Skip to main content
sharethis

ประชาไทขอนำเสนอตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ข้อมูลการค้าระหว่างไทยและกัมพูชา สำหรับการเป็นเครื่องเคียงประกอบในการวิเคราะห์ข่าวสารความขัดแย้งครั้งล่าสุดระหว่างเราและเพื่อนบ้านเก่าแก่ที่คงจะย้ายประเทศหนีกันไปไหนไม่ได้ แม้จะมีความขัดแย้งกันมากมายแค่ไหนก็ตาม

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของกัมพูชา
ในปี 2551 กัมพูชามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ร้อยละ 6.0 (ปี 2550 ร้อยละ 10.2) จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 7 เนื่องจากภัยแล้งและอุทกภัย ส่งผลกระทบต่อผลผลิตด้านการเกษตรซึ่งเป็นรายได้หลักของประชากรร้อยละ 70 ของประเทศ รวมถึงการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอ รองเท้า ที่ลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯและสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของกัมพูชา และการที่สหรัฐฯ ยกเลิกการใช้มาตรการ Safeguard ต่อสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากจีน
IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจ (GDP Growth) ของกัมพูชา ในปี 2552 จะเติบโตร้อยละ - 0.5 และจะขยับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 3.0 ในปี 2553 ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลงเพราะปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก ที่กระทบผู้ลงทุนรายใหญ่ในกัมพูชา คือ เกาหลีและจีน ทำให้หลายโครงการชะลอตัวและบางโครงการถอนการลงทุน
ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาส่งผลให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง ประกอบกับภาครัฐได้เข้มงวดต่อการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน แม้ว่าราคาวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก จะลดลงอย่างมาก ก็ไม่จูงใจให้มีการก่อสร้าง ตลาดหลักทรัพย์ที่คาดว่า จะเปิดตัวครั้งแรกในปี 2552 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนได้ชะลอโครงการโดยไม่มีกำหนดตามสภาวะของตลาดหลักทรัพย์โลกที่มีการอ่อนตัวลงตามวิกฤติเศรษฐกิจโลก
รายได้ต่อหัวของประชากร ในปี 2551 เฉลี่ย 598 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคน เพิ่มร้อยละ 7.17 จากปี 2550 ซึ่งเฉลี่ย 558 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคน
อัตราเงินเฟ้อ ในปี 2551 ร้อยละ 22.7 โดยราคาข้าวเพิ่มร้อยละ 82 ขณะที่สินค้าบริโภค/อุปโภคขั้นพื้นฐานเพิ่มระหว่างร้อยละ 40-60 ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2550 - เดือนกรกฎาคม 2551 ราคาสินค้าหมวดอาหารเพิ่มเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นทั่วโลก เช่น ข้าวและเนื้อสัตว์ ประกอบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯและเงินเรียล อ่อนค่าลงขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการขนส่งสูงขึ้นตามไปด้วย
อัตราการว่างงาน โครงสร้างอาชีพหลักของคนกัมพูชา คือ ภาคเกษตรกรรม ประมาณร้อยละ 70 ภาคบริการประมาณ ร้อยละ 17 ภาคอุตสาหกรรมโรงงานประมาณร้อยละ 8 และภาคการก่อสร้างประมาณร้อยละ 5
ผลการสำรวจจำนวนประชากรที่จัดทำในปี 2551 พบว่ามีจำนวนแรงงานที่พร้อมเข้าสู่การจ้างงาน 8.6 ล้านคน หรือร้อยละ 58.8 ของจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ โดยอัตราการว่างงานของกัมพูชาไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นจำนวนเท่าใด เนื่องจากประชากรมากกว่าร้อยละ 70 มีอาชีพทำการเกษตร ซึ่งไม่ได้ทำงานตลอดทั้งปี เป็นการทำงานช่วงระยะที่มีการเพาะปลูกซึ่งอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก และมีการประกอบอาชีพอื่นเสริมเช่นการรับจ้าง การค้าขาย การทอผ้า และการหาของป่า ในเวลาที่ว่างจากการเพาะปลูก
อัตราดอกเบี้ยในปี 2551 เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราดอกเบี้ย เงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 15.9 ต่อปี ส่วนเงินฝากออมทรัพย์ร้อยละ 3.6 และ เงินฝากประจำร้อยละ 3.25-8.00 ต่อปีเงินสกุลเรียล อัตราดอกเบี้ย เงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 22.5 ส่วนเงินฝากออมทรัพย์ร้อยละ 5.1 และ เงินฝากประจำร้อยละ 6.70-9.50
ในด้านภาวะการค้าทั่วไป ในปี 2551 กัมพูชามีมูลค่าการค้ารวม 7.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการนำเข้า 4.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งออก 3.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขาดดุลการค้า 1.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ดุลการค้า ในปี 2551 กัมพูชาขาดดุลการค้ากับต่างประเทศ 1,065.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ปี 2550 กัมพูชาขาดดุลการค้ากับต่างประเทศ 601.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในปี 2549 กัมพูชาขาดดุลกับต่างประเทศ 910.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เห็นว่าในปี 2551 กัมพูชาขาดดุลการค้ากับต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาวะการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอ รองเท้า ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯและสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามรัฐบาลกัมพูชาได้มุ่งเน้นนโยบายการส่งเสริมให้ลงทุนผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและส่งเสริมการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น

สถิติการนำเข้า-ส่งออกของกัมพูชา
         หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
รายการ
มูลค่า
อัตราการขยายตัว (%)
 
2548
2549
2550
2551
2549
2550
2551
1.มูลค่าการค้ารวม
4,565.80
5,465.90
6,853.20
7,777.90
19.70
25.40
13.49
 
2.การส่งออก  
2,081.50
2,279.70
3,126.10
3,356.20
9.50
37.10
7.36
 
3.การนำเข้า  
2,484.30
3,190.20
3,727.10
4,421.70
28.40
16.80
18.64
 
4.ดุลการค้า 
-402.80
-910.50
-601.00
-1,065.50
126.04
-33.99
77.29
 
ที่มา : กรม CAMCONTROL กระทรวงพาณิชย์ กัมพูชา
ประเทศคู่ค้าสำคัญของกัมพูชา
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่กัมพูชาส่งออกมากที่สุด โดยมีมูลค่าการค้ารวม 2,176.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการส่งออก 2,040.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้า 136.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนเวียดนามเป็นประเทศที่กัมพูชานำเข้ามากที่สุด โดยมีมูลค่าการค้ารวม 1,072.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการนำเข้า 988.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งออก 84.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถแซงจีน ซึ่งเคยเป็นประเทศที่กัมพูชานำเข้ามากที่สุด โดยมีมูลค่าการค้ารวม 794.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการนำเข้า 784.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งออก 9.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 3 โดยมีมูลค่าการค้ารวม 688.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการนำเข้า 674.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งออก 13.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ สินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ยางพารา ข้าว ผลิตภัณฑ์ปลา ข้าวโพด ถั่วเหลือง ใบยาสูบและ ผลิตภัณฑ์ไม้ สินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และ สิ่งทอ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่สหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ฮ่องกง แคนาดา และ สิงคโปร์
สินค้านำเข้าที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป อาหารและเครื่องดื่ม ผ้าผืน รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปูนซีเมนต์ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว น้ำตาลทราย และ ผลิตภัณฑ์ยาง
แหล่งสินค้านำเข้าที่สำคัญ เวียดนาม จีน ไทย ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อังกฤษ มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

สถิติมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกของกัมพูชา ปี 2551 (เรียงตามลำดับมูลค่าการนำเข้า)
 
หน่วย : ดอลลาร์สหรัฐฯ
ลำดับ
ประเทศ
การส่งออก
การนำเข้า
การค้ารวม
1
Vietnam
84,525,529
988,340,100
1,072,865,629
2
China
9,812,629
784,344,714
794,157,343
3
Thailand
13,923,689
674,485,950
688,409,639
4
Hong Kong 
8,942,046
581,212,018
590,154,064
5
Taiwan
5,472,855
336,867,309
342,340,164
6
South Korea 
10,245,901
224,787,752
235,033,653
7
Singapore
9,212,616
204,894,756
214,107,372
8
United States
2,040,595,814
135,983,520
2,176,579,334
9
Malaysia
6,150,519
113,056,709
119,207,228
10
Indonesia
5,907,266
80,721,155
86,628,421
 ที่มา : กรม CAMCONTROL , กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา
การค้าการลงทุนระหว่างไทย-กัมพูชา
จากสถิติของกรมศุลกากรไทย การค้าระหว่างไทยกับกัมพูชา ในปี 2551 มีมูลค่าการค้ารวม 2,130.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากระยะเดียวกันของปี 2550 ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวม 1,404.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 725.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.70 แยกเป็นการส่งออก มูลค่า 2,040.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 50.52 และนำเข้ามูลค่า 89.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 84.5 ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังมีการชะลอตัวเนื่องจากปัญหาข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร และการชะลอตัวของเศรษฐกิจกัมพูชาตามวิกฤติการเงินโลก และอัตราเงินเฟ้อที่สูงถึงร้อยละ 22.7

ข้อมูลการค้าระหว่างไทยกับกัมพูชา
   หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 
 
มูลค่า
อัตราการขยายตัว (%)
รายการ
2549
2550
2551
2549
2550
2551
มูลค่าการค้า
1,270.13
1,404.13
2,130.04
33.47
10.55
51.70
การส่งออก
1,235.47
1,355.38
2,040.08
34.26
9.71
50.52
การนำเข้า  
34.68
48.76
89.97
10.37
40.66
84.52
ดุลการค้า
1,200.80
1,306.62
 1,950.11      
-
-
-
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
 

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทยไปกัมพูชา
หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 
รายการ
มูลค่า
อัตราการขยายตัว %
 
2549
2550
2551
2549
2550
2551
น้ำมันสำเร็จรูป  
144.70
215.20
404.90
11.82
48.72
88.15
เหล็ก เหล็กกล้าฯ  
42.50
42.80
123.10
33.65
0.71
187.62
รถจักรยานยนต์ฯ  
64.40
82.20
116.70
70.82
27.64
41.97
น้ำตาลทราย  
88.40
61.00
100.00
37.69
-31.00
63.93
รถยนต์ และอุปกรณ์  
40.20
49.90
98.40
55.81
24.13
97.19
เครื่องดื่ม
69.20
74.10
93.10
31.81
7.08
25.64
ปูนซีเมนต์
72.00
86.20
90.70
24.78
19.72
5.22
เคมีภัณฑ์
51.10
54.50
78.50
17.20
6.65
44.04
เครื่องยนต์สันดาปภายใน 
29.70
46.40
72.70
36.87
56.23
56.68
ผลิตภัณฑ์ยาง  
32.00
42.10
56.60
19.85
31.56
34.44
อื่นๆ
601.30
601.00
805.40
40.13
-0.05
34.01
รวมทั้งสิ้น  
1,235.40
1,355.40
2,040.10
34.26
9.70
50.52
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
 

สินค้านำเข้า 10 อันดับแรกของไทยจากกัมพูชา
หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 
รายการ
มูลค่า
อัตราการขยายตัว %
 
2549
2550
2551
2549
2550
2551
พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช  
7.6
15.1
39.3
-15.56
98.68
160.26
สินแร่โลหะอื่นๆ  
5.0
5.5
16.8
733.33
10.00
205.45
เหล็กเหล็กกล้า  
7.2
9.6
15.1
67.44
33.33
57.29
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ
1.6
2.5
4.0
166.67
56.25
60.00
ผัก ผลไม้  
0.1
1.0
3.6
-
900.00
260.00
ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ 
4.8
5.6
2.2
-41.46
16.67
-60.71
เสื้อผ้าสำเร็จรูป 
0.9
1.6
1.9
200.00
77.78
18.75
เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค  
1.7
1.6
1.1
21.43
-6.25
-31.25
กาแฟ ชา เครื่องเทศ  
0.1
0.4
0.8
-
300.00
100.00
สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์  
1.1
0.5
0.8
22.22
-54.55
60.00
อื่นๆ
4.6
5.4
4.4
-22.03
17.39
-18.52
รวมทั้งสิ้น  
34.7
48.8
90.0
10.51
40.63
84.43
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
สำหรับสถิติการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในกัมพูชานั้น พบว่าปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในกัมพูชา 65 โครงการ ได้แก่กิจการประเภทสินค้าอาหาร กิจการโรงพยาบาลและธนาคารเป็นต้น คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 287 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยกลุ่มธุรกิจที่มีชื่อเสียงของไทยที่ไปลงทุนในกัมพูชา มีอาทิเช่น กลุ่มไทยนครพัฒนา หรือทิฟฟี่ ลงทุนจำนวนมากในกัมพูชา เป็นเจ้าของโรงแรมโซฟิเทล อังกอร์ โภคีธารา กอล์ฟแอนด์ สปา รีสอร์ท ที่เมืองเสียมราฐ สนามกอล์ฟโภคีธารา คันทรีคลับ รวมทั้งผู้ผลิตและจำหน่ายยา น้ำดื่มแบรนด์ LYON และธุรกิจสื่อ ในประเทศกัมพูชา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มทุนที่สำคัญๆ ได้แก่ Thai Beverage, กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ, กลุ่มบริษัทน้ำตาลขอนแก่น เป็นต้น
ด้านการค้าชายแดนกับกัมพูชา ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด ในปี 2551 มีมูลค่าการค้ารวม 50,299 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2550 ซึ่งมีมูลค่า 34,930 ล้านบาท ร้อยละ 44.0 โดยไทยเกินดุล 44,445 ล้านบาท สัดส่วนการค้าชายแดนร้อยละ 71.8 ของมูลค่าการค้าระหว่างไทย-กัมพูชา ลดจากปี 2550 ซึ่งมีสัดส่วนการค้าชายแดนร้อยละ 72.2
การลงทุนจากต่างชาติ และการส่งเสริมการลงทุนของกัมพูชา
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา (Cambodian Investment Board : CIB) ได้อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 1,628 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 8,148.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ในปี 2551 CIB อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุน 101 โครงการ เงินลงทุน 259.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับปี 2550 ปรากฎว่าการอนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนลดลง 29 โครงการ หรือลดลงร้อยละ 22.31 ขณะที่เงินลงทุนลดลง 220.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 45.93 โดยเป็นการลดลงในครึ่งปีหลังของปี 2551 ซึ่งมีการจัดการเลือกตั้งในกัมพูชา นักลงทุนจึงรอดูผลการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ รวมถึงผลกระทบจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่สูง และวิกฤติการเงินโลก
โดยโครงการส่งเสริมการลงทุนที่ CIB อนุมัติ ได้แก่
- อุตสาหกรรม Garment 38 โครงการ เงินลงทุน 48.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 37.62 และร้อยละ 18.74 ของโครงการและเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติรวม จากนักลงทุนจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน กัมพูชา สหรัฐอเมริกา แคนาดา สิงคโปร์ ออสเตรเลีย มาเลเซีย และอังกฤษ
- ธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมและยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะสัมปทาน และชายหาด ในเขตกรุงพระสีหนุ (จังหวัดกัมปงโสม) การก่อสร้างโรงแรมและรีสอร์ท ที่พักอาศัย ร้านอาหาร และสนามกอล์ฟ ได้รับการอนุมัติฯ รวม 20 โครงการ เงินลงทุน 101.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 19.80 และร้อยละ 39.02 ของโครงการและเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติรวม จากนักลงทุนกัมพูชา แคนาดา รัสเซีย จีน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ออสเตรีย และอิสราเอล
- อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรได้รับอนุมัติฯ 4 โครงการ เงินลงทุน 24.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 3.96 และร้อยละ 9.23 ของโครงการและเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติรวม โดยนักลงทุนกัมพูชา จีน เวียดนาม และไทย โดยโครงการของไทย คือ การผลิตอ้อยและน้ำตาลของกลุ่มบริษัท Thai Beverage ร่วมกับนักลงทุนกัมพูชา ในสัดส่วน 49 : 51 ซึ่งได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551
- อุตสาหกรรมด้านพลังงานได้รับอนุมัติฯ 4 โครงการ เงินลงทุน 13.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากนักลงทุนกัมพูชา จีน และไทย โดยโครงการของไทย คือ การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ขนาด 10 MW ของกลุ่ม Thai Beverage ร่วมกับนักลงทุนกัมพูชา ในสัดส่วน 49 : 51
- อุตสาหกรรมเหมืองแร่ (Mining) ได้รับอนุมัติฯ 4 โครงการ เป็นการขุดทรายเพื่อการส่งออกของนักลงทุนกัมพูชา เงินลงทุนรวม 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- ธุรกิจบริการได้รับอนุมัติฯ 5 โครงการ แยกเป็นบริการด้านศูนย์การค้า ศูนย์บริการด้านการเงิน และรีสอร์ท 3 โครงการ เงินลงทุน 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของนักลงทุนกัมพูชา จีน เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ อีก 2 โครงการ เป็นการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาล เงินลงทุน 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนกัมพูชา และไทย (กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ ในนามบริษัท Phnom Penh Medical Service จำกัด)
- ธุรกิจโทรคมนาคม ได้รับอนุมัติฯ 2 โครงการ เงินลงทุน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนกัมพูชา เกาหลีใต้ และรัสเซีย
- การเพาะปลูกและผลิต ยางพารา มันสำปะหลัง และมะม่วงหิมพานต์ ได้รับอนุมัติฯ 2 โครงการ เงินลงทุน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนกัมพูชา และเวียดนาม
- อุตสาหกรรมผลิตรองเท้า ได้รับอนุมัติฯ 2 โครงการ เงินลงทุน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนกัมพูชา และไต้หวัน
- ธุรกิจภาคการขนส่ง ได้รับอนุมัติฯ 1 โครงการ เงินลงทุน 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างท่าเรือ โดยเป็นการลงทุนร่วมของบริษัทโรงงานน้ำตาลเกาะกง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทน้ำตาลขอนแก่นของไทย กับนักลงทุนกัมพูชา จีน และญี่ปุ่น ในอัตราส่วนร้อยละ 50 : 20 : 15 : 15
- อุตสาหกรรมผลิตอาหาร (ผลิตอาหารทะเล) อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ วัสดุก่อสร้าง การก่อสร้าง โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิตยารักษาโรค และโรงงานยาสูบ ได้รับอนุมัติฯ อย่างละ 1 โครงการ เงินลงทุนรวม 11.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในปี 2551 ไทยลงทุนในกัมพูชาเป็นอันดับที่ 6 จากจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติ โดยนักลงทุนจากจีนลงทุนในกัมพูชามากที่สุด จำนวน 27 โครงการคิดเป็นร้อยละ 26.73 ของโครงการที่ได้รับอนุมัติ รองลงมา คือ เกาหลีใต้ 16 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 15.84 ของโครงการที่ได้รับอนุมัติ ไต้หวัน 8 โครงการ สหรัฐอเมริกา 5 โครงการ ไทย และ แคนาดาประเทศละ 4 โครงการ
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากยอดเงินลงทุนพบว่า ไทยมีเงินลงทุน 30.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มากเป็นอันดับที่ 2 ของจำนวนเงินลงทุนจากต่างชาติทั้งหมดที่ไปลงทุนในกัมพูชา รองจากจีน ที่มีเงินลงทุน 37.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการลงทุนของไทยที่สำคัญ คือ การก่อสร้างท่าเรือ ธุรกิจโรงพยาบาล อุตสาหกรรมผลิตอ้อยและน้ำตาล และอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า

การลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชา
ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2551
 
ลำดับ
ประเทศ
จำนวนโครงการ
มูลค่าจดทะเบียน (USD)
1
Cambodia
43
99,827,000
2
China
27
37,960,000
3
Korea
16
19,460,000
4
Taiwan
8
9,500,000  
5
United State  
5
12,350,000
6
Thailand
30,673,000
7
Canada
4
4,750,000  
8
Russia
3
4,450,000  
9
Singapore
2
12,000,000
10
Vietnam
2
7,490,000  
ที่มา : Cambodia Investment Board
หมายเหตุ : ลำดับตามจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติ
ศักยภาพของกัมพูชา
กัมพูชามีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงการขนส่งกับต่างประเทศได้สะดวกประกอบกับมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะป่าไม้ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุและสัตว์น้ำ เป็นต้น นอกจากนี้อัตราค่าจ้างแรงงานในกัมพูชายังอยู่ในระดับต่ำ หากมีการนำทรัพยากรดังกล่าวมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่ง
กัมพูชาได้รับความช่วยเหลือด้านต่างๆ จากนานาประเทศ เช่น สถานะการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่งจากสหรัฐอเมริกา และได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรหรือ GSP (Generalized System of Preferences) จากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย แคนาดา และออสเตรเลีย สำหรับสินค้าที่ส่งออกจากกัมพูชา โดยจะได้รับการลดหย่อนอัตราภาษีหรือได้รับการอำนวยความสะดวก โดยการยกเว้นหรือลดระเบียบกฎเกณฑ์ เรื่องพิธีการการนำเข้า เช่น การรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (rules of origin) เป็นต้น
กัมพูชามีความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศในหลายมิติ ทั้งในกรอบ WTO, APEC, ASEAN ซึ่งจะเป็นเรื่องการจัดระบบและระเบียบทางการค้า และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสาธารณสุขในลักษณะเป็นสากล เช่นความร่วมมือภายใต้กรอบ GMS ( Great Mekong Sub-region) และ ความร่วมมือภายใต้กรอบ ACMECS (Ayeyawady – Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy)
รัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญกับการลงทุนในประเทศ ดังจะเห็นได้จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งให้การอำนวยความสะดวกและการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่โครงการที่ได้รับการส่งเสริม ตลอดจนการอนุญาตให้นักลงทุนโอนเงินไปต่างประเทศได้อย่างเสรี ให้การรับประกันที่จะไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ยึดทรัพย์สินของเอกชนเป็นของรัฐ หรือกำหนดราคาสินค้าและบริการสำหรับโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการงทุนฯ
รัฐบาลกัมพูชาได้ลงนามในความตกลงทวิภาคีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนกับรัฐบาลประเทศต่างๆ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เกาหลีใต้ เยอรมนี สิงคโปร์ จีน เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ และคิวบา เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างชาติว่า รัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลของประเทศคู่สัญญาจะสนับสนุนและปกป้องการลงทุนซึ่งกันและกัน
กัมพูชามีแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ เช่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคารโลก (WORLD BANK) ที่ให้การสนับสนุนโครงการเกี่ยวกับสาธารณูปโภคของรัฐบาล และ International Financial Corporation สนับสนุนโครงการของเอกชน
โดยสิทธิพิเศษ ที่ได้รับจากประเทศคู่ค้า ได้แก่
1. สถานะการปฏิบัติเยี่ยงชาติ ที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured Nation Treatment – MFN) จากสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
2. สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรหรือ GSP จากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สแกนดิเนเวีย แคนาดา และออสเตรเลีย
เรียบเรียงจาก:
พาณิชย์หวั่นตัดสัมพันธ์ "เขมร" ค้า 7 หมื่น ล.สะดุด(เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ, 6 พ.ย. 2552)
การค้าไทย-กัมพูชา : อาจได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 6 พ.ย. 2552)
การประกอบธุรกิจในกัมพูชา (www.depthai.go.th 5 พ.ย. 2552)
สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - กัมพูชา ปี 2552 (ม.ค.–มิ.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก
(www.depthai.go.th 6 ส.ค. 2552)
บีโอไอนำทัพนักธุรกิจไทยขยายการลงทุนในกัมพูชา(พิมพ์ไทย, 17 ก.ค. 2552)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net