Skip to main content
sharethis

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลเรียกร้องให้ประเทศไทยยุติการคุมขังบุคคลตามอำเภอใจ ในสถานที่คุมขังที่ไม่เป็นทางการโดยทันที หลังทนายประเวศ ถูกขัง 5 วัน โดยไม่อนุญาตให้ติดต่อบุคคลอื่น หรือได้รับสิทธิการเข้าถึงทนาย จนต่อมาปรากฏตัวถูกดำเนินคดี 10 กรรมในความผิด ม.112 

ประเวศ ประภานุกูล 

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ICJ) กล่าวว่าประเทศไทยควรยุติการคุมขังบุคคลตามอำเภอใจในสถานที่คุมขังที่ไม่เป็นทางการโดยทันที โดยแถลงการณ์นี้ได้ออกขึ้นภายหลังที่มีการเปิดเผยว่า ประเวศ ประภานุกูล ทนายความสิทธิมนุษยชน ได้ปรากฏตัวและถูกดำเนินคดีที่ศาลอาญากรุงเทพเมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากถูกคุมขังตามอำเภอใจเป็นเวลา 5 วัน ณ สถานที่คุมขังภายในค่ายทหารในกรุงเทพฯ 

ในช่วงเช้าของวันที่ 29 เม.ย. 2560 เจ้าหน้าที่ทหารอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 3/2558 เข้าจับกุมตัว ประเวศ ประภานุกูล ตรวจค้นบ้านพักของประเวศ ในกรุงเทพฯ และยึดทรัพย์สินจำนวนหนึ่ง ได้แก่ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือ และ ฮาร์ดไดรฟ์ 

ทั้งนี้ ไม่มีใครทราบชะตากรรมและที่อยู่ของนายประเวศ ประภานุกูลจนกระทั่งบ่ายของวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา เมื่อ ประเวศ ประภานุกูล ติดต่อทนายความจำนวนหนึ่งรวมถึงศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่าเขาถูกควบคุมตัวที่เรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรีภายในมลฑลทหารบกที่ 11 กรุงเทพฯ
 
“การคุมขัง ประเวศ ประภานุกูล เป็นเวลา 5 วัน โดยไม่อนุญาตให้ติดต่อบุคคลอื่น โดยปราศจากการนำตัวไปศาล หรือได้รับสิทธิการเข้าถึงทนายความ เป็นการคุมขังบุคคลตามอำเภอใจ (Arbitrary Detention) อันเป็น การละเมิดสิทธิของเขาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ด้วยเหตุดังกล่าว ประเวศ ควรได้รับการเยียวยาที่ เหมาะสม” คิงสลีย์ แอ๊บบ็อต (Kingsley Abbott) ที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศอาวุโส ICJ กล่าว พร้อมกล่าวอีกว่า “เพื่อให้ เกิดการประกันการคุ้มครองบุคคลทุกคนในระหว่างการคุมขัง ประเทศไทยมีหน้าที่ในการคุมขังบุคคลเหล่านี้ในสถานที่ คุมขังที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ โดยมีชื่อของพวกเขาและสถานที่คุมขังเปิดเผยต่อบุคคลที่สนใจ และนำตัว พวกเขาไปศาลภายใน 48 ชั่วโมงโดยไม่ล่าช้า” 
 
ตามรายงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา ประเวศ ประภา นุกูล ถูกดำเนินคดี 10 กรรมในความผิดฐานหมิ่นสถาบันกษัตริย์ (มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา) ซึ่งมีการตีความโดยเข้มงวด 3 กรรมในความผิดในลักษณะยุยงปลุกปั่น (มาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา) และการละเมิดมาตรา 14(3) ของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  โดยก่อนหน้านี้ ICJ ได้ แสดงความกังวลหลายครั้งเกี่ยวกับปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้  ทั้งนี้ ตามมาตรา 91(3) ของประมวลกฎหมายอาญา มีความเป็นไปได้ว่า ประเวศ ประภานุกูลอาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดถึง 50 ปี หากถูกตัดสินว่ามีความผิดตามข้อหาเหล่านี้
 
“เสรีภาพในการแสดงออกที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ต้องไม่เป็นความผิดและมีบทลงโทษทางอาญาเป็นอันขาด และไม่ว่าในสถานการณ์ใดก็ตามการจำคุกไม่เคยเป็นการลงโทษที่ได้สัดส่วนสำหรับ การใช้เสรีภาพในการแสดงออก โดยไม่ต้องกล่าวถึงความเป็นไปได้ที่อาจได้รับโทษจำคุกที่สูงถึง 50 ปี ซึ่งจะเป็นการทำลายสถิติใหม่ของบทลงโทษในคดีหมิ่นสถาบันกษัตริย์ที่เคยถูกบันทึกไว้”  
 
วันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา ภายหลังการทบทวนการปฏิบัติตามพันธะกรณีของประเทศไทยภายใต้กติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี คณะกรรมการสิทธิ มนุษยชน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่ในการตรวจตราการบังคับใช้ ICCPR ได้ออกข้อสังเกตเชิง สรุป (Concluding Observations) โดยได้สังเกตว่า ในประเทศไทย “มีการรายงานบ่อยครั้งว่ามีการคุมขังบุคคลโดย ปราศจากข้อหา และควบคุมตัวในสถานที่ที่ไม่สามารถติดต่อบุคคลภายนอกได้ และไม่เปิดเผยสถานที่คุมขังเป็น ระยะเวลาถึง 7 วัน โดยปราศจากการกำกับดูแลโดยศาล การคุ้มครองจากการประติบัติที่โหดร้าย และปราศจากการ เข้าถึงทนายความ” คณะกรรมการสิทธิมนุษชนได้แนะนำว่าประเทศไทยควรปล่อยตัวผู้เสียหายจากการคุมขังตาม อำเภอใจทั้งหมดโดยทันที และให้การเยียวยาที่ครบถ้วนแก่บุคคลเหล่านั้น 
 
“ข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศไทยดำเนินการคุมขังนายประเวศ ประภานุกูลตามอำเภอใจที่เรือนจำทหารหลังจาก คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนออกข้อสังเกตการณ์เชิงสรุปซึ่งติติงการปฏิบัติของประเทศไทยในการคุมขังบุคคลโดยไม่อนุญาตให้ติดต่อกับบุคคลอื่นในสถานที่คุมขังที่ไม่เปิดเผย เพียง 5 วัน แสดงให้เห็นถึงความละเลยที่น่ากังวลต่อพันธกรณีสิทธิมนุษยชนสากลตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้เสนอแนะ” 
 

ความเป็นมา        

 
ประเวศ ประภานุกูล คือทนายความสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียง และมีส่วนร่วมในคดีทางการเมืองที่เป็นที่ เป็นที่สนใจของประชาชนจำนวนมากลูกความของเขา ได้แก่ สมาชิกของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) หรือเป็นที่รู้จักกันว่า “เสื้อแดง” และบุคคลที่ถูกดำเนินคดีหมิ่นสถาบันกษัตริย์  
       
ICCPR ได้ให้การประกันสิทธิต่าง ๆ ไว้หลายประการ รวมถึง สิทธิในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพในการ แสดงออก เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม และข้อห้ามการจับกุมหรือคุมขังตามอำเภอใจ (มาตรา 9)  
 
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้กล่าวไว้ว่า “ในการประกันการคุ้มครองบุคคลที่ถูกคุมขังอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ถูกคุมขังควรถูกคุมขังในสถานที่คุมขังที่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการ โดยที่ชื่อของพวกเขา สถานที่ที่ใช้ในการคุม ขัง และชื่อของบุคคลที่รับผิดชอบการคุมขัง ต้องได้รับการบันทึกและเก็บรักษาไว้ในทะเบียนอย่างเปิดเผย โดยที่ผู้ที่ เกี่ยวข้องทั้งหลาย รวมไปถึงญาติและเพื่อน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยทันที”
 
นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนยังได้เน้นย้ำในข้อสังเกตของคณะกรรมการหลายต่อหลายครั้งว่า บุคคลที่ถูกคุมขังนานกว่า 48 ชั่วโมงก่อนที่จะนำตัวไปหาผู้พิพากษา คือผู้ถูกคุมขังตามอำเภอใจ ทั้งนี้ ความล่าช้าใดๆ ที่เกินกว่า 48 ชั่วโมงจะต้องเป็นกรณียกเว้นและต้องมีเหตุที่เหมาะสมภายใต้สถานการณ์นั้นเท่านั้น  
 
หลักการพื้นฐานแห่งสหประชาชาติว่าด้วยหน้าที่ของทนายความ (The UN Basic Principles on the Role of Lawyers) วางหลักการไว้ว่ารัฐบาลมีหน้าที่ในการประกันว่าทนายความสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ โดย ปราศจากการข่มขู่ การขัดขวาง การคุกคาม หรือการแทรกแซงอย่างไม่เหมาะสม
 
ในวันที่ 25 พ.ย. พ.ศ. 2558  ICJ และ ฮิวแมนไรท์วอท  ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกไปยังคณะผู้แทน ถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา และได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการคุมขังบุคคลที่ไม่ใช่ทหารตาม อำเภอใจในพื้นที่ของทหารซึ่งรวมไปถึงเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรีในกรุงเทพฯ
 
ICJ ได้แสดงความกังวลหลายครั้งเกี่ยวกับข้อจำกัดในเสรีภาพในการแสดงออก การกักขังโดยอำเภอใจ รวมถึงคำสั่งและประกาศที่ออกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตั้งแต่การรัฐประหารโดยเจ้าหน้าที่ทหารในวันที่ 22 พ.ค. พ.ศ. 2557 ซึ่งไม่สอดคล้องกับพันธะกรณีทางกฎหมายระหว่างประเทศของประเทศไทย เช่น คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 3/2558 ที่อนุญาต การคุมขังบุคคลได้นานถึง 7 วัน โดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาในสถานที่คุมขังที่ไม่เป็นทางการโดยที่บุคคลดังกล่าวจะ ไม่ได้รับการปฏิบัติในฐานะ “ผู้ถูกกล่าวหา” 
  

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net