Skip to main content
sharethis

ทีมนักวิจัย ชื่นชมคณะกรรมการสิทธิบัตร มีแนวทางชัดเจนไม่ให้สิทธิบัตรการใช้ ระบุ อาจเป็นคำขอสิทธิบัตรไม่มีวันตาย evergreening ที่มากที่สุดในขณะนี้

15 ก.พ.54 นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล ทีมวิจัย สิทธิบัตรยาที่จัดเป็น evergreening patent ในประเทศไทย และการคาดประมาณผลกระทบที่เกิดขึ้นเปิด เผยว่า ที่ผ่านมาปัญหาสิทธิบัตรที่ไม่มีคุณภาพเป็นที่ตระหนักมากขึ้นว่า เป็นภาระงบประมาณประเทศและขัดขวางการเข้าถึงยาของประชาชน หลายฝ่ายจึงได้ร่วมมือกันพัฒนาหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้สิทธิบัตรยาในประเทศ ไทย เพื่อแก้ปัญหาการขอสิทธิบัตรที่มีลักษณะ Evergreening
จากการสำรวจเบื้องต้น ทีมวิจัยพบว่า คำขอสิทธิบัตรในระยะหลังๆมีคำขอจำนวนมาก ที่เป็นการใช้ผลิตภัณฑ์, กรรมวิธี หรือการใช้สารประกอบเพื่อผลิตเป็นยารักษาโรค (Use Claim) เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรา 9 (4) ใน พรบ.สิทธิบัตรของไทย ที่จะไม่ให้สิทธิบัตรแก่วิธีการบำบัดรักษา (Method of Treating) ซึ่งผลการวิจัยในเฟสที่ 2 ที่จะสำรวจกับคำขอสิทธิบัตรในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจะให้ภาพนี้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า หากคำขอเหล่านี้ได้รับสิทธิบัตรไปจะเป็นเกิดผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และผล กระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยอย่างไรบ้าง
อย่าง ไรก็ตาม ทางทีมวิจัยต้องขอชื่นชม คณะกรรมการสิทธิบัตรที่มีนายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานที่ได้มีคำวินิจฉัยเมื่อต้นปี 2553 อย่างชัดเจนว่า การที่เนื้อหาของข้อถือสิทธิมีความเกี่ยวข้องกับการบำบัดหรือรักษาอาการเจ็บ ป่วย ถือเป็นการขอในวิธีการบำบัดรักษา มิใช่เป็นการขอถือสิทธิในเภสัชภัณฑ์ที่เตรียมขึ้นจากสารประกอบที่มีฤทธิ์ใน การบำบัดรักษาสองชนิดร่วมกัน จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 9 (4) ทำ ให้ผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับยาของกรมทรัพย์สินทางปัญญาสามารถนำไป เป็นถือเป็นแนวทางปฏิบัติสำคัญได้ ทางทีมวิจัยเชื่อว่า จะลดผลกระทบการเข้าไม่ถึงยาจากการสิทธิบัตรที่ไม่มีคุณภาพไปได้มากหัวหน้าโครงการวิจัยกล่าว
โครงการวิจัย สิทธิบัตรยาที่จัดเป็น evergreening patent ในประเทศไทย และการคาดประมาณผลกระทบที่เกิดขึ้นได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดย Evergreening เป็น คำนิยมใช้ในการอธิบายกลยุทธ์ของการจดสิทธิบัตรที่มีเจตนาในการขยายระยะเวลา ผูกขาดสิทธิบัตรของยาชนิดเดิม เช่น โดยการอ้างข้อถือสิทธิใหม่ของยาเดิมว่าสมควรได้รับสิทธิบัตรใหม่เนื่องจากมี ขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ผู้ครอบครองสิทธิบัตรของยาเดิม ขยายระยะเวลาผูกขาดและกีดกันยาชื่อสามัญไม่ให้เข้าสู่ตลาด
นี่ เป็นโครงการแรกที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ทีมวิจัยจากแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) และผู้เชี่ยวชาญด้านเคมี-เภสัช ได้ทำงานร่วมกันพัฒนาหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้สิทธิบัตรยาในประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาการขอสิทธิบัตรที่มีลักษณะ Evergreening
ถ้า เราสามารถพัฒนาระบบการออกสิทธิบัตรให้มีคุณภาพได้อย่างเร่งด่วน ก็จะสามารถป้องกันปัญหาการผูกขาดตลาดยาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าใช้จ่าย ด้านสุขภาพของภาครัฐและประชาชน รวมถึงการเข้าถึงยาของประชาชนด้วยผศ.ดร.นุศราพร เกษสมบูรณ์ ทีมวิจัยกล่าว
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา ทีมวิจัยและคณะผู้เชี่ยวชาญได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายต่อคู่มือใน การตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรทางยาสำหรับประเทศไทย
จาก นี้ ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะได้นำคู่มือดังกล่าวไปทดสอบ พร้อมๆกับที่ทีมวิจัยจะใช้คู่มือดังกล่าวไปประเมินคำขอสิทธิบัตรที่ยื่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2553 เพื่อคาดประมาณผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการให้สิทธิบัตรในรูปแบบ evengreening patent ทั้ง ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาพรวมการบริโภคยาและ ตลาดยาของประเทศและผลกระทบต่อการเข้าถึงยาและคุณภาพชีวิตซึ่งเป็นผลกระทบที่ เกิดขึ้นต่อผู้ป่วยโดยตรง"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net