Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 54นักกิจกรรมรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศสวมชุดกันหนาว ชุดกันฝน และชุดชายหาดเพื่อแสดงถึงความโกลาหลของสภาพภูมิอากาศที่กำลังสร้างผลกระทบอันรุนแรงไปทั่วทั้งภูมิภาคในขณะนี้ ได้พบปะกับนางคริสเตียน่า ฟิกูเอเรส เลขาธิการบริหารของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริเวณประตูทางเข้าของศูนย์การประชุมสหประชาชาติที่กรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องให้เกิดข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศที่มุ่งมั่นจากรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก ในนามของประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความล่อแหลมมากที่สุดและมีการรับมือน้อยที่สุดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กิจกรรมนี้จัดขึ้นโดยแนวร่วมแห่งอาเซียนเพื่อข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นธรรม มุ่งมั่นและมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย หรือ A-FAB ซึ่งประกอบด้วยกรีนพีซ อ็อกซ์แฟม และ WWF ที่เรียกร้องให้ผู้นำประเทศในอาเซียนมีบทบาทเชิงรุกมากขึ้นในการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรอบล่าสุดที่เริ่มขึ้นที่กรุงเทพฯ “เราต้องการส่งสาส์นถึงผู้นำประเทศ โดยเฉพาะผู้แทนจากประเทศในกลุ่มอาเซียน ว่าข้อตกลงที่เป็นธรรม มุ่งมั่นและมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายเป็นสิ่งจำเป็นต่อความอยู่รอดของประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในสัปดาห์นี้ รัฐบาลจะสานต่อข้อสรุปร่วมกันที่ได้จากการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แคนคูนเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และจะหารือเกี่ยวกับการปรับตัว การจัดสรรเงินทุนด้านสภาพภูมิอากาศ การบรรเทารวมถึงการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และเพื่อผลประโยชน์ของภูมิภาค จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่อาเซียนควรมีจุดยืนร่วมที่เข้มแข็งและเป็นหนึ่งเดียวเพื่อยกระดับการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เร่งรัดและจริงจังมากขึ้น” เซลดา โซริยาโน ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา อากาศในฤดูร้อนของประเทศไทยกลับมีอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ อุทกภัยและดินถล่มในภาคใต้เมื่อสัปดาห์ก่อนได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนกว่าสองล้านคน ช่วงเดือนเดียวกันนี้ได้เกิดภัยพิบัติเช่นเดียวกันในทางตอนกลางและตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประชาชนนับหมื่นคน ในประเทศอินโดนีเซีย ปัญหาอุทกภัยยังส่งผลให้ประชาชนหลายพันคนต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน ระหว่างการประชุมอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กรุงเทพฯเมื่อปี 2552 ประเทศฟิลิปปินส์ก็ประสบกับพายุไต้ฝุ่น ทำให้ร้อยละ 80 ของกรุงมะนิลาต้องจมอยู่ใต้น้ำและคร่าชีวิตผู้คนกว่าหนึ่งพันคน “โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ใช่เป็นการอภิปรายแต่เป็นความจริงที่โหดร้าย ภูมิภาคนี้ต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วม ดินถล่มไปจนถึงความแห้งแล้งอยู่บ่อยครั้ง ความจริงแล้วการประชุมที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มักได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สุดขั้ว และมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ผู้แทนอาเซียนจะต้องรับประกันด้วยว่าจะต้องมีการให้การสนับสนุนด้านทรัพยากรทั้งหลายที่จำเป็นต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพราะนี่เป็นเรื่องเร่งด่วน และต้องเรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด” ชาลิมาร์ ไวทัน ผู้ประสานงานด้านนโยบายและงานรณรงค์เอเชียตะวันออก จากอ็อกซ์แฟม กล่าว “A-FAB ได้ยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายต่ออาเซียนระหว่างการประชุมที่กรุงเทพฯ หนึ่งในข้อเสนอต่างๆ คือการรับประกันว่าคณะกรรมการกองทุนเพื่อการปรับตัวที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ (Adaptation Committee) นั้นจะต้องประกอบด้วยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเป็นหลัก ส่วนการจัดทำนโยบายการปรับตัวในระดับประเทศนั้นต้องเป็นไปตามแนวทางของแต่ละประเทศและพิจารณาถึงความสัมพันธ์และเพศวิถี และในการจัดทำนโยบายจะต้องเชื่อมโยงกลไกการสนับสนุนทางการเงินอีกด้วย อาเซียนจะต้องรับประกันด้วยว่าการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะได้รับการสนับสนุนทางทรัพยากรจากกองทุนกู้สภาพภูมิอากาศ (Green Climate Fund) ที่ตั้งขึ้นที่แคนคูน ให้มากที่สุด เพราะว่าคนยากจนส่วนใหญ่คือคนที่ต้องการสิ่งนี้อย่างเร่งด่วน\ ซันดีฟ จามริงไร จากกองทุนสัตว์ป่าโลกหรือ WWF กล่าว A-FAB ยังเรียกร้องให้อาเซียนผลักดันในเรื่องเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกโดยที่การปล่อยก๊าซจะเพิ่มสูงสุดในปี 2558 และลดลงหลังจากนั้น และเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 40 ภายในปี 2563 และจะต้องลดลงอย่างน้อยร้อยละ 95 ภายในปี 2593 ให้ได้ต่ำกว่าระดับในช่วงปีฐาน 2533 ภารกิจอีกประการหนึ่งคือการตัดสินใจหาเครื่องมือหรือกลไกตรวจสอบระดับก๊าซที่ลดได้แม่นยำและเหมาะสมที่สุด โดยต้องแสดงผลที่วัดได้ รายงานได้ และตรวจสอบได้ เพื่อใช้ยืนยันการลดก๊าซ A-FAB หรือแนวร่วมแห่งอาเซียนเพื่อข้อตกลงที่เป็นธรรม มุ่งมั่นและมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย (Asean for a Fair

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net