ครม.เคาะชื่อ กก.ปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน อดีต 'สปท.-ส.ว.-ข้าราชการ-ทหาร' นั่งเต็ม

ครม.เคาะรายชื่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน คาดแผนปฏิรูปประเทศจะแล้วเสร็จภายใน เม.ย.ปี 2561 พบกับคนคุ้นเคยเช่น ถวิล วันชัย บวรศักดิ์ เอนก คำนูณ คุณหญิงพรทิพย์  เสรี วงษ์มณฑา  สุทธิชัย หยุ่น ปานเทพ  พะจุณณ์ ฯลฯ

บุคคลมีชื่อเสียงบางส่วนที่มีชื่อติดในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ

15 ส.ค. 2560 รายงานข่าวระบุว่า พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ทั้ง 11 คณะ ตาม พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ ที่กำหนดให้แต่งตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน หลัง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ โดยให้คณะกรรมการฯ ทั้ง 11 คณะ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (15 ส.ค.) เป็นต้นไป โดยคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ จะมีจำนวน คณะละ 15 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 165 คน ซึ่งวันนี้ (15 ส.ค.) ครม.เห็นชอบแล้ว 120 คน เหลืออีก 45 คน จะแต่งตั้งในโอกาสต่อไป

พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า คณะกรรมการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 คณะ ยึดถือตามข้อกำหนดที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไว้ คือ จะพยายามให้มีข้าราชประจำน้อยที่สุด หากมีข้าราชการประจำ ก็จะเป็นข้าราชการประจำที่ใกล้จะเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้มีเวลาทำงานได้มากขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการทั้ง 11 คณะ จะแยกกันทำหน้าที่ในการยกร่างแผนการปฏิรูปประเทศในแต่ละด้าน และนำแผนทั้ง 11 ด้านมารวมกันเป็นแผนปฏิรูปของชาติ ซึ่งคาดว่าแผนปฏิรูปประเทศจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายนปี 2561 และแผนดังกล่าวไม่ต้องนำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และไม่ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ 

พล.ท.สรรเสริญ กล่าวอีกว่า สำหรับการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ได้กำหนดการทำงานไว้อย่างชัดเจนว่าต้องมีการกำหนดหัวข้อการปฏิรูป พร้อมทั้งระบุกลไก ขั้นตอน วิธีการ งบประมาณ ผลลัพธ์ในแต่ละด้าน ตัวชี้วัด และผลสัมฤทธิ์ภายใน 5 ปี รวมถึงการออกกฎหมายเพื่อให้กลไกต่าง ๆ เดินไปได้

“จากนั้นคณะกรรมการทั้ง 11 คณะ จะต้องติดตามการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง สภาฯ ศาล กระทรวง ทบวงกรม หน่วยงานอิสระ ทุกคนถูกติดตามโดยคณะกรรมการปฏิรูปทั้ง 11 คณะ เสร็จแล้วจะต้องทำรายงานเสนอ ครม. นำเสนอให้ประชาชนและให้สภาฯ รับทราบด้วยว่าได้ติดตามกรทำงานแต่ละส่วนแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าดูตามนี้จะเห็นว่าภารกิตเขาคุ้มค่ากับการตั้งเป็นคณะกรรมการฯ มีอายุการทำงาน 5 ปี และคำถามยอดฮิต คือ ถ้าตรวจพบว่าหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่เอ่ยชื่อมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานอิสระ ศาล สภาฯ กระทรวงทบวงกรม เขาไม่ทำ จะทำอย่างไร ก็ให้มีการเจรจาพูดคุยกับหน่วยงานนั้น เพื่อขอทราบเหตุผลว่าทำไมไม่ทำ ต้องอธิบายให้ชัดเจน ถ้ามีเหตุผลรับฟังได้ ปรับแก้ไขได้ ก็ว่าไป แต่ถ้าเห็นว่าไม่เหมาะสม ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น ก็ให้รายงานให้นายกฯ ทราบหรือรายงานให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในทางการบริหารดำเนินการกับหน่วยงานนั้น ๆ ได้” พล.ท.สรรเสริญ กล่าว 

สำหรับรายชื่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ทั้ง 11 คณะ ประกอบด้วย 

1.ด้านการเมือง เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานกรรมการ  รวี ประจวบเหมาะ อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง เป็นเลขานุการ ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีตรัฐมนตรี  พรชัย ตระกูลวรานนท์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ อาจารย์รัฐศาสตร์ พล.อ.ฐิติวัจน์ กำลังเอก อดีต สปท. พล.ต.ท.ตรีทศ รณฤทธิวิชัย อดีต สปท. นรรัตน์ พิมเสน อดีตเลขาธิการวุฒิสภา วันชัย สอนศิริ อดีต สปท. และ ฐะปานีย์ อาจารวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 

2.ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน กฤษดา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ สุรพงษ์ มาลี สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นเลขานุการ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ อดีตปลัดกระทรวง บัณฑูร ล่ำซำ  ภาคเอกชนประชาสังคม พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ อดีตปลัด กทม. วิบูลย์ สงวนพงศ์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย เบญจวรรณ สร่างนิทร อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กานต์ ตระกูลฮุน ภาคเอกชน ประชาสังคม อาศิส อัญญะโพธิ์ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส และประหยัด พวงจำปา รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

3.ด้านกฎหมาย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธาน พีรพิชญ์ วงศ์วัฒนศานต์ กฤษฎีกา เป็นเลขานุการ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ที่ปรึกษากฎหมาย ภาคเอกชน  คำนูณ สิทธิสมาน อดีต สปท. สุขุมพงศ์ โง่นคำ อดีตรัฐมนตรี นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ สุดา วิศรุตพิชญ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ อดีต ส.ว. ประภาส คงเอียด รองปลัดกระทรวงการคลัง และ พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ

4.ด้านกระบวนการยุติธรรม อัชพร จารุจินดา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นประธานกรรมการ ชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ผู้พิพากษา เป็นเลขานุการ คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ อดีต สปท.  สราวุธ เบญจกุล รองเลขาฯ สำนักงานศาลยุติธรรม วันชัย รุจนวงศ์ อัยการ ว่าที่ร้อยตรี ถวัลย์ รุยาพร ทนายความ สงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ทนายความ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้ว่าฯ กทม. ตระกูล วินิจนัยภาค อดีตอัยการสูงสุด และ พล.ท.กฤษณะ บวรรัตนารักษ์ รองเจ้ากรมพระธรรมนูญ

5.ด้านเศรษฐกิจ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธานกรรมการ ปัทมา เธียรวิศิษฐ์สกุล เป็นเลขานุการ ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กอร์ปศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ) อิสระ ว่องกุศลกิจ อดีตประธานหอการค้า เทวินทร์ วงศ์วานิช ปตท. ณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ เอกชน ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อดีต ผอ.สวทช. สว่างธรรม เลาหทัย เอกชน ชาติศิริ โสภณพนิช เอกชน และสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

6.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร(สสนก.) เป็นประธาน สาวลดาวัลย์ คำภา เป็นเลขานุการ บัณฑูร เศรษฐศิโรฒน์ สิ่งแวดล้อม ประชาสังคม ขวัญชัย ดวงสถาพร สิ่งแวดล้อม ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีต สปช. พล.อ.เอกชัย จันทร์ศรี ทรัพยากรธรรมชาติ สัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน ภาวิญญ์ เถลิงศรี ประชาสังคม นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ สิ่งแวดล้อม พล.ร.ออภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ ทรัพยากรทางทะเล และธีรพัฒน์ ประยูรสิทธ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

7.ด้านสาธารณสุข นายแพทย์เสรี ตู้จินดา อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธานกรรมการ นายแพทย์ ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล อาจารย์ ม.มหิดล เป็นเลขานุการ นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย แพทย์ สมชัย  จิตสุชน ระบบสาธารณสุข พาณิชย์ เจริญเผ่า แรงงาน นายแพทย์ พลเดช ปิ่นประทีป  นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อดีตอธิการบดี จุฬา ,สนช. นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อ.จุฬา

8.ด้านสื่อสารมวลชน จิรชัย มูลทองโร่ย ปลัด สปน. เป็นประธานกรรมการ ปาริชาต สถาปิตานนท์ เลขานุการ พล.อ.อ. คณิต สุวรรณเนตร อดีต สปท. ธงชัย ณ นคร  สื่อมวลชน ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ สื่อมวลชน ประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด สื่อมวลชน ร.อ.ประยุทธ เสาวคนธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เสรี วงษ์มณฑา อาจารย์ กนกทิพย์ รชตะนันทน์ ความมั่นคง สุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชน และ สมหมาย ปาริจฉัตต์ อดีตนายกสมาคมนักข่าว 

9.ด้านสังคม ปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานกรรมการ ชุตินาฎ วงศ์สุบรรณ เป็นเลขานุการ นายแพทย์อำพน จินดาวัฒนะ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ วัฒนธรรม ต่อพงศ์ เสลานนท์ สังคมวิเชียร ชวลิต อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วินัย ตะห์ลัน อาจารย์  อโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ประชาสังคม สมเดช นิลพันธุ์ อดีตอธิการบดี ม. ราชภัฎนครปฐม สุรินทร์ จิรวิศิษฐ์ อดีตรองปลัดกระทรวงแรงงาน/อดีต สปท. พล.อ.รณชัย มัญชุสุนทรกุล  กีฬา เอ็นนู ซื่อสุวรรณ ประชาสังคม และไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

10.ด้านพลังงาน พรชัย รุจิประภา  อดีตรัฐมนตรี/อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ กวิน ทังสุพานิช เป็นเลขานุการ เสมอชัย ศุขสุเมฆ กองทุนพลังงาน มนูญ ศิริวรรณ พลังงาน ดุสิต เครืองาม พลังงานทดแทน บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช อดีต สปท./พลังงาน สุนชัย คำนูณเศรษฐ์ พลังงานไฟฟ้า และ ดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

11.ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ อดีตประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นประธานกรรมกา ประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาฯ ป.ป.ช. พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป อดีต สปท. เจษฎ์ โทณะวนิก อาจารย์ เพิ่มพงษ์ เชาวลิต อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) มานะ นิมิตรมงคล เอกชน วิชา มหาคุณ อดีตกรรมการ ป.ป.ช. วิชัย อัศรัสกร เอกชน พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ อดีต ส.ว. อนุสิษฐ คุณากร  อดีต ผอ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ อุทิศ ขาวเธียร สำนักงาน ป.ป.ช. 

นอกจากนี้ พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า ขณะที่คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ คาดว่าจะมีการแต่งตั้งและเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ได้ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม โดยจะมีคณะกรรมการย่อย 6-7 คณะ รวมประมาณ 90-100 คน.

ที่มา : สำนักข่าวไทย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท