Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ปัณณพร ไพบูลย์วัฒนกิจ
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เผยแพรครั้งแรกในเว็บไซต์คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.)


 


คำว่า "วิทยุชุมชน" ในสายตาของคนทั่วไป อาจมองว่าวิทยุชุมชนเป็นแหล่งแสวงหากำไร ในทางธุรกิจ และวิทยุชุมชนอยู่ไม่ได้หากไม่มีการโฆษณา เพราะการตั้งสถานีวิทยุชุมชนจำเป็นต้องมีค่า น้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าตอบแทนผู้จัดรายการวิทยุ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้น หากไม่ให้วิทยุชุมชนมีโฆษณา แล้ววิทยุชุมชนจะอยู่ได้อย่างไร?


 


คำถามนี้? เกิดขึ้นหลายครั้งในกลุ่มคนทั่วไป หรือแม้แต่กลุ่มคนที่ทำงานวิทยุชุมชน แต่ป้าบัวถา สุภาหาญ วัยเกือบ 50 ปี หนึ่งในอาสาสมัครผู้จัดรายการของจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนดอยหลังถ้ำ .ศรีเตี้ย .บ้านโฮ่ง .ลำพูน กลับตอบด้วยความมั่นใจว่า อยู่ได้เพราะ "ทอดผ้าป่าสามัคคีวิทยุชุมชน"


 


จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนดอยหลังถ้ำ .ลำพูน คลื่นความถี่ FM 100.25 MHz ก่อตั้งเมื่อปี .. 2547 โดยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านในอ.บ้านโฮ่ง .ลำพูน และเนื่องจากวิทยุชุมชนแห่งนี้ไม่ มีโฆษณา รายได้หลักจึงมาจากการจัดงานทอดผ้าป่าระดมทุนจากชุมชน ซึ่งจะจัดเป็นประจำทุกปี ในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยวลำไยแล้ว


 


ป้าบัวถา สุภาหาญ เล่าว่า ก่อนที่จะจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคีวิทยุชุมชน คณะสงฆ์ คณะกรรมการสถานี ผู้จัดรายการ และ ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 9 หมู่บ้านในตำบลศรีเตี้ย จะมาประชุมร่วมกัน เพื่อกำหนดวันทอดผ้าป่า พิมพ์ซอง และแจกจ่ายไปตามกลุ่มบ้านให้แก่ ญาติพี่น้อง แฟนรายการ ให้มาร่วมทำบุญวิทยุชุมชน


 


หลังจากนั้น ก่อนวันทอดผ้าป่า 1 วัน ซึ่งทางเหนือเรียกว่า "วันดา" คณะกรรมการสถานี และผู้จัดรายการทุกคนจะมาช่วยกันตกแต่งสถานที่ ตั้งเต้นท์ จัดเวที และเตรียมต้อนรับแฟนรายการที่มาร่วมทำบุญ โดยกลุ่มแม่บ้านจะรับเป็นเจ้าภาพ ทำอาหารเลี้ยงแขกที่มาร่วมทำบุญ


 


พอถึงวันทอดผ้าป่าวิทยุชุมชน ตั้งแต่เช้าจรดเย็น แฟนรายการที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันและอยู่ห่างไกล อย่างเช่น อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด และอำเภอดอยเต่า จะทยอยแห่ขบวนผ้าป่าสามัคคีเข้ามา ภายในสถานีวิทยุชุมชน พร้อมทั้งเรียกหาชื่อผู้จัดรายการที่ตนเองชื่นชอบและเป็นแฟนประจำรายการ


 


เงินที่ได้จากการทอดผ้าป่าวิทยุชุมชนในแต่ละครั้ง เฉลี่ยได้ประมาณ 50,000-100,000 บาท ส่วนใหญ่ได้มาจากแฟนรายการที่รับจ้างคัดแยกหอม ปลูกลำไย ในพื้นที่ที่สามารถรับฟังรายการจากทางสถานีได้ โดยทางสถานีจะนำเงินดังกล่าวไปซื้อเครื่องส่ง ซึ่งได้ขอยืมมาจากวิทยุชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี นำไปปรับปรุงห้องส่ง อุปกรณ์ในการออกอากาศ เพื่อให้แฟนรายการสามารถรับฟังสัญญาณได้ชัดเจนขึ้น รวมทั้งนำไปบำรุงเป็นค่าน้ำค่าไฟให้แก่วัด ที่ให้การสนับสนุนตลอดมา


 


ป้าบัวถา เล่าต่อว่า ตนรู้สึกปลื้มใจที่ได้มาเป็นอาสาสมัครจัดรายการวิทยุชุมชนได้ 2 ปี แม้จะไม่มีค่าตอบแทนในการจัดรายการ แต่สิ่งที่ได้กลับคืนมา คือ ความรักความศรัทธาของแฟนๆ รายการ อย่างเช่นนางแว่น แก้วทิพย์ ชาวบ้านดงปินหวาน .ศรีเตี้ย .บ้านโฮ่ง .ลำพูน จะมาร่วมงานทอดผ้าป่า วิทยุชุมชนดอยหลังถ้ำเป็นประจำทุกปี และจะกล่าวกับตนเสมอว่า


 


"อยากให้สถานีวิทยุชุมชนแห่งนี้อยู่ต่อไปนานๆ เพราะชอบฟังรายการธรรมะ และช่วยคลายเหงาได้ ในขณะคัดแยกหอมแดงลำไย ก็สามารถหิ้วเครื่องเล่นวิทยุไปฟังในเวลาทำงานได้"


 


หรือ บางครั้งได้ยินเสียงเศร้าๆ ของผู้ฟังทางบ้านที่โทรศัพท์เข้ามา ก็สอบถามว่า "ทำไมวันนี้เสียงเศร้าจัง" ผู้ฟังทางบ้านก็ตอบว่า "มีปัญหาทางบ้าน" ผู้จัดรายการก็ให้เพลงปลอบใจ ให้กำลังใจว่า "อย่าท้อหนทางยังมี" พอถึงช่วงประเพณีทอดผ้าป่าวิทยุชุมชน แฟนรายการคนนี้ก็ร่วมกับแฟนรายการคนอื่นๆ นำต้นป่าผ้ามาให้ถึงสถานีทุกปี


 


"ป้าเชื่อว่า 20 บาทของชุมชนมีค่ามากกว่า 1,000 บาทจากร้านค้า เพราะไม่มีเงื่อนไข เพราะไม่มีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน แต่มาจากความจริงใจ ความศรัทธาของชุมชนที่มีต่อวิทยุชุมชนจริงๆ"

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net