Skip to main content
sharethis

Subsribe เพื่อติดตามประชาไทที่

 

 

หมายเหตุประเพทไทย สัปดาห์นี้ ชานันท์ ยอดหงษ์ และศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ พาเที่ยวห้องสมุดของโลกโบราณ เริ่มต้นจากโลกตะวันตกที่ “หอสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย” ซึ่งสร้างในยุคที่อาณาจักรมาเซโดเนียของพระเจ้าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแผ่ขยายอำนาจมาถึงอียิปต์

ทั้งนี้ประวัติศาสตร์โลกตะวันตกมักใช้เหตุการณ์เผาทำลาย “หอสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย” เป็นหมุดหมายหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านจากยุคคลาสสิกไปสู่ยุคกลาง โดยมองห้องสมุดเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอารยะ

ตัวอย่างของการสถาปนาชุดความรู้เพียงชุดเดียว และขจัดชุดความรู้ที่ผู้มีอำนาจไม่ต้องการ ยังมีตัวอย่างเช่นนี้ในโลกตะวันออกด้วย อย่างเช่นยุค “เผาตำราฆ่าบัณฑิต” สมัยจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ ผู้สถาปนาราชวงศ์ฉินเมื่อ 220 ปีก่อนคริสตกาล

ขณะที่ตัวอย่างในไทย ก่อนหน้าที่ไทยจะเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ตัวอักษรไม่ได้มีบทบาทเพื่อจดบันทึกมากเท่ากับการใช้ในทางศาสนาหรือของศักดิสิทธิ์ และการเรียนเขียนตัวอักษรในอดีตจึงเน้นใช้การท่องจำ ควบคู่ไปกับการออกเสียงเป็นทำนอง และเมื่ออ่านเอกสารในสมัยอยุธยา อย่างเช่น แบบเรียนจินดามณี จะพบว่าอักขระวิธี การใช้วรรณยุกต์ จะต่างจากที่ใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการเขียนตามการออกเสียง และยังไม่มีการจัดรูปแบบมาตรฐานแบบภาษาไทยปัจจุบัน ในช่วงท้ายศิริพจน์ยังเสนอด้วยว่า ห้องสมุดของไทย อาจจะต้องเก็บมากกว่าหนังสือ เพราะองค์ความรู้ในไทยไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือเท่านั้น และห้องสมุดน่าจะนำเสนอเรื่องราวที่เป็นองค์ความรู้ของเมืองนั้นๆ ด้วย

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่

https://www.facebook.com/maihetpraphetthai

หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net