นักวิชาการชี้ ร่าง ก.ม.แรงงานสัมพันธ์ใหม่ เป็นฉบับ 'ปะผุ' มากกว่า 'ปรับวิธีคิด'

นักวิชาการด้านแรงงาน ชี้ ร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับใหม่ ใช้กรอบความมั่นคงมาจับ ไม่ใช้กรอบสิทธิฯ สู่ฐานที่ผิด แนะให้สัตยาบัน ILO 87 98 ไปก่อน แล้วค่อยว่ากันในเรื่องกฎหมาย 

เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่โรงแรมฮอลิเดย์อินน์สีลม กรุงเทพฯ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และโซลิดาริตี้เซ็นเตอร์ประเทศไทย (SC) จัดเสวนาเรื่อง “ร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับ 6 มีนาคม 2560: ก้าวไปข้างหน้าหรือย่ำอยู่กับที่” โดยมีวิทยากรร่วมเสวนาประกอบด้วย ณรงค์ฤทธิ์ วรรณโส ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนากฎหมาย กองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา ที่ปรึกษาในการจัดทำร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับบูรณาการแรงงาน สนธยา เผ่าดี ผู้จัดการทั่วไป บ.นิสโตมาเท็กซ์ และสุนี ไชยรส อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ดำเนินรายการโดย พรนารายณ์ ทุยยะค่าย หัวหน้าฝ่ายกฎหมาย คสรท.

 

นักวิชาการชี้เป็นฉบับ 'ปะผุ' มากกว่า 'ปรับวิธีคิด'

ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการด้านแรงงานและที่ปรึกษาในการจัดทำร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับบูรณาการแรงงาน กล่าวว่า ก้าวไปข้างหน้าหรือย่ำอยู่กัยที่ พบว่า ก้าวไปนิดเดียว เพาะได้เติมนู่นนี่เข้ามา สำหรับตนคือเรื่องเล็กไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับการทำกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ถ้าเทียบกับฝ่ายแรงงานทำ คือ การรื้อกรอบความคิด ถ้าภาษา ตุลา ปัจฉิมเวช คือ การปะผุมากกว่าไม่ได้ปรับวิธีคิด สร้างวิธีคิดใหม่ และถ้ามาดูในหลักการและเหตุผลที่เขียนว่า ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ แต่เมื่อมาดูสาระ ไม่ได้แก้ไขปัญหาฉบับ 2518 ที่เราร่างในยุคสงครามเย็น เราใช้กรอบความคิดเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ กลัวแรงงานมาก มองเป็นแรงงานต่างด้าว เพราะแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานจีน มีการควบคุม มองแรงงานเป็นเรื่องการควบคุมทั้งๆ กรอบคิดเรื่องแรงงานสัมพันธ์ในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม คือนายจ้าง นายทุน ลูกจ้าง ผลประโยชน์มันขัดกัน ฝ่ายหนึ่งได้ ฝ่ายหนึ่งเสีย ไม่ใช่การอยู่แบบใครได้ แต่จัดระบบแรงงานสัมพันธ์ ออกกฎหมายให้อยู่กับร่องรอย ทำให้คนที่มีผลบประโยชน์ขัดแย้งกัน อยู่ด้วยกันได้

ใช้กรอบความมั่นคงมาจับ ไม่ใช้กรอบสิทธิฯ สู่ฐานที่ผิด

ศักดินา กล่าวว่า มาดูการแก้ไขที่ระบุในเหตุผล กำหนดไว้ใหญ่ แต่ในสาระน้อยมาก และยังไม่ตอบโจทย์อนุสัญญาฉบับที่ 87 รัฐยังเข้ามาแทรกแซงหลายเรื่องอยู่ ต้องขออธิบดีอนุญาต ทั้งๆ ที่ ILO 87 คือ สิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นสิทธิ กฎหมายต้องส่งเสริม มาใช่การลิดรอนสิทธิยังลิดรอนหลายส่วน เรามีคนงาน 40 ล้านคน กลับถูกจำกัด แม้รัฐธรรมนูญรับรอง คนงานรวมตัวเพื่อปกป้องผลประโยชน์ ต่อรองในการทำกิจกรรม ทำข้อตกลงร่วมกัน เป็น collective bargaining หรือ  การร่วมเจรจาต่อรอง ต้องกลับไปที่จุดจริงๆ ว่าเรามีกฎหมายแรงงสายสัมพันธ์ไปเพื่ออะไร เราควรไปดูประเทศที่มีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ดี เช่น ในยุโรป ในสแกนดีนีเวียน จัดระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี สังคมที่ดี สังคมมีความเป็นประชาธิปไตย คุณภาพชีวิตแรงงานที่ดี แต่ผมเข้าใจได้ว่า ใครร่างกฎหมายก็เป็นไปตามชนชั้นนั้น ดังนั้นเมื่อลูกจ้างมีส่วนร่วมน้อยทำให้ต้องฝ่าข้ามเรื่องนี้ การใช้กรอบความมั่นคงแห่งชาติมาจับ ไม่ได้ใช้กรอบสิทธิมนุษยชน เป็นการใช้ฐานที่ผิด

ตนสอนวิชาแรงงานสัมพันธ์มี 3 กรอบ คือ เชื่อในความอันหนึ่งอันเดียวกัน เชื่อในระบบอุปถัมภ์ เราติดกรอบนี้ ไม่สามารถสร้างแรงงานสัมพันธ์ได้ มองว่าให้ผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ได้ประโยชน์ ต่อมากรอบมาร์กซิสม์ เชื่อในความขัดแย้งชนชั้น ลูกจ้างนายจ้างไม่สามารถประสานประโยชน์ได้ ต่อมาคือการสร้างประชาธิปไตยบในการทำงาน ให้อำนาจคนงาน codiordination ให้คนงานตัดสินใจ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่างๆของตนเอง ซึ่งร่างแรงงานก็ใช้กรอบนี้ ตัดสินใจร่วมกัน มองเรื่องการเจรจาต่อรอง ยอมรับเรื่องสหภาพแรงงานในการรวมตัว ส่วเสริมการรวมตัว จัดพื้นที่การพูดคุยกัน

แนะให้สัตาบัน ILO 87 98 ไปก่อน แล้วค่อยว่ากันในเรื่องกฎหมาย 

นักวิชาการด้านแรงงาน กล่าวด้วยว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยังไม่มีการจัดพื้นที่ให้เท่าเทียมกัน ยังเข้าไม่ถึงข้อมูลประกอบการเจรจาต่อรอง ข้อมูลในการพูดคุยไม่ตรงกัน รัฐมีอีกข้อมูลหนึ่ง ถ้าอยากให้กฎหมายฉบับนี้มันดีต้องทำให้เกิดการเข้าถึงข้อมูล ตัดสินใจร่วมกัน ในยุโรป คณะกรรมการลูกจ้างมีบทบาทในการปรึกษาหารือมาก เมื่อเทียบกับประเทศไทย ยังให้ความสำคัญน้อยอยู่ ถ้าจะให้กฎหมายนี้ไปได้ ตนมองว่าวางกฎหมายไว้ก่อน เหตุผลในการทำร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องสำคัญกว่า คือ การให้สัตาบันอนุสัญยา ILO 87 98 ไปก่อน แล้วค่อยว่ากันในเรื่องกฎหมาย มันสะท้อนเจตนารมณืเรื่องการมีแรงงานสัมพันธ์ที่ดี จะนำสังคมไปสู่ความเสมอภาคได้ เพราะกฎหมานมันตีความได้หลากหลาย ให้สัตาบันไปเลย และตรงไหนในตัวกฎหมายไม่ใช่ก็ปรับแก้ไขไป

สำหรับอนุสัญญา ILO 87 98 2 ฉบับนี้ ศักดินา กล่าวว่า ถึงเก่าแก่แต่เป็นสิทธิพื้นฐาน เวลาถามว่าจะรับก่อนแล้วค่อยแก้ไขกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายก่อน ซึ่งเราเคยจัดเวทีหลายรอบแล้ว ก็พบว่า สามารถรับก่อนได้ ผู้อำนวยการ ILO ก็กล่าวเองว่า ให้ไปแล้วค่อยแก้ไขกฎหมายให้สอดรับก็ได้ การให้สัตยาบันคือ การเคารพและเชื่อมั่นสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง การนำมาอ้างในร่างกฎหมายและหลักการเหตุผล ก็ควรทำให้ดำเนินไปตามหลักการอนุวัญญา กฎหมายเป็นเพียงส่วนหนึ่ง จารีตสำคัญมากกว่าในยุโรป ประเทศที่ประสบความสำเร็จ คือ เวลาเจรจาต่อรองไม่ได้เจรจาในระดับสถานประกอบการ ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ อยู่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการ ประเทศประชาธิปไตยเจรจาระดับชาติ ระดับอุตสาหกรรมากกว่า ทางกระทรวงแรงงานจะดำเนินการเรื่องนี้ คือ ให้นายจ้างรวมกัน ลูกจ้างรวมกัน และเจรจาในระดับอุตสาหกรรมากกกว่า ส่งเสริมเจรจาในกรอบใหญ่ๆ เช่น เบลเยี่ยมมีแค่ 3 สหาภาพ ถ้าเราจัดแบบนี้จะลดความยุ่งเหยิงความแตกต่างหลากหลายได้ ทำให้เกิดมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน

ผอ.กลุ่มงานพัฒนา ก.ม. Timeline ร่าง พ.ร.บ.

ณรงค์ฤทธิ์ วรรณโส ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนากฎหมาย กองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ดังกล่าว ว่า ที่ผ่านมาหลายคนคงได้รับฟังมาบ้างแล้ว ซึ่งทางกระทรวงแรงงานได้จัดมาแล้ว 2 ครั้ง อีกทั้งยังได้เผยแพร่ทางเว็บไซต์ และยังสามารถรับฟังได้โดยตลอด เป็นไปตาม มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ซึ่งสามารถรับฟังได้จนถึงชั้นคระกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมาย ของสภานิติบัญยัติแห่งชาติ (สนช.) นอกจากนั้นทาง สนช.เอง โดยอนุแรงงานก็จัดไปแล้วเมื่อมีนาคม 2560

ผอ.กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย กล่าวอีกว่า ทุกคนทราบดีว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ 2518 มีระยเวลา 40 ปี มีความพยายามในการปรับปรุงแก้ไขโดยตลอด แต่ไม่สำเร็จ มีการผลักดันหลายๆฝ่ายทั้งทางนายจ้าง ลูกจ้าง แม้กระทั่งทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเอง สำหรับสถานะ ร่าง พ.ร.บ.ตอนนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะทำงานฝ่ายกฎหมายในกระทรวงแรงงานอยู่ ซึ่งมีทางนายจ้างยื่นคัดค้านมาหลายมาตรา ทางกระทรวงแรงงาทำแสร็จ จะเข้ากฤษฎีกา ต่อด้วย คณะรัฐมนตรี ที่จะเข้าประมาณ ก.ย.นี้ และเข้าพร้อมกับร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์รัฐวิสาหกิจ 

กลไกใหม่และประเด็นก้าวหน้า

ณรงค์ฤทธิ์ กล่าวต่อว่า เมื่อมาพิจารณาโครงสร้างกฎหมาย จะมี 3-4 ส่วน คือ รับรองการรวมตัวของนายจ้างลูกจ้างในรูปแบบต่างๆ ในรัฐธรรมนูญก็รองรับไว้ในรูปแบบสหภาพแรงงานหรือรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ในส่วนที่ 2 คือ การวางหลักเกณฑ์ในการยื่นข้อเรียกร้อง ข้อตกลงสภาพการจ้าง เดินไปแล้วกระบวนการจะไปจบตรงไหน การใช้สิทธิปิดงาน การนัดหยุดงาน การเจรจาไกล่เกลี่ย การระงับข้อพิพาท เรื่องที่ 3 การคุ้มครองสิทธิผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะฝ่านยลูกจ้าง แต่ก็คุม้ครองฝ่ายนายจ้างด้วย ในแง่นิติสัมพันธ์กฎหมายต้องคุ้มครองทุกฝ่าย แต่กฎหมายที่ออกมาทั่วโลกมักคุ้มครองผู้ถูกกระทำมากว่า เรื่องที่ 4 คุ้มครองแล้ว มีกระบวยการคุ้มครองเยียวยาอย่างไร สามารถนำคดีจากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สู่กระทรวงแรงงานได้ เรื่องที่ 5 มีกลไกในการจัดการคุ้มครอง เช่น คณะรัฐมนตรีสามารถการออกฎกติกาได้ มีคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ในการทำหน้าที่

ในส่วนกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับนี้มีความก้าวหน้า ได้แก่ กระบวยการยื่นข้อเรียกร้อง มีการแก้ไข ปรับปรุง เช่น การกำหนดระยะเวลายื่นข้อเรียกร้องต้องใช้เวลากี่วัน, สมาชิกที่ถอนตัวระหว่างยื่นข้อเรียกร้องไม่ครบ 15% ก็ยังสามารถดำเนินการต่อได้, เรื่องระยะเวลามีความยืดหยุ่นยาวนานขึ้น จาก 3 วัน เป็น 5 วัน เป็นต้น เรื่องของที่ปรึกษาไม่ต้องขึ้นทะเบียน เพื่อหลีกเลี่ยงการควบคุมแทรกแซง คุณสมบัติไม่ครบ เพราะที่ผ่านมาไม่มีบัตรที่ปรึกษามีโทษ, ในมาตรา 22 เพิ่มทางเลือกในการระงับข้อพิพาท เอาปัญหาในทางปฏิบัติมาเขียนไว้ในกฎหมาย เช่น เอาข้อตกลงที่ตกลงไม่ได้ เอาไปตกลงกันเองหรือให้พนักงานประนอมไปไกล่เกลี่ยหรือจะตั้งผู้ชี้ขาด หรือจะใช้สิทธิปิดงาน หยุดงาน เพื่อระงับข้อพิพาทแรงงานที่เปิดกว้างขึ้น ต่อมาเมื่อใช้สิทธิปิดงานก็ต้องปิดทุกส่วน ไม่ใช่แค่บางส่วน ทำให้ลูกจ้างได้รับการคุ้มครองมากขึ้น

ณรงค์ฤทธิ์ กล่าวด้วยว่า มีคณะกรรมการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์เพิ่มขึ้นมา จากที่กฎหมายเดิมไม่มี โดยมีอำนาจหน้าที่เรื่องการส่งเสริมเรื่องการวางยุทธศาสตร์ การคัดเลือกผู้แทนไปประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO รวมถึงการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ไม่ได้ปรับปรุงมาก แต่แก้ไขในส่วนกระบวยนการพิจารณาคำวินิจัยมากกว่า เรื่องการกระทำไม่เป็นธรรม มีการปรับปรุงแก้ไขตั้งแต่การจัดตั้งสหภาพแรงงาน เมื่อนายจ้างรู้มีการโยกย้ายหน้าที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

ตั้งสหภาพแรงงานไม่กีดกันเรื่องสัญชาติแบบกฎหมายเดิม

ผอ.กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย กล่าวอีกว่า สำหรับการปิดงานห้ามเลือกปฏิบัติ โดยเอาคำพิพากษาศาลฎีกาปี 59 สำหรับเรื่องการตั้งสหภาพแรงงานนั้น ไม่กีดกันเรื่องสัญชาติแบบกฎหมายเดิม การรับฟังความคิดเห็น 2 เวทีที่ผ่านมา ในประเด็นนี้นายจ้างไม่ค่อยเห็นด้วย รวมถึงบอร์ดบริหารก็ไม่ควรมี ซึ่งในร่างนายจ้างไม่เอาด้วย ถ้าเข้า สนช. ประเด็นนี้ก็ต้องมีการถกเถียงต่อไป กระบวนการยื่นข้อเรียกร้องได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน เช่น สัญญาจ้างสิ้นสุดตามระยะเวลาหรือเกษียณอายุ ยกเว้นว่านายจ้างไม่ต้องขออำนาจศาลเลิกจ้างแล้ว เพราะไม่ใช่เรื่องกลั่นแกล้งใดๆ เหล่านี้คือภาพรวมร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

ให้สัตาบัน อนุสัญญา ILO 87, 98 ยังมีหลายมุม

ณรงค์ฤทธิ์ กล่าวว่า ในเรื่องกรให้สัตาบัน รัฐบาลไทยปีนี้ให้อนุสัญญา ILO ฉบับที่  111 แต่ในส่วน ฉบับที่ 87 และ 98 ต้องรอฝ่ายบริการพิจารณาอีกที ถามว่ากฎหมายฉบับนี้มันขัดหรือแย้งกับอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 หรือไม่ ก็เป็นมุมมมองที่จะถกเถียงกันได้ ถ้าดูในรัฐธรรมนูญหมวดสิทธิเสรีภาพ หลักการในกฎหมายจะรองรับสิทธิเสรีภาพไว้เป็นหลักก่อน แล้วค่อยมาเขียนข้อยกเว้น ก็เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของอีกฝ่ายหนึ่ง และรักษาความสงบเรียบร้อยของอีกฝ่ายหนึ่งในภาพรวม แต่จะขอบเขตแค่ไหนอย่างไรก็ต้องตีความพิจารณาต่อไป มีการคุยกันว่า เป็นการแทรกแซงหรือไม่อย่างไร เช่น ที่ปรึกษาปัจจุบันต้องมีคุณสมบัติกำหนดไว้ มีอายุที่ปรึกษา 2 ปี ตัวอย่างเช่น การไปขึ้นทะเบีบนถือว่าแทรกแซงหรือไม่ เพราะคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องต้องมีความรู้ด้านแรงงานพอสมควร เพื่อให้กระบวนการเดินต่อไป ไม่ใช่การยุยงให้เกิดข้อพิพาทแรงงาน เอาค่าทนาย ค่าที่ปรึกษา แต่ในอีกมุมหนึ่งคือ ไม่ต้องกำหนด เพราะเขาไว้วางใจแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษา ก็ต้องยอมรับเขา จะไปควบคุมกำกับกำหนดกฎเกณฑ์อย่างไร นี้ก็เป็นมุมมอง 2 ฝ่าย ที่มองต่างกัน เป็นต้น

ในเชิงกฎหมายประวัติศาสตร์ของกฎหมาย คือ ปี 2534 มีการปฏิวัติ มองว่าผู้นำแรงงานบางคนไปยุยงส่งเสริมให้เกิดข้อพิพาทแรงงาน สร้างความวุ่นงาย ก่อม็อบ ไม่รู้จิตวิญญาณกระบวนการแรงงานสัมพันธ์ รัฐก็มองแบบนั้น และออกคำสั่ง รสช. มาควบคุม เป็นต้น เหล่านี้มีที่มาที่ไป ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ แบบนี้เรียกว่าจะไปแทรกแซงหรือไม่ อย่างไร ดังนั้นเวลาอ่านอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ต้องอ่านควบคู่ไปกับรัฐธรรมนูญปี 2560 รวมถึงปฏิญญาต่างๆ เช่น ของทางยุโรปที่วางหลักการเรื่องสิทธิการรวมตัวไว้ ที่ผ่านมาการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ลูกจ้างถูกเอารัดเอาเปรียบ อนุสัญญา ILO จึงเกิดขึ้นมา ซึ่งก็มีข้อยกเว้นกำหนดไว้ แต่เวลาเอามาใช้มองว่าต้องคุ้มครองทั้งหมด ซึ่งต้องดูข้อยกเว้นด้วย

ข้อยกเว้นพนักงานของรัฐและข้อห้ามยุ่งกิจกรรมการเมือง

สำหรับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ณรงค์ฤทธิ์ กล่าวด้วยว่า ในเรื่องมาตรา 4 มีเรื่องข้อยกเว้นว่าถ้าเป็นลูกจ้าง พนักงานของ รัฐ หน่วยงานรัฐ ต้องไปออกกฎกติการับรองการรวมตัวของพนักงานไว้ เช่น ข้าราชการ ก็มีการร่างการรวมตัวไว้เป็นพระราชกฤษฎีกาแต่ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองแบบนี้ก็ยังไม่ได้ประกาศใช้ กำหนดว่าหน่วยงานต่างๆ ต้องไปออกกฎเกณฑ์การรวมตัว เช่น พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เป็นพลเมืองชั้น 2 พยายามให้รัฐบาลบรรจุเป็นข้าราชการ ถ้าสัญญาจ้างแบบ 4 ปี ไม่มีงบจ้างก็จะตกงาน ส่วนราชการก็ต้องไปออกกฎกติกาภายใน 1 ปี เป็นต้น เรื่องของการรวมตัวนอกจากสหภาพ สหพันธ์ สภาองค์การลูกจ้าง ก็ยังรวมตัวในรูปแบบอื่นๆได้ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงสภาพการจ้างให้ดีขึ้น หรือไปร่วมกับกิจกรรมกลุ่มอื่นๆ ได้ ในรัฐธรรมนุญก็รับรองสิทธิเหล่านี้ไว้

แต่ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยังระบุเรื่องการห้ามทำกิจกรมทางการเมือง ในคณะทำงานก็มีการพิจารณาว่าขอบเขตขนาดไหนอย่างไร เช่น สหภาพแรงงานไปผลักดันเชิงนโยบาย ไปยื่นข้อรัยกร้องต่อรัฐบาล เป็นเรื่องการเมืองไหม ? เหล่านี้เป็นเรื่องสาธารณะ แต่ไม่ใช่สนับสนุนพรรคการเมือง สุดท้ายร่างนี้กระทรวงแรงงานมีกระบวนการrecheck ว่าสอดคล้องอนุสัญญาหรือไม่อย่างไร เรียนว่าเรามีผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาเรื่องนี้อยู่ และจะส่งดราฟไปให้ ILO วิจารณ์ เพื่อตรจสอบในเรื่องนี้ ลำพังการให้ความเห็นจากฝ่ายนายจ้าง-ลูกจ่าง มีมุมมองที่แตกต่างกันคนละข้าง คนที่จะให้น้ำหนัก คือ องค์การแรงงานระหว่างประเทศโดยตรง

ผอ.กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย กล่าวด้วยว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้รวมลูกจ้างเหมาค่าแรงเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน เดิมทีไปจำกัดกลุ่มนี้ ในปัจจุบันมีรับเหมาค่าแรงมากขึ้น ก็ยื่นข้อเรียกร้องได้

การรวมตัวของแรงงานข้ามชาติ เป็นปัจจัยในการเคารพหลักการสากล 

สนธยา เผ่าดี ผู้จัดการทั่วไป บ.นิสโตมาเท็กซ์ กล่าวว่า วันนี้ตนถูกเชิญมาในฐานะตัวแทนฝ่ายในจ้าง ตนทำงานด้านแรงงานสัมพันธ์ในปีที่ 21 ตัว ก.ม.แรงงานมีการพยายามเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง มีการคุยกันหลายครั้ง ในช่วง 10 กว่าปีที่แล้วบริบทก็เปลี่ยนไป ถ้าจะตอบว่ามันกระทบอย่างไรบ้าง นายจ้างจะเป็นกลุ่มที่ใช้แรงงานไทยกลุ่มหนึ่ง ใช้แรงงานข้าชาติกลุ่มหนึ่ง ตนมาจากอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ เราเกิดความกังวลอะไรหรือไม่ ตนไม่กังวล แต่ในกลุ่มที่ใช้แรงงานต่างด้าว จะมีความกังวล ตนคิดว่าการรวมตัวของแรงงานข้ามชาติ เป็นปัจจัยในการเคารพหลักการสากล ถามว่าเศรษฐกิจดีขึ้นไหม มั่นคงไหม คงตอบไม่ได้ เพราะถ้าคุณจะขายของต่างชาติ คุณต้องปฏิบัติตามกฎหมายสากลอยู่แล้ว เป็นความกังวลมากกว่า ถ้ารับให้รับเลย คือ เป็นผู้ได้รับผลระทบกฎหมาย แต่เมื่อออกมาแล้วก็ต้องยอมรับ ต้องหาวิธีการทำให้สอดคล้องกฎหมาย หาวืธีการจัดการเพื่อให้ธุรกิจไปได้ ต้องหาทางพูดคุยกับพนักงานอยู่แล้ว วันนี้แม้ไม่มีเรื่องการรวมตัวก็ต้องคุยกัยผู้ใช้แรงงานอยู่แล้ว

การรับหลักการ ILO 87 98 การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ ไทยแลนด์ 4.0 การใช้เทคโนโลยีมาแทนนี้ เกิดผลกระทบมากกว่า เพราะคนงานมีวุฒิการศึกษาส่วนใหญ่ ม.3 ม.6 จะปรับตัวอย่างไร การเปลี่ยนแปลงด้วยข้อกฎหมายแบบนี้กระทบธุรกิจน้อยกว่า ตนเคยคุยกับเพื่อน เราไปทำงานต่างประเทศ ประเทศที่เราไปทำงาน เราก็ไม่ได้รวมตัวแบบนี้ ทำไมประเทศไทยต้องรวมตัวในกลุ่มแรงงานข้ามชาติด้วย ทำให้ประเทศไทยต้องให้แรงงานข้ามชาติรวมตัว แต่ถ้ารับจริงๆ ก็ต้องทำอย่างไรให้อยู่ด้วยกันให้ได้มากกว่า

กรณีกรรมการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ กระบวนการคัดกรองกรรมการจะคัดกรองอย่างไร ให้ยอมรับร่วมกันได้ทุกฝ่าย ตัวแทนมันครอบคลุมไหม หลายกรรมการไม่ว่าฝั่งนายจ้าง ลูกจ้าง หลายคนก็ไม่ทราบปัญหา ไม่มีความรู้ที่แท้จริง มีองค์กรทั้งฝั่งนายจ้าง ลูกจ้าง หลากหลายมาก เช่น นายจ้าง ก็มีฝั่งอาแป๊ะ อาเจ๊กจะไปยังไง ตนก็ทำงานกับกลุ่มลูกจ้าง ฝั่งแหมมฉบัง จะไปต่ออย่างไร ต้องไปดูสัดส่วน ภูมิภาค จะเชื่อมโยงกันอย่างไร จะส่งผลดีต่อบรรยากาศการลุงทุน อยากฝากข้อเสนอนี้ไว้ มีกรรมการชุดนี้มาแล้ว ต้องใช้หลักสุจริตหรือไม่ อย่างไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง ต้องทำอย่างไรให้เกิดการส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ทวิภาคี อยากให้เน้น เราไม่ได้มองฝั่งลูกจ้าง เรามองฝั่งนายจ้างด้วยว่า มันไปกำหนดด้วยไหม คนที่จะมาทำงานด้านแรงงานสัมพันธ์ ควรชัดเจนแบบปัจจุบันมีองค์ความรู้ที่เพียงพอ

ส่วนประเด็นในร่าง ก.ม.ใหม่ เปิดให้แรงงานสัญชาติอื่นสามารถรวมกลุ่มได้ แต่ต้องสามารถพูดภาษาไทยได้นั้น สนธยา มองว่า เรื่องพูดภาษาไทยได้ ก็ต้องทั้งฝั่งนายจ้าง ลูกจ้างก็ต้องใช้ทุกฝ่าย แต่พูดไม่ได้ก็ยังใช้กลไกล่ามได้

ทำไมไม่รับรอง ILO 87 98 ไปเลย

สุนี ไชยรส อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) กล่าวว่า อยากจะชมเชยว่าเมื่อเทียบกับปี 2558 ก็มีการทักท้วง มีปัญหาเยอะแยะ ให้ถอนออกไป ไปตั้งต้นใหม่ ก็มีการถอนออกไป แต่กระบวนการทำร่างฉบับนี้ แม้ไม่เข้มข้น เอาหลายเรื่องที่รับฟังความคิดเห็นไปแก้ไข แต่บางอย่างในมิติแรงงาน อาจไม่ใช่ข้อดีทั้งหมด แต่ชมในเรื่องการนำประเด็นในการรับฟังมาปรับใช้เป็นกระทรวงเดียวที่ท้วงไปแล้ว ถอนออกมา

อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า มีเรื่องน่าเสียดายคือ พอทำแล้ว ทำไมไม่รับรอง ILO 87 98 ไปเลย ตนก็งงมาก ใครจะเปลี่ยนแปลง เหนื่อยกันไป เกมส์ยาวเกิน รับไปก่อนเลย มีอนุสัญญามากมายที่รับมาแล้ว เราก็ไม่ได้ออกกฎหมายเลิศหรือสมบูรณ์ มองว่าฝ่ายนายจ้างก็ไม่ได้ติดใจอะไรมากมาย ถ้าเรายกตัวอย่างกฎหมย คือ รวมคนทำงานทั้งหมดให้อยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกัน เพราะเรามีกฎหมายหลายฉบับมาก รุงรังมาก มันน่าเสียดายมาก แค่แรงงานสัมพันธ์ ยังแยกรัฐวิสาหกิจออกไปเลย ทั้งๆ ที่ควรอยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น ไทยพีบีเอสก็ยังไม่สามารถตั้งสหภาพแรงงานได้ หรือส่วนราชการ องค์กรอิสระก็ตั้งไม่ได้ เหล่านี้ก็ยังมีข้อยกเว้น แต่แรงานสัมพันธ์ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับวินัย นี้คือมาตราคือสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน มาตรา 27 ในรัฐธรรมนูญที่ก็กำหนดไว้แล้ว ถ้าเจาะลึกในมาตรา 4 ไม่ควรอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้แล้ว ควรเอาร่างเอกชนและรัฐวิสาหกิจควรมารวมกัน

สุนี กล่าวอีกว่า กระทรวงแรงงานควรเริ่มต้นใหม่ดีกว่า เข้า ครม. สนช. ในเดือน ก.ย.นี้ ก็ยังเปลี่ยนแปลงได้ รัฐธรรมนูญมาตรา 77 ออกมาเดือน เม.ย. ที่ระบุว่า รัฐก่อนออกกฎหมายทุกฉบับต้องรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่ายอย่างกว้างขวาง กระทบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย

สำหรับกรณีคนไม่มีสัญชาติไทยในร่าง พ.ร.บ.ใหม่ สุนี กล่าว่า ก็ไปกำหนดเงื่อนไขหลายอย่าง เช่น ต้องอยู่ 3 ปี แต่อยู่จริงได้ 4 ปี ก็จบเลย จะตั้งได้อย่างไร หรือการต้องอ่านเขียนภาษาไทยได้นั้นมันจำเป็นไหม ดังนั้นการเปิดช่องในการเจจาน่าจะสำคัญกว่า ถ้าแรงงานข้ามชาติไม่มีช่อง โอกาสตกหล่นก็มีอยู่สูง เพราะช่วยได้ไม่ได้หมด 

สุนี เสนอด้วยว่า ให้เอาประมวลกฎหมายแรงงาน ไปพิจาณาหรือเอากฎหมาย 2 ฉบับ คือ รัฐวิสาหกิจ กับ เอกชนมารวมกัน  แต่แบบที่ทำอยู่นี้มันคือการแก้แบบ ปะผุ รับไปก่อนมาแก้ใหม่ มันยากมาก

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท