Skip to main content
sharethis

ฑิฆัมพร กองสอน ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลบัวใหญ่ อ.นาน้อย จ.น่าน และอรศรี สานารี แรงงาน กรรมการสหภาพแรงงานเคมีภัณฑ์ ในซีรี่ส์สั้นๆ "NGO เป็นไงในขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน" กิจกรรมตีปี๊บ "เวทีทบทวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย" โดยกลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย

 
 
ตอนที่ 33 ฑิฆัมพร กองสอน ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลบัวใหญ่ อ.นาน้อย จ.น่าน
 
 
"ภาคประชาชน ก็คือคนที่อยู่ในฐานรากจริงๆ ที่ประกอบอาชีพ ไม่ว่าทำไร่ทำนา เกษตรกรรม เกษตรกรทั่วประเทศ แล้วก็คนที่อยู่ในภาคธุรกิจที่ประกอบอาชีพเป็นส่วนตัวของตนเอง ไม่ขึ้นตรงต่อหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง"
 
"จังหวัดน่านภาคเอ็นจีโอกับภาคประชาชนแทบจะแยกกัน เพราะจังหวัดน่าน... ยอมรับว่าด้วยบริบทหรือด้วยความเป็นคนน่าน ถึงแม้เขาจะทำงานเป็นภาคเอ็นจีโอ แล้วที่นี้เราเป็นชาวบ้าน แต่การทำงานพื้นที่ของชาวบ้าน ชาวบ้านลุกขึ้นมาจัดการเอง แต่ภาคเอ็นจีโอของในระดับจังหวัดเขาก็จะมาเกาะเกี่ยวเอาพื้นที่ที่ภาคประชาชนลุกขึ้นมาทำงานเข้าไป" 
 
"ความต่างระหว่างเอ็นจีโอกับชาวบ้านแทบแยกกันไม่ออก เพราะว่าเอ็นจีโอที่มีในจังหวัดจริงๆ ทำงานกับชาวบ้านจริงๆ" 
 
"แต่ถ้าเรามองอีกระดับหนึ่งซึ่งที่ได้มีโอกาสเดินทางไปสัมผัส หรือไปประชุมประชาฯ แล้วไปดูกระบวนการของหลายๆ ที่... เอ็นจีโออีกระหนึ่ง มันจะเป็นลักษณะว่าใช้ตัวชาวบ้านเป็นฐาน แต่ว่าไม่ลงไป แล้วแต่ว่า... โครงการอะไรก็แล้วแต่ จะลอยๆ อยู่ข้างบน ใช้พื้นที่ของชาวบ้านเป็นฐานทำงานแต่ว่า ยอมรับว่ากระบวนการหรืองบประมาณบางเรื่องไม่ลงถีงตัวชาวบ้านเลย ตัวเองไปจัดการทั้งหมดเพื่อที่จะได้ผลงานขึ้นมา"   
 
"จริงๆ แล้วถามว่าเอ็นจีโอมีความดีไหม มีความดี มีความสามารถ คือมีความรู้ ความสามารถ ความดีอยู่ใน ถ้าเอ็นจีโอละบทบาทในเรื่องของว่าจะเอางานของชาวบ้านขึ้นมาเป็นงานของตนเอง แต่กลับไปช่วยพัฒนาในระดับหมู่บ้าน ระดับพื้นที่ ระดับคนจริงๆ โดยเอาตัวเองไปหาพี่น้องชาวบ้าน พร้อมกับยอมรับว่า พร้อมกับนำ หางบประมาณ หรือผลประโยชน์บางอย่างเอาไปให้ชาวบ้านจัดการเอง แต่ตนเองเป็นพี่เลี้ยง และเป็นที่ปรึกษาที่จะคอยให้คำแนะนำกับชาวบ้าน"
 
"เอ็นจีโอเขารู้ ไม่ว่าจะข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง หลักคิดต่างๆ ยอมรับว่าเอ็นจีนี่เยี่ยม เพราะฉะนั้นอยากได้ความรู้ ความสามารถของเอ็นจีโอเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงของชาวบ้าน มากกว่าที่จะไปจัดการพื้นที่ ไปจัดการชาวบ้าน" 
 
 
ตอนที่ 34 อรศรี สานารี แรงงาน กรรมการสหภาพแรงงานเคมีภัณฑ์
 
 
"เอ็นจีโอพี่ก็จะรู้จักมาในสหภาพแรงงาน เขาก็จะมาช่วยทีมในเรื่องสหภาพแรงงานหรือในอะไร แล้วทีนี้ ในทุกวันนี้เหมือนว่าเอ็นจีโอจะเป็นไปไม่ได้"
 
บทบาทของเอ็นจีโอในอนาคต "ก็ควรจะเป็นเหมือนอดีตที่เคยผ่านมา คือเขาต้องแบบว่าทำให้รู้ แล้วก็ช่วยภาคประชาชนเยอะ หมายถึงว่าในอดีตที่พี่เคยรู้จักกับเอ็นจีโอ เขาช่วยหนุนนำพวกแรงงานเหมือนพวกพี่ แล้วต่อไปภาคประชาชนจะต้องจบออกมาเยอะๆ แล้วก็จะต้องมาใช้แรงงานกันเยอะ แล้วทุกวันนี้แรงงานเองแม้แต่เรื่องแรงงาน แล้วก็ผู้ใช้แรงงานในรุ่นต่อไปก็มี เช่นอย่างที่พี่ทำในเรื่องสหภาพแรงงาน อย่างสมมุติบริษัท... ที่รับคนวุฒิน้อย แล้วงานเขาจะเป็นงานที่ยาก ทอด้าย พันด้าย ทุกวันนี้เขาก็ไม่มีคนที่จะทำงานแล้ว เพราะว่าคนรุ่นเก่าๆ ของเขาก็จะเกษียรออกไป แต่ว่าคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบออกมาเยอะๆ เขาก็จะไปเข้าในกระบวนการอิเล็กทรอนิกส์ ไปอยู่ในช่วงแรงงานเหมาค่าแรง เป็นซับซับคอนแทรก จะตีไปเรื่อยๆ คือไม่มีความมั่นคงให้กับคนงาน เพราะว่าเอ็นจีโอไม่มีโอกาสเข้ามาช่วยในส่วนนี้"   
 
 
 
.....................................................
หมายเหตุ: กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย (Thai Social Movement Watch: TSMW) เป็นการรวมตัวกันของนักกิจกรรมทางสังคม นักพัฒนา อดีตนักพัฒนา นักศึกษา และนักวิชาการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง สนใจ และห่วงใยในสภาวการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยภายใต้สถานการณ์ความ ขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
 
สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net