Skip to main content
sharethis

21 มี.ค.2561 หลังจากเมื่อปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง (ชุดที่ 19) ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เสนอเป็น 7 ระดับ แม้จะมีเสียงของกลุ่มคนงาน นำโดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) คัดค้าน พร้อมเรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำควรเท่ากันทุกจังหวัดทั่วประเทศเพื่อให้สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ได้ 3 คนตามหลักการของปฏิญญาสากลขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) นั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซตต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 9) โดยระบุถึงเป็นการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ โดย พื้นที่ที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำสูงที่สุดคือ ภูเก็ต ชลบุรี และ ระยอง ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในอัตรา วันละ 330 บาท ส่วนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่น้อยที่สุดอยู่ที่ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี โดยกำหนดให้วันละ 308 บาท โดยให้มีผลวันที่ 1 เม.ย. 2561 เป็นต้นไป

เพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวด้วยว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ จะช่วยทำให้นายจ้างและลูกจ้างอยู่ได้ และเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเมื่ออัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ทั่วประเทศมีผลใช้บังคับแล้ว กระทรวงแรงงานจะกำกับดูแลให้สถานประกอบกิจการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net