงาน วงเสวนา Blognone รวมพลคนติดเกมส์แต่ก็ยังได้ดี ผู้ก่อตั้งกระปุกแนะควรแบ่งเวลา ชี้เกมส์ไม่ใช่ปัญหาแต่เป็นที่ตัวคน นักเล่น E-Sport ระบุเกมส์เมอร์ไทยมีเพียง 5% ถึง 10% ที่จะสามารถหารายได้เลี้ยงชีพได้จากเกมส์

28 ก.พ. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 ก.พ ที่ผ่านมาได้มีการจัดเสวนา Blognoneหัวข้อ‘ติดเกมส์แต่ก็ยังได้ดี’ ที่Hangar Coworking Space dtac Accelerateชั้น2 จามจุรีสแควร์ MRT สามย่านโดยปัจจัยหลักของการเสวนาครั้งนี้คือ เกมส์เป็นผู้ร้ายหรือเป็นพระเอกของสังคมและการเลี้ยงลูกที่เล่นเกมส์ควรทำอย่างไรและผู้เล่นเกมส์ที่ประสบความสำเร็จในด้านการงานในระดับหนึ่งซึ่งในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีประเด็นการเสวนาเกี่ยวกับเกมส์ที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม

ไตร อัครวิเนค ผู้เป็นทั้งประกอบอาชีพด้านเกมส์และ E-Sport รวมทั้งกัปตันทีม Eagleseye.Gigabyte เล่าถึงแรงบันดาลใจในการเล่นเกมว่าเริ่มต้นแข่งขันเกมส์ตั้งแต่อายุ 20 คิดอย่างเดียวว่าจะแข่งได้อันดับหนึ่งของประเทศได้หรือไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะถึงตรงนั้นได้หรือเปล่า ก็เลยสร้างทีมเป็นของตัวเอง และก็เดินทางแข่งในตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา
 
สำหรับรายได้ในอาชีพ e-sportนั้นไตร กล่าวว่าส่วนมากจะเป็นเงินรางวัล ซึ่งอยู่ที่ว่าจะลงแข่งมากน้อยขนาดไหน แต่ละรายการแข่งขันมีเงินรางวัลมากขนาดไหน แล้วก็เงินจากสปอนเซอร์และการถ่ายทดสดให้คนดูบริจาคหรือได้จากยอดวิว ดังนั้นเลยคิดว่าไม่สามารถเป็นนักแข่งเกมส์ได้ไปตลอดชีวิตพอถึงช่วงอายุที่ต้องเลิกแข่งหรืออาจจะมีเด็กที่เก่งกว่าขึ้นมาแทน ก็เลยต้องคิดปลูกฝั่งให้ตัวเองฝึกทำงานเกี่ยวกับเกมส์ ทำโปรดักชั่นจัดการแข่งขัน E-Sport สร้างเนื้อหาที่เกี่ยวกับเกมส์หรืออะไรที่ชอบ
 
สำหรับความสามารถเลี้ยงตัวเองได้ของเกมส์เมอร์นั้น ไตร กล่าวว่า เกมส์เมอร์ไทยทั่วประเทศจะมีจำนวนมากแต่จะมีเพียง 5% ถึง 10% ที่จะสามารถหารายได้เลี้ยงชีพได้ซึ่งต้องเป็นอันดับ 1 2 3 4
 
ขณะที่ นพ.ฉัตรชัย อิ่มอารมย์ กุมารแพทย์ประจำศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก รพ.รามาธิบดีกล่าวว่า ไม่ใช้เรื่องเกมส์อย่างเดียว ทุกเรื่องในชีวิตพ่อแม่ควรที่จะดูแลเด็กในเรื่องการเอาใจใส่ มีเวลาให้กับลูก ว่างกฎระเบียบด้วยกัน เรื่องเกมส์เป็นปลายทางซึ่งจริงแล้วการควบคุมระเบียบวินัยของเด็กควรจะทำในทุกเรื่อง กิน นอน เป็นเวลา ทำการบ้านเป็นเวลา เล่นเกมส์เป็นเวลา ดูแลในทุกด้านของลูก ซึ่งที่เจอเยอะสุดคือการที่พ่อแม่อาจจะไม่มีเวลาดูแลเลยใช้เกมส์ทีวีเลี้ยงลูก ต้องมีระเบียบวินัยในทุกเรื่องของลูกไม่ใช่แค่เรื่องเกมส์อย่างเดียว
 
“พ่อแม่ควรเปลี่ยนมุมมอง ซึ่งการเลี้ยงลูกหนึ่งคนเป็นเรื่องที่ซับซ้อน การคุยกับเด็กเหล่านั้นพ่อแม่ต้องเข้าใจ แล้วต้องมีส่วนร่วมตรงนั้นไม่ใช่แค่พ่อแม่อย่างเดียวทุกคนต้องมีส่วนร่วมในตรงนั้น พ่อแม่ต้องเข้าใจลูกก่อนว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วหาทางออกรวมกันเคารพลูก ซึ่งปัญหาความแตกต่างของพ่อแม่กับลูกมันมากมายจริงๆ สำหรับประเทศไทย" นพ.ฉัตรชัย กล่าว
 
สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม  ตัวแทนผู้ปกครองที่สนับสนุนให้ลูกเล่นเกมส์ กล่าวว่า เกมส์เป็นปลายทางเป็นตัวบาปที่เราโยนให้ว่าเด็กเสียเพราะเกมส์ จริงแล้วเด็กไม่ได้เสียเพราะเกมส์แต่เสียเพราะหลายอย่างในบ้าน ซึ่งตนได้ตั้งกฎเกณฑ์ไว้ว่า ต้องทำการบ้านใหเสร็จก่อน และต้องเรียนรู้ไปกับเด็กว่าธรรมชาติของเด็กเป็นยังไง พ่อแม่บางคนไม่รู้พอเด็กเล่นเกมส์สัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง พอบอกให้เลิกก็จะเกิดอาการหงุดหงิดโมโหร้าย ซึ่งเกมส์เป็นเหตุปลายทางที่สำคัญที่สุดคือความใกล้ชิดของผู้ปกครองและเด็กแนะนำเพราะนอกจากเกมส์มีสิ่งที่อันตรายยิ่งกว่าเกมส์คืออินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ต่างๆ
 
ปรเมศวร์ มินศิริ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ชื่อดังของไทยอย่าง kapook.com ในฐานะคนเล่นเกมประสบความสำเร็จกับการทำงานกล่าวว่า เกมส์มันมีหลายรูปแบบ ซึ่งกฎกติกาของเกมส์ทำให้เราใช้เวลาไปกับมันเยอะมาก บางเกมส์โหดร้ายมากโดยคุณต้องเติมเงินเพื่อที่จะไปต่อ การเล่นเกมส์ใครบอกว่าฝึกทักษะตนคิดว่ามันเป็นเรื่องรองอย่างแรกที่สำคัญคือเราต้องสนุกก่อน เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สนุกกับมันทุกอย่างก็จบ แต่ถ้าเราสนุกไปกับมันจะมีปัญหาเรื่องเวลาควรแบ่งเวลาเพราะเวลาเป็นเรื่องสำคัญเกมส์ไม่ใช่ปัญหาแต่เป็นที่ตัวคนมากกว่า

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net