Skip to main content
sharethis

ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยเสนอ 5 ข้อเสนอแลกค่าจ้าง 300 บาท ให้ปรับปรุงกฎหมายความหมายของ \นายจ้าง\" การระบุให้ \"ค่าจ้างขั้นต่ำ\" คือเงินที่ได้รายวันรวมถึงเงินได้อื่นๆ เช่น ค่าล่วงเวลา ค่ากะ ค่าครองชีพ และต้องกำหนดว่าจะไม่ปรับค่าจ้างขึ้นอีกเป็นเวลา 3 ปี ด้านนายจ้างกลุ่มไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ ขอรวมค่าสวัสดิการกับค่าจ้าง 300 บ. เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 54 ที่ผ่านมาสำนักข่าวไทยรายงานว่า นางศิริวรรณ ร่วมฉัตรทอง ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาชิกได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยได้ข้อสรุป 5 ประเด็น พร้อมกับนำเสนอต่อ นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อให้เสนอต่อรัฐบาลให้นำไปพิจารณาในการหาทางออกเกี่ยวกับนโยบายปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อไป โดยข้อเสนอ 5 แนวทาง คือ 1. ให้รัฐบาลจัดวาระเร่งด่วนในการปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับค่าจ้าง เช่น ความหมายของนายจ้าง การระบุให้ค่าจ้างขั้นต่ำ คือเงินที่ได้รายวันรวมถึงเงินได้อื่นๆ เช่น ค่าล่วงเวลา ค่ากะ ค่าครองชีพ และต้องกำหนดว่าจะไม่ปรับค่าจ้างขึ้นอีกเป็นเวลา 3 ปี พร้อมเสนอให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำออกเป็น 2 ระดับ โดยแรงงานเข้าใหม่ แรงงานอายุ 15-18 ปี ตลอดจนแรงงานต่างด้าวซึ่งเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ให้รับค่าจ้างในอัตราร้อยละ 75 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเวลา 6 เดือน พร้อมกับให้นำระบบค่าจ้างรายชั่วโมง (Hourly wage) มาใช้ 2. ให้รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายแทนนายจ้างและลูกจ้าง โดยการลด หรืองด การเก็บเงินสมทบประกันสังคมเป็นเวลา 1 ปี 3.ใช้มาตรการด้านภาษี และส่งเสริมการลงทุน เช่น ให้ เอสเอ็มอี บันทึกค่าจ้างพนักงานได้เป็น 3 เท่า ของที่จ่าย เป็นเวลา 3 ปี ขอให้ยกเว้นการเก็บภาษีนิติบุคคล 3 ล้านบาทแรก ให้กับ เอสเอ็มอีขอให้ขยายสิทธิประโยชน์ของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเดิมออกไปอีก 3 ปี รวมทั้งขอให้ขยายเวลายื่นโครงการตามประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ฉบับที่1/2553 เรื่องนโยบายส่งเสริมการลงทุนแก่เอสเอ็มอี จากเดิมที่จะหมดเขตใน 31 ธ.ค.2554 ให้ขยายออกไปเป็น 31 ธ.ค.2556 และขอให้ขยายวงเงินการซื้อเครื่องจักรเก่าต่อเครื่องจักรใหม่จาก 10 ล้านบาท เป็น 20 ล้านบาท 4. ขอให้รัฐบาลหาแหล่งเงินกู้และการสนับสนุนทางการเงิน โดยให้มีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ เอสเอ็มอี 5.ข้อเสนอแนะด้านอื่น ๆ เช่น การปรับค่าจ้างควรเป็นไปตามพื้นที่ จนกว่ารัฐจะจัดระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานได้เท่าเทียมกันทั้งประเทศ ลดข้อจำกัดของกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนในเทคโนโลยี รวมทั้งการจัดทำแผนระยะยาวระดับประเทศให้เป็นรูปธรรม การลดกฎระเบียบให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้แรงงานต่างด้าว การคัดเลือกคณะกรรมการค่าจ้างตามหลักความสามารถ หรือประสบการณ์จริง ทั้งนี้ ขอให้รัฐบาลประกาศมาตรการการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ให้มีความชัดเจนแก่ภาคเอกชน เช่น การลดภาษี หรือการส่งเสริมการลงทุนภายในเดือน ต.ค.2554 นี้ เพื่อให้ภาคเอกชนมีแนวทางการทำงานที่ชัดเจน รวมทั้งสามารถวางแผนงานในปีถัดไป นายจ้างกลุ่มไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ ขอรวมค่าสวัสดิการกับค่าจ้าง 300 บ. ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานเมื่อวันที่ 27 ก.ย. ที่กระทรวงแรงงาน (รง.) กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เข้าร่วมหารือกับ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับแนวทางปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยจะมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ภายในวันที่ 1 ม.ค.2555 และปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ภายในวันที่ 1 ม.ค.2556 นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ นายกสมาคมสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า สมาคมมี 47 บริษัท จากการที่ได้ประชุมสมาคมไม่ขัดข้องเรื่องนโยบาย แต่เรามองความเป็นอยู่เรื่องรายได้มากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ อยากให้มองรวมถึงรายได้คงที่ที่เป็นตัวเงินที่ได้รับ เช่น ค่าครองชีพ ค่าเดินทาง ค่ากะกลางวัน-กลางคืน ค่าอาหาร และอื่นๆ อยู่บนพื้นฐานการทำงาน 8 ชม.ไม่รวมเบี้ยขยัน โอที ค่าทักษะทำงานยาก ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 30-60 บาทต่อวัน แล้วแต่บริษัท หรือตกประมาณไม่เกิน 1

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net