เปิดรายชื่อคนตาย พ.ค.35 และ พ.ค.53 – 7 ปี ความยุติธรรมที่ไม่ไปไหน

รวมรายชื่อผู้เสียชีวิต/สูญหาย พ.ค.35 พร้อมทั้งเปิดรายชื่อผู้เสียชีวิต เม.ย.-พ.ค.53 และผลการไต่สวนการตาย ขณะที่ 7 ปี กระบวนการยุติธรรมที่ ศาลยกฟ้อง ‘อภิสิทธิ์-สุเทพ’ ในความผิดต่อชีวิต ต่อด้วย ปปช. ตีตกความผิดต่อหน้าที่ โดยที่ ‘กองทัพ’ ยังไม่เคยก้าวมาสู่ปริมณฑลของ ‘จำเลย’

 

"การลืมคนตายก็คล้ายกับการฆ่าพวกเขาเป็นครั้งที่สอง" “To forget the dead would be akin to killing them a second time.” - เอลี่ วีเซล (Elie Wiesel), นักเขียน ชาวอเมริกัน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 1986

เนื่องในวาระครบรอบเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง 2 เหตุการณ์ คือ ครบรอบ 25 ปี เหตุการณ์ พฤษภา 35 และ ครบรอบ 7 ปี เหตุการณ์ พฤษภา 53 ในโอกาสนี้ประชาไทขอนำรายชื่อผู้เสียชีวิตทั้ง 2 เหตุการณ์มาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อย้ำเตือนความสูญเสีย และความยุติธรรมที่ยังไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้

25 ปี พฤษภา 35

เมื่อ 25 ปีก่อน เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ เมื่อประชาชนรวมตัวต่อต้านเผด็จการจนเกิดการนองเลือดบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลที่พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-20 พ. ค. 35 ซึ่งเป็นการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก อันประวัติศาสตร์บันทึกเรียกว่า “เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ”

ตัวเลขการสูญเสียในเหตุการณ์ระหว่างวันที่ 17-21 พ.ค. 2535 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 44 ราย สูญหาย 48 ราย พิการ 11 ราย บาดเจ็บสาหัส 47 ราย และบาดเจ็บรวม 1,728 ราย ทั้งที่ในความเป็นจริง จะเป็นตัวเลขที่สูงกว่านี้มาก จนเหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการเรียกขานว่าเป็นเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (อ้างอิงจาก บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์, กว่าจะถึงวันนี้ 23 ปี พฤษภา กับอนุสาวรีย์วีรชน, วันอาทิตย์ ที่ 17 พฤษภาคม 2558 เผยแพร่ในสำนักข่าวอิศรา)

รายชื่อวีรชนผู้เสียชีวิตและสูญหายในเหตุการณ์พฤษภาคม 2535

 

รายชื่อผู้เสียชีวิต
1. นายกฤษฎา เนียมมีศรี
2. นายกิตติกรณ์ เขียวบริบูรณ์
3. นายกิตติพงษ์ สุปิงคลัด
4. นายเกรียงไกร จารุสาร
5. นายกอบกุล สินธุสิงห์
6. นายจักรพันธ์ อัมราช
7. นายจักราวุธ นามตะ
8. นายเฉลิมพล สังข์เอม
9. นายชัยรัตน์ ณ นคร
10. นายทวี มวยดี
11. นายทวีศักดิ์ ปานถึก
12. นายนคร สอนปัญญา
13. นายบุญมี แสงสุ่ม
14. นายบุญมี วงษ์สิงโต
15. นายบุญคง ทันนา
16. นายปรัชญา ศรีสะอาด
17. นายประสงค์ ทิพย์พิมล
18. นายปรีดา เอี่ยมสำอางค์
19. นายพิพัฒน์ สุริยากุล
20. นายภูวนาท วิศาลธรกุล
21. นายภิรมย์ รามขาว
22. นายมะยูนัน ยี่คำ
23. นายมนัส นนทศิริ
24. นายวีระ จิตติชานนท์
25. นางสางวงเดือน บัวจันทร์
26. นายวีรชัย อัศวพิทยานนท์
27. นายสมชาย สุธีรัตน์
28. นายสำรวม ตรีเข้ม
29. นายสาโรจน์ ยามินทร์
30. นายสมเพชร เจริญเนตร
31. นายสุชาติ พาป้อ
32. นายสุรพันธ์ ชูช่วย
33. นายสมาน กลิ่นภู่
34. นายสัญญา เพ็งสา
35. นายอภิวัฒน์ มาสขาว
36. นายเอกพจน์ จารุกิจไพศาล
37. เด็กชายหนู แก้วภมร
38. นายณรงค์ ธงทอง
39. นายซี้ฮง แซ่เตี้ย
40. นายศรากร แย้มประนิตย์
41. นายเอียน นิวมีเก้น
42. ชายไทยไม่ทราบชื่อ
43. ชายไทยไม่ทราบชื่อ
44. ชายไทยไม่ทราบชื่อ

รายชื่อผู้สูญหาย
1. นายคุณากร แก้วมณี
2. นายวิรัตน์ แก้วมณี
3. นายเก้าเจี่ยว แซ่โพ่ง
4. นายเฉงเจี่ยว แซ่โพ่ง
5. เด็กชายบุญเตือน แสงทอง
6. เด็กชายมนติรัตน์ แสงทอง
7. นายปัญญา วงศ์นารี
8. นายราเมศร์ วงศ์นารี
9. นายประสาท กาศแก้ว
10. นายศักดา นุ่นพันธ์
11. นายฉลอง แจ่มเจริญ
12. นายไชยชาญ ชัยสัจ
13. นายแดนรัก บ้งชมโพธิ์
14. นางแตงไท ขมิ้นเกตกิจ
15. นายทวีป โพธิพฤกษ์
16. นายเอกชัย กิตติพัฒน์มนตรี
17. นายทองดี แสงจันทร์
18. นายทองย้อย เคนมี
19. นายประทีป ทองพุก
20. นางเพ็ญศรี บุญประเสริฐ
21. นายมนเทพ อมรเวชยกุล
22. นายมานพ สุวรรณศิริ
23. นายมาโนช วิสารทานนท์
24. นายศักดิ์ แซ่อึ้ง
25. นายสมพงศ์ โพธิ์ม่วง
26. นางสาวสมพิศ ประจู
27. นางสุมนา มันตะ
28. นายสุวรรณ ปั้นงาม
29. นายโสฬส อัมมะระนันท์
30. นายอำพล กิติพรพงษ์สุข
31. นายอุทัยรัตน์ พุทธปัญญา
32. นายจำลอง ลีดี
33. นายชูชัย จันทรเกตุ
34. นางสุชาดา พรหมดำ
35. นายสุรัตน์ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
36. นายเปล่ง จันทร์เอี่ยม
37. นายทรงพล รัชอินทร์
38. นายทองเปลว นิมิตรพงษ์พร
39. นายอภิวัฒน์ รัตนวงศ์
40. นายจาบ กระดิ่ง
41. นางดวงธิดา บุญถนอมชาติ
42. เด็กชายทองอยู่ เพ็งจันทร์
43. นายมนูญ ปัทสาร
44. นายไมตรี มาเมือง
45. นายวรกิจ บุนนาค
46. นายสุรชัย ทองบัวบาน
47. นางสาวอัจฉรา แซ่จึ้ง
48. นางสาวอุบล โอภาสสกุลชัย

7 ปี เม.ย.-พ.ค.53

การชุมนุมเรียกร้องให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นยุบสภา ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 53 และไม่ใช่ครั้งแรก ช่วง เม.ย.52 ก็มีการชุมนุมและเรียกร้องในลักษณะนี้ ก่อนถูกสลายการชุมนุม โดยการชุมนุมเรียกร้องให้อภิสิทธิ์ยุบสภาและลาออกจากนายกฯ เป็นผลมาจาก ธ.ค. 51 อภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯ หลังจากศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้ยุบพรรคพลังประชาชน (และอีก 2 พรรค) ซึ่งมีเสียงข้างมากและเป็นผู้นำรัฐบาลอยู่ในเวลานั้น ทำให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ หัวหน้าพรรคพลังประชาชนพ้นจากตำแหน่งนายกฯ นับเป็นการถูกยุบพรรคเป็นครั้งที่สอง หลังจากไทยรักไทยโดนยุบพรรคไปก่อนหน้านี้ครั้งหนึ่งแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสที่สื่อไทยและสื่อต่างประเทศระบุว่าทหารมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ ส.ส. ในสภาเข้าร่วมกับพรรคฝ่ายค้าน ไม่ว่าพรรคชาติพัฒนา พรรคภูมิใจไทย โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนเนวิน (เนวิน ชิดชอบ) ที่เป็นอดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชนเดิมเปลี่ยนขั้วมาร่วมกับฝ่ายค้าน กระแสข่าวและความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าวทำให้คนเสื้อแดง หรือ นปช. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฐานเสียงของพรรคพลังประชาชนไม่พอใจและรวมตัวกันประท้วงและเรียกร้องให้เกิดการยุบสภามาโดยตลอด

สำหรับการสลายการชุมนุม นปช. ช่วง เม.ย. - พ.ค. 53 นั้น เริ่มรุนแรงขึ้นก่อนหน้าวันที่ 10 เม.ษ. 53 เพียง 1 วัน นั่นคือ คนเสื้อแดงจำนวนมากบุกยึดคืน “สถานีไทยคม” ที่ลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทหารเข้าคุมและตัดสัญญาณช่องทีวีดาวเทียมพีเพิลชาแนลซึ่งถ่ายทอดสดการชุมนุมของ นปช. ทำให้ทหารถูกประชาชนปลดอาวุธและเดินเท้ากลับขึ้นรถเป็นทิวแถว ต่อมาทหารจึงได้เปิดยุทธการ “ขอคืนพื้นที่” ในวันที่ 10 เม.ย.53 จนมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้ง ผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่ทหาร และผู้สื่อข่าว หรือแม้กระทั่งยามที่สวนสัตว์ดุสิต

เหตุการณ์ยังไม่จบเท่านั้น หลังเหตุการณ์ 10 เม.ย. ผู้ชุมนุมนอกจากเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ลาออกแล้ว ยังเรียกร้องให้รับผิดชอบต่อผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก การชุมนุมต่อเนื่องมาอีก 1 เดือน ก่อน ศอฉ. ซึ่งเป็นองค์กรร่วมระหว่างรัฐบาลและกองทัพขณะนั้น เปิดยุทธการ กระชับวงล้อม พื้นที่ราชประสงค์ วันที่ 14-19 พ.ค.53 เหตุการณ์ดังกล่าวก่อนให้เกิดการเสียชีวิต และบาดเจ็บ ทั้งผู้ชุมนุม ประชาชนทั่วไป ผู้ชุมนุมต่อต้านกลุ่ม นปช. ผู้สื่อข่าว และอาสาสมัครด้านมนุษยธรรม โดยที่เหตุการณ์จบลงในวันที่ 19 พ.ค.53 แม้ก่อนหน้านั้น 1 วัน แกนนำนปช. จะเห็นด้วยกับการเจรจาแบบไม่มีเงื่อนไขกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ และนอกจากนี้สมาชิกวุฒิสภายังได้รับคำสัญญาจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ว่า หากแกนนำนปช. เข้าร่วมการพูดคุยอย่างไม่มีเงื่อนไข อภิสิทธิ์จะยับยั้งการใช้ทหารเข้าปราบปรามในอนาคตก็ตาม จนต่อมา 20 พ.ค.53  ตัวแทนกลุ่ม ส.ว. ที่ไปเจรจากับแกนนำนปช. ดังกล่าว ออกมาแสดงความรู้สึกผิดหวังที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้าปฏิบัติการทั้งที่อภิสิทธิ์พูดกับประธานวุฒิสภาให้วุฒิสภาเดินหน้าเจรจา แต่กลับพูดต่อสาธารณะอีกอย่างหนึ่ง ทำแบบนี้เหมือนหักหลังวุฒิสภา

สำหรับรายชื้อผู้เสียชีวิต ทั้งผู้ชุมนุม นปช. เจ้าหน้าที่รัฐ อาสาสมัครมนุษยธรรม ผู้สื่อข่าว ประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้าน นปช. ตามรายงานของ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เม.ย.-พ.ค.53  หรือ ศปช. มีดังนี้

วันที่ 10 เมษายน 2553

1. นายเกรียงไกร คำน้อย (สะพานผ่านฟ้าลีลาส) [ศาลสั่งคดีชันสูตรตายเพราะเสียเลือดมาก วิถีกระสุนมาจากทหาร อ่านรายระลเอียด]
2. นายอนันท์ ชินสงคราม (สะพานมัฆวานรังสรรค์)
3. นายมนต์ชัย แซ่จอง (ถนนราชดำเนิน)

สี่แยกคอกวัว

4. นายธวัฒนะชัย กลัดสุข
5. นายไพรศล ทิพย์ลม
6. นายอำพน ตติยรัตน์
7. นายอนันต์ สิริกุลวาณิชย์
8. นายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์
9. นายสวาท วางาม
10. นายบุญธรรม ทองผุย
11. นายสมิง แตงเพชร
12. นายสมศักดิ์ แก้วสาร
13. นายนภพล เผ่าพนัส

ถนนดินสอ

14. นายบุญจันทร์ ไหมประเสริฐ
15. นายยุทธนา ทองเจริญพูลพร
16. นายวสันต์ ภู่ทอง [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบใครยิง อ่านรายละเอียด]
17. นายสยาม วัฒนนุกุล  [ศาลสั่งคดีชันสูตร วิถีกระสุนปืนยิงมาจากฝ่ายเจ้าพนักงาน อ่านรายละเอียด]
18. นายจรูญ ฉายแม้น [ศาลสั่งคดีชันสูตร วิถีกระสุนปืนยิงมาจากฝ่ายเจ้าพนักงาน อ่านรายละเอียด]
19. นายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ (Mr. Hiroyuki Muramoto)  [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบใครยิง อ่านรายละเอียด]
20. นายทศชัย เมฆงามฟ้า [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบใครยิง อ่านรายละเอียด]
21. นายคนึง ฉัตรเท
22. พลทหาร ภูริวัฒน์ ประพันธ์
23. พลทหาร อนุพงษ์ เมืองรำพัน
24. พ.อ. ร่มเกล้า ธุวธรรม
25. พลทหาร สิงหา อ่อนทรง
26. พลทหาร อนุพงศ์ หอมมาลี

สวนสัตว์เขาดิน

27. นายมานะ อาจราญ [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ อ่านรายละเอียด]

วันที่ 22 เมษายน 2553
28. นางธันยนันท์ แถบทอง (ถนนสีลม)

วันที่ 28 เมษายน 2553
29. ร้อยตรีณรงค์ฤทธิ์ สาละ  (อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ดอนเมือง) [ศาลสั่งคดีชันสูตร  ถูกระสุนปืนความเร็วสูง ซึ่งยิงจากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ทหารที่กำลังปฎิบัติหน้าที่  อ่านรายละเอียด]

วันที่ 7 พฤษภาคม 2553
30. ส.ต.อ. กานต์ณุพัฒน์ เลิศจันทร์เพ็ญ (ถนนสีลม)

วันที่ 8 พฤษภาคม 2553
31. จ.ส.ต.วิทยา พรมสารี (พระราม 4 ประตูสวนลุมพินี)

วันที่ 13 พฤษภาคม 2553

ถนนพระราม 4
32. พล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล
33. นายชาติชาย ชาเหลา [ศาลสั่งคดีชันสูตร ตายด้วยกระสุนจากกลุ่มทหาร อ่านรายละเอียด]

วันที่ 14 พฤษภาคม 2553

34. นางสาวละอองดาว กลมกล่อม

ถนนพระราม 4

35. นายเสน่ห์ นิลเหลือง
36. นายอินแปลง เทศวงศ์
37. นายบุญมี เริ่มสุข [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบผู้ลงมือกระทำ อ่านรายละเอียด]
38. นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ได้ตายโดยตรงจากการถูกยิง อ่านรายละเอียด]
39. นายประจวบ ศิลาพันธ์ [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบฝีมือใคร อ่านรายละเอียด]
40. นายปิยะพงษ์ กิติวงศ์ [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบฝีมือใคร อ่านรายละเอียด]

41. นายสมศักดิ์ ศิลารักษ์ [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบฝีมือใคร อ่านรายละเอียด]

ถนนราชปรารภ

42. นายทิพเนตร เจียมพล
43. นายกิติพันธ์ ขันทอง
44. นายชัยยันต์ วรรณจักร
45. นายธันวา วงศ์ศิริ
46. นายบุญทิ้ง ปานศิลา
47. นายสรไกร ศรีเมืองปุน
48. นายเหิน อ่อนสา
49. น.ส.สัญธะนา สรรพศรี
50. นายมนูญ ท่าลาด
51. นายพัน คำกอง [ศาลสั่งคดีชันสูตร เสียชีวิตจากทหาร อ่านรายละเอียด]
52. ด.ช. คุณากร ศรีสุวรรณ [ศาลสั่งคดีชันสูตร เสียชีวิตจากทหาร อ่านรายละเอียด]

วันที่ 15 พฤษภาคม 2553

ถนนพระราม 4

53. นายวารินทร์ วงศ์สนิท
54. นายพรสวรรค์ นาคะไชย [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ยิง อ่านรายละเอียด]
55. นายมานะ แสนประเสริฐศรี [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ยิง อ่านรายละเอียด]
56. นายเกรียงไกร เลื่อนไธสง
57. นายวงศกร แปลงศรี

ถนนราชปรารภ

58. นายสมาพันธ์ ศรีเทพ
59. นายสุภชีพ จุลทัศน์
60. นายอำพล ชื่นสี
61. นายชาญณรงค์ พลศรีลา [ศาลสั่งคดีชันสูตร  เสียชีวิตจากทหาร อ่านรายละเอียด]
62. นายธนากร ปิยะผลดิเรก
63. นายอุทัย อรอินทร์

วันที่ 16 พฤษภาคม 53

ถนนพระราม 4

64. นายสมชาย พระสุพรรณ [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ยิง อ่านรายละเอียด]
65. นายสุพรรณ์ ทุมทอง
66. นายเฉลียว ดีรื่นรัมย์
67. นายวุฒิชัย วราคัม
68. นายประจวบ ประจวบสุข [ศาลสั่งคดีชันสูตร  ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ยิง อ่านรายละเอียด]
69. นายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล [ศาลสั่งคดีชันสูตร  ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ยิง อ่านรายละเอียด]
70. นายสมัย ทัดแก้ว
71. นายสุพจน์ ยะทิมา

17 พฤษภาคม 2553
72. จ.ส.อ.พงศ์ชลิต ทิพยานนทกาญจน์  (ถนนสีลม) [ศาลสั่งคดีชันสูตร ไม่ทราบว่าเป็นผู้ใดใช้อาวุธปืนยิง อ่านรายละเอียด]
73. นายสมพาน หลวงชม  (ถนนราชปรารภ)
74. นายเยื้อน โพธิ์ทองคำ  (ถนนราชปรารภ)

18 พฤษภาคม 2553
75. นายมูฮัมหมัด อารี (ออง ละวิน ชาวพม่า)  (ถนนราชปรารภ)

19 พฤษภาคม 2553

ถนนราชปรารภ

76. นางประจวบ เจริญทิม
77. นายปรัชญา แซ่โค้ว
78. น.ส.วาสินี เทพปาน (ซอยพหลโยธิน 2/1)

ถนนราชดำริ

79. นายถวิล คำมูล [ศาลสั่งคดีชันสูตร วิถีกระสุนจากด้านจนท.ทหาร อ่านรายละเอียด]
80. นายธนโชติ ชุ่มเย็น
81. นายนรินทร์ ศรีชมภู [ศาลสั่งคดีชันสูตร กระสุนมาจากฝั่งทหาร อ่านรายละเอียด]
82. ส.อ. อนุสิทธิ์ จันทร์แสนตอ
83. ชายไม่ทราบชื่อ [ศาลสั่งคดีชันสูตร  เสียชีวิตในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ทหารเคลื่อนกำลังพลเข้ามาควบคุมพื้นที่จากแยกศาลาแดงมุ่งหน้าถนนราชดำริ โดยยังไม่ทราบว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำ อ่านรายละเอียด]
84. นายฟาบิโอ โปเลงกี (Mr. Fabio Polenghi) [ศาลสั่งคดีชันสูตร วิถีกระสุนปืนยิงมาจากด้านเจ้าพนักงานที่กำลังเคลื่อนเข้ามาควบคุมพื้นที่จากทางแยกศาลาแดงมุ่งหน้าไปแยกราชดำริ โดยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ อ่านรายละเอียด]

วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

85. นายมงคล เข็มทอง [ศาลสั่งคดีชันสูตร เสียชีวิตจากทหาร อ่านรายละเอียด]
86. นายสุวัน ศรีรักษา [ศาลสั่งคดีชันสูตร เสียชีวิตจากทหาร อ่านรายละเอียด]
87. น.ส. กมนเกด อัดฮาด [ศาลสั่งคดีชันสูตร เสียชีวิตจากทหาร อ่านรายละเอียด]
88. นายอัครเดช ขันแก้ว [ศาลสั่งคดีชันสูตร เสียชีวิตจากทหาร อ่านรายละเอียด]
89. นายอัฐชัย ชุมจันทร์ [ศาลสั่งคดีชันสูตร เสียชีวิตจากทหาร อ่านรายละเอียด]
90. นายรพ สุขสถิตย์ [ศาลสั่งคดีชันสูตร เสียชีวิตจากทหาร อ่านรายละเอียด]

สถานที่อื่นๆ

91. นายกิตติพงษ์ สมสุข  (ภายในห้างเซ็นทรัลเวิลด์)
92. นายทรงศักดิ์ ศรีหนองบัว  (จังหวัดขอนแก่น)
93. นายเพิน วงศ์มา  (จังหวัดอุดรธานี)
94. นายอภิชาติ ระชีวะ  (จังหวัดอุดรธานี)

นอกจากนี้ยังมี ประชา ศรีคูณ ผู้บาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เม.ย.53 และเป็นอัมพาตกว่า 3 ปี ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ศาลยกฟ้อง ‘อภิสิทธิ์-สุเทพ’ ในความผิดต่อชีวิต ส่วน ปปช. ตีตกความผิดต่อหน้าที่ 

นอกเหนือจากปรากฏการณ์ Big Cleaning Day ที่เกิดขึ้นในวันที่ 23 พ.ค.53 หลังสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ 4 วัน นำโดยผู้ว่าฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ทีมงานและประชาชนราว 1,000 คน ซึ่ง ศปช. วิจารณ์ว่าอาจเป็นการทำลายพยานหลักฐานที่อาจหลงเหลืออยู่ได้นั้น หันมองได้ด้านการดำเนินคดี ขณะที่ประชาชนผู้ชุมนุมถูกดำเนินคดีเกือบ 2,000 คน ส่วนใหญ่เป็นคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และมีจำนวนหนึ่งที่เป็นคดีอาวุธและคดีเผาศาลากลาง หลายรายถูกจำคุกมาตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน โทษสูงสุดของคดีเผาศาลากลางที่ศาลพิพากษาคือ จำคุกตลอดชีวิตในกรณีของอุบลราชธานี

ในส่วนของการดำเนินคดีกับกองทัพและผู้นำรัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องในการสลายการชุมนุมนั้น เคยมีญาติของ พัน คำกอง ผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม (พ.ค.2553) ร่วมกับ สมร ไหมทอง คนขับรถตู้ที่ถูกทหารยิงแต่รอดชีวิต ร่วมกันเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการฟ้อง อภิสิทธิ์ และสุเทพ เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59, 80, 83, 84 และ 288 จากกรณีที่ ศอฉ. มีคำสั่งใช้กำลังเจ้าหน้าที่ในการขอคืนพื้นที่จากการชุมนุมของ นปช. ระหว่าง เม.ย.-พ.ค. 2553

คดีนี้นับเป็นคดีแรกที่อัยการยื่นฟ้อง ส่วนคดีอื่นๆ สำนวนยังคงค้างอยู่ที่ดีเอสไอ อย่างไรก็ตาม คดีตัวอย่างนี้ทั้ง ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ต่างก็ยกฟ้องจำเลยทั้งสอง โดยศาลชั้นต้นระบุเหตุผลว่า เหตุเกิดในช่วงทั้งสองยังดำรงตำแหน่งทางการเมืองคดีจึงอยู่ในอำนาจศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ศาลอุทธรณ์ให้เหตุผลว่า เรื่องฟังไม่ได้ว่าทั้งสองกระทำในฐานะส่วนตัว ถือเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง ต้องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เป็นผู้ชี้มูลความผิดและยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดีเอสไอไม่มีอำนาจในการสอบสวน  (เปิดคำอุทธรณ์ของญาติผู้ตาย)

ต่อมา ป.ป.ช.ก็ มีมติว่า ฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ หรือเป็นผู้ก่อหรือใช้ให้มีการฆ่าผู้อื่น โดยเจตนาเล็งเห็นผลแต่อย่างใด คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป

ล่าสุด ญาติที่เป็นโจทก์ร่วมยังคงฎีกาต่อ และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามาราว 1 ปีแล้ว ขณะนี้ยังไม่มีคำพิพากษา ทนายความในคดีนี้ระบุว่า กระบวนการที่ผ่านมาอัยการสูงสุดได้อนุญาตให้ฎีกาแล้ว และศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์รับรองให้ฎีกาได้ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดผ่านไปแล้ว คาดว่าน่าจะรอผลคำพิพากษาของศาลฎีกาอีกไม่นาน

แน่นอนว่า นี่เป็นเพียงคดีที่มุ่งฟ้องผู้นำรัฐบาลในเวลานั้น โดยที่ “กองทัพ” ยังไม่เคยก้าวมาสู่ปริมณฑลของ “จำเลย” ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแต่อย่างใด

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท