Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

 

การ ต่อสู้ของขบวนการเสื้อแดง เพื่อล้มระบอบอำมาตยาธิปไตยที่ฝังรากลึกในสังคมการเมืองไทยมายาวนานนั้น เพื่อสร้างประชาธิปไตยให้มั่นคงนั้น ย่อมต้องสร้างพลังมวลมหาประชาชนที่ตื่นตัวมีจิตสำนึกอย่างขนานใหญ่ ขยายฐานให้กว้างขวาง ย่อมเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนานในสภาวะวิสัยที่ยังเป็นรองฝ่ายอำมาต ยาธิปไตยที่ครองอำนาจเป็นใหญ่ทั้งทางอุดมการณ์และกลไกรัฐ ทหาร ตำรวจ ศาล และยังไม่ถึงเวลาแตกหัก
 
หาก จะทบทวนบทเรียนเพื่อเสริมสร้างพลังมหาประชาชนคนเสื้อแดงให้เข้มแข็งขึ้นนั้น ผู้เขียนในฐานะแนวร่วมคนเสื้อแดง เป็นมิตรร่วมรบกับคนเสื้อแดง มีข้อสังเกตและข้อเสนอเบื้องต้นบางประการในการถกเถียงพิจารณากันเพื่อสิ่ง ที่ดีขึ้นในอนาคต
 
1. ขบวนการเสื้อแดง จำเป็นต้องขยายการนำให้มีตัวแทนทั้งลักษณะบุคคลสังกัดพรรคการเมืองฝ่าย ประชาธิปไตย(พรรคเพื่อไทย) และองค์กรแนวร่วมที่ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย(พรรคเพื่อไทย) เพิ่มขึ้นที่มีจุดร่วม “โค่นล้มระบอบอำนาจอำมาตยาธิปไตย” เพื่อ การสร้างการนำรวมหมู่โดยนำเป็นคณะ จำเป็นต้องมีการประกาศแกนนำบุคคลและองค์กรตัดสินใจรวมหมู่ที่ชัดเจนต่อมหา ประชาชนเสื้อแดง มีลักษณะประชาธิปไตยรวมศูนย์ เป็นประชาธิปไตยที่รวมศูนย์พลังความคิดพลังคนของกลุ่มย่อยต่างๆที่เป็นอิสระ ในการขับเคลื่อนให้เป็นหนึ่งเดียว ที่ฟังเสียงจากของมวลมหาประชาชน กลุ่มย่อยต่างๆของพลังเสื้อแดงด้วย
 
ยกตัวอย่างรูปธรรม เช่น มีคุณจาตุรนต์ ฉายแสง ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ตัวแทน นปช.รุ่น 2 ตัวแทนเครือข่ายหนี้สินแห่งประเทศไทย ตัวแทนสหภาพแรงงานฝ่ายก้าวหน้า ตัวแทนศิลปินฝ่ายก้าวหน้า ตัวแทนนักวิชาการฝ่ายก้าวหน้า เป็นต้น เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ยุทธวิธีการต่อสู้ทั้งระยะสั้นระยะยาว
 
2 .องค์กรในระดับจังหวัด ท้องถิ่น ภาค ก็มีการจัดตั้งเช่นเดียวกับ ขบวนการเสื้อแดงศูนย์กลาง ก็ต้องคิดค้นการนำแบบเดียวกับข้อที่1 นำจุดร่วม ของกลุ่มพลัง กลุ่มย่อยต่างๆที่ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองเพื่อไทย รวมกันสร้างการนำที่เปิดกว้างขึ้น ขยายฐานองค์กร ขยายฐานมวลมหาประชาชน เพื่อไม่ให้การเคลื่อนไหวโดดเดี่ยวแคบเกินโดยไม่จำเป็น
 
3.ขบวนการ เสื้อแดง ไม่ได้ปฏิเสธทักษิณ ชินวัตร เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเสื้อแดง แต่ก็ต้องเสนอเนื้อหาหลักการประชาธิปไตยที่ชัดเจนกว่าการชูตัวบุคคล เพื่อไม่ให้ศัตรูฝ่ายตรงข้ามฉวยโอกาสทำลายความชอบธรรมในการต่อสู้ว่า ขบวนการเสื้อแดงทำเพื่อคนคนเดียวเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาและเป็นอยู่มวลมหาประชาชนคนเสื้อแดงก็ก้าวพ้นตัวบุคคลไปแล้ว รวมทั้งต้องขยายสำนึกประชาธิปไตยทั้งในระบบรัฐสภาและประชาธิปไตยนอกระบบ รัฐสภาด้วยเช่นกัน
 
4. ขบวนการเสื้อแดงต้องชูธงการต่อสู้แบบสันติ ไม่ใช่การต่อสู้แบบขบวนการใต้ดินหรือติดอาวุธ ซึ่งทำให้ศัตรูอ้างเหตุในการปราบปรามได้ และไม่สามารขยายแนวร่วมให้กว้างขวางได้ด้วย ภายใต้เงื่อนไขทางสภาวะวิสัยที่ไม่จำเป็นแต่อย่างใด นอกจากศัตรูปิดเงื่อนไขในการต่อสู้อย่างสันติ
 
5.ขบวนการ เสื้อแดง ต่อสถานการณ์ปัจจุบันนั้น ไม่เพียงแต่การเสนอเพื่อยกเลิกอำนาจของอำมาตยาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญ 40 ทวงคืนรัฐธรรมนูญ 40 เท่านั้น ต้องมีการสรุปบทเรียนจุดอ่อนข้อด้อยของรัฐธรรมนูญ ปี40 ที่ผ่านมา และมีการระดมข้อเสนอจากประชาชนและมวลชนเสื้อแดงเพิ่มเติมที่ก้าวหน้ากว่า รัฐธรรมนูญปี 40 ด้วยเช่นกัน
 
 
 
6.ขบวนการ เสื้อแดง ต้องคิดค้นการจัดตั้งสมาชิกในรูปแบบต่างๆ ยกระดับด้านจิตสำนึกประชาธิปไตยให้เข้มข้นขึ้น นำพาและร่วมการต่อสู้กับสมาชิกในชีวิตประจำวัน ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องราวต่างๆที่สมาชิกถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ (สมาชิกขบวนการเสื้อแดงส่วนใหญ่เป็นคนจนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจำนวนมาก)
 
7. ขบวนการเสื้อแดง ต้องคิดค้นเสนอทางออกสังคมไทยที่เป็นสังคมที่เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ ปฎิรูปที่ดิน กระจายอำนาจ ปกครองท้องถิ่น รัฐสวัสดิการ ฯลฯ ที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงภายใต้ยุคทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ คิดค้นทางออกแผนประเทศไทยใหม่ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมืองเหมือนเช่น ข้อเสนอของคณะราษฎร
 
“ภาระ กิจการต่อสู้เพื่อโค่นล้มระบอบอำมาตยาธิปไตย เป็นภารกิจทางประวัติศาสตร์ ย่อมเป็น การต่อสู้ที่ยืดเยื้อและยาวนาน ต้องมั่นสรุปบทเรียน การจัดตั้งที่เข้มแข็งย่อมนำพาสู่ชัยชนะที่ถาวรในที่สุด ”
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net