Skip to main content
sharethis

(*สรุปจากการสัมมนาเรื่อง "สิทธิมนุษยชนด้านแรงงานกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541" ในโอกาสครบรอบ 6 ปีเพื่อระดมความคิดเห็นในการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวให้สามารถคุ้มครองและปกป้องสิทธิแรงงานได้อย่างแท้จริงและสอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน)

1. ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงให้ถือว่าเป็นลูกจ้างสถานประกอบการนั้น โดยต้องได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ เท่าเทียมกับพนักงานประจำ
2. กองทุนสงเคราะห์ต้องรับภาระจ่ายเงินให้ก่อนในส่วนที่ลูกจ้างพึงได้รับจากนายจ้าง ระหว่างสู้คดีกับนายจ้าง รวมทั้งควรมีมาตรการจัดเก็บเงินประกันการหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชยของนายจ้าง
3. การย้ายสถานประกอบการของนายจ้างตามมาตรา 120 กรณีที่ลูกจ้างไม่ประสงค์ย้ายงานขอให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย 100%
4. ควรบังคับใช้กฎหมายให้เป็นจริงในการคุ้มครองสิทธิแรงานข้ามชาติ
5. ต้องระบุไว้ในกฎหมายคุ้มครองฯ ว่า ไม่ให้ใช้การทำงานล่วงเวลาเป็นเครื่องมือกีดกัน แบ่งแยกการรวมตัวของคนงาน รวมทั้งต้องคิดเวลาพักเป็นช่วงเวลางานด้วย
6. ควรมีการแบ่งประเภทการยุติปัญหาให้ชัดเจนว่าเรื่องไหนยุติที่ผู้ตรวจแรงงานหรือเรื่องไหนยุติที่ศาลแรงงาน รวมทั้งให้ศาลแรงงานกลางและศาลแรงานภูมิภาคมีมาตรฐานเดียวกัน
7. มาตรา 16 การล่วงละเมิดทางเพศ ศาลแรงงานกลางควรมีอำนาจพิจารณาคดี และขยายความคุ้มครองไปสู่ลูกจ้างกับลูกจ้าง รวมทั้งมีการระบุ กลไก บทลงโทษ และขั้นตอนการร้องเรียนให้ชัดเจน
8. การไปชี้แจงคดีตามหมายนัดของศาลให้ถือว่าเป็นวันทำงานและกรณีที่ผู้ตรวจแรงงานไปตรวจให้ลูกจ้างมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล
9. ควรมีกระบวนการที่โปร่งใสในการหาตัวแทนไตรภาคีของลูกจ้าง
10. ขยายความคุ้มครองไปสู่ลูกจ้างทุกประเภทที่ไม่ได้ระบุไว้ในกฎหมายคุ้มครองฯ
11. มาตรา 75 ก่อนที่นายจ้างจะขอหยุดสถานประกอบการให้ผู้ตรวจแรงงานเข้ไปตรวจ
ก่อน
12. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างหญิงมีครรภ์ และเพิ่มโทษนายจ้างที่ละเมิด

รายงานโดย : ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว
ศูนย์ข่าวประชาไท

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net