Skip to main content
sharethis

ครบรอบ 1 ปี อดีต ปธน. เบน อาลี หนีออกนอกประเทศ ประชาชนหลายพันคนชุมนุมเรียกร้องแก้ปัญหาว่างงานจากที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19 ขณะเดียวกันรัฐบาลใหม่ก้ได้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง 9,000 ราย 14 ม.ค. 2012 - ชาวตูนิเซียหลายพันคนชุมนุมที่ใจกลางกรุงตูนิส เรียกร้องในเรื่องแก้ปัญหาว่างงาน ในวันเดียวกับที่ครบรอบปีการออกจากประเทศของอดีตประธานาธิบดี ซีเน เอล อบิดีน เบน อาลี ออกจากประเทศ ผู้ประท้วงพากันเปล่งสโลแกนว่า \งาน เสรีภาพ และศักดิ์ศรี\" \"งานคือสิทธิ\" \"พวกเราจะยังคงสู้ต่อไป\" โดยพวกเขายังได้พากันชูป้ายอยู่บนท้องถนนใจกลางย่านเดียวกับที่ให้กำเนิดปรากฏการณ์ \"ดอกไม้บานในอาหรับ\" (Arab Spring) \"พวกเราปฏิวัติต่อต้านเผด็จการเพื่อเรียกร้องสิทธิ เรียกร้องศักดิ์ศรีในชีวิตของพวกเรา และไม่ต้องการช่วยให้พวกฉวยโอกาสสร้างความทะเยอทะยานทางการเมือง\" ซาเลม ซิโตนี หนึ่งในผู้ประท้วงกล่าว ผู้ประท้วงต่างพากันสวมชุดสีแดงขาวซึ่งเป็นสีของธงชาติตูนีเซีย และเรียกร้องให้นึกถึง \"ผู้เสียสละ\" ที่ถูกสังหารไปในช่วงที่เกิดความไม่สงบก่อนที่เบน อาลี จะถูกโค่นล้ม พวกเขาถือป้ายที่อ่านว่า \"พวกเราซื่อสัตย์ต่อการหลั่งเลือดของผู้เสียสละ\" และ \"พวกเราจะไม่ลืมผู้เสียสละ\" หลายคนยังได้ตะโกนคำว่า \"ไสหัวไป\" กับ \"ไปได้เสียที\" ซึ่งเป็นคำยอมนิยมที่มีคนใช้ขับไล่เบน อาลี ก่อนที่เขาจะลงจากตำแหน่งไปในวันที่ 14 ม.ค. 2011 คนที่ได้รับบาดเจ็บในช่วงที่มีการปฏิวัติก็พากันมานั่งปักหลักชุมนุมอยู่นอกทำเนียบรัฐบาลในเมืองเก่าคัสบาห์ นักข่าวของอัลจาซีร่า นาซานีน โมชิรี รายงานว่า สถานการณ์ของตูนิเซียในวันนี้ เป็นทั้งวันของการเฉลิมฉลองและวันของการสะท้อนมุมมอง \"มีคนเสียชีวิตกว่า 200 คนในช่วงปฏิวัติ และปัญหาการว่างงานก็ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ ในสัปดาห์นี้เอง มีคนเผาตัวตายไป 4 คนแล้ว แบบเดียวกับที่ โมฮาเม็ด บูวอาซีซี เคยทำ\" นาซานีน โมชิรี กล่าว บูวอาซีซีคือ คนขายผักอายุ 26 ปี จากเมืองซีดี บูวซิด การเผาตัวตายของเขากลายเป็นชนวนให้เกิดการปฏิวัติตูนิเซีย งานฉลอง การปฏิวัติตูนิเซียกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศในแถบตะวันออกกลาง รวมถึงประเทศอียิปต์และลิเบีย มีผู้นำต่างชาติหลายประเทศที่ถูกวางตัวไว้ว่าจะมาเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองในช่วงสุดสัปดาห์ หนึ่งในนั้นมี ชีค ฮาหมัด คาลิฟา อัล ธานี ผู้เป็นหนึ่งในผู้ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหว \"ดอกไม้บานในอาหรับ\" และมุสตาฟา อับเดล จาลิล ประธานสภาถ่ายโอนอำนาจของลิเบีย สิ่งท้าทายรัฐบาลใหม่ เบน อาลี ถูกศาลตูนิเซียตัดสินให้มีความผิดทั้งอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและคดีความอื่นๆ เขาหลบหนีไปอยู่ที่ซาอุดิอาระเบีย หลังจากที่ฝรั่งเศสปฏิเสธไม่ให้เขานำเครื่องบินลงจอด รัฐบาลใหม่ของตูนิเซียเปิดเผยว่า ทางการซาอุดิอาระเบียปฏิเสธคำขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งจะทำให้เบน อาลี ถูกส่งตัวกลับประเทศ และจะถูกดำเนินคดีหลายคดี ปัญหาอื่นๆ ที่รัฐบาลใหม่ของตูนิเซียต้องสะสางคืออัตราการว่างงานในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 19 และในบางพื้นที่ซึ่งถูกเมินจากผู้ลงทุนในอดีตก็เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 50 ความไม่พอใจของคนในสังคมก็เพิ่มมากขึ้นด้วย เรื่องการทุจริตก็เป็นประเด็นท้าทาย เมื่อองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ลดอันดับประเทศตูนิเซียลงจากอันดับที่ 59 มาสู่อันดับที่ 73 จากตาราง 183 ประเทศ เนื่องจากมีความหวั่นเกรงว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลในอดีตจะปะปนเข้ามาในพื้นที่การเมืองของรัฐบาลใหม่ \"พวกเรามองเห็นตูนิเซียที่เปลี่ยนไป\" อามีน กาลี จากศูนย์การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย 'อัล คาวาคีบิ' กล่าว \"พวกเราไม่ได้อยู่ในประเทศประชาธิปไตย พวกเราอยู่ในประเทศที่พยายามเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย และมันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย\" กาลี กล่าวอีกว่าแม้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจจะยังคงมีอยู่ แต่กลุ่มนักการเมืองก็จัดการกับปัญหานี้ในทางที่ถูก ตูนิเซียเป็นประเทศที่ถูกครอบโดยการเมือง \"...ไม่ได้หมายความว่ามีการแบ่งแยกแต่เป็นการถูกทำให้เป็นการเมือง\" ในฐานะครบรอบปี ทางตูนิเซียได้นิรโทษกรรมหรือปล่อยตัวนักโทษ 9

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net