Skip to main content
sharethis

ชูเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจเมือง เผยการเคลื่อนไหวผลักดันท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เตรียมล่าชื่อเสนอกฎหมาย หวังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทั้งเข้าเป็น \พื้นที่กลาง\" การสร้างความยุติธรรมในสิทธิการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ กำลังเคลื่อนไหวเพื่อผลักดัน “ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ” ที่อยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ได้พัฒนาความรู้ จนมี (ร่าง) รายงานผลการศึกษาการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้รัฐธรรมนูญไทย: ความพยายามในการแสวงหาแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนจากมุมมองของคนพื้นที่ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงแก้ไขผ่านการรับฟังความเห็นในเชิงลึก แนวคิดเบื้องหลังการจัดงาน \"วันสื่อทางเลือกชายแดนใต้\" ปี 2555 ในวันที่ 12-13 มีนาคม 55 นับเป็นครั้งที่สองแล้ว กับความมุ่งมั่งจะสร้างพื้นที่สาธารณะเพื่อเชื่อมงานระหว่างเครือข่ายสื่อภาคประชาสังคม อันประกอบไปด้วยเครือข่าย/ภาคี 3 กลุ่มใหญ่ คือ (1) ภาควิชาการ: คณะวิทยาการสื่อสาร ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา สถาบันพระปกเกล้าฯ (2) ภาคประชาสังคม: มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคม อาสาสมัครสันติอาสาสักขีพยาน เครือข่ายประมงพื้นบ้าน เครือข่ายเยียวยา เครือข่ายประชาชนเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ฯ และ (3) สื่อสาธารณะ: สื่อใหม่ อาทิ Peace Media group สำนักข่าวอามาน สำนักข่าวบุหงารายา นิวส์ เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาเพื่อพิทักษ์เยาวชน (คพช.- Insouth) สื่อวิทยุ: วิทยุท้องถิ่น ร่วมด้วยช่วยกัน วิทยุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เครือข่ายวิทยุชุมชนปัตตานี ยะลา นราธิวาส และเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคภาษามลายู เครือข่ายช่างภาพชายแดนใต้ฯ การผลักดันให้เกิด \"วัน 'สื่อ' ทางเลือก\" ถือเป็นสัญลักษณ์ของ 2 นัยยะ โดยนัยยะแรก เป็นการแสดงออกซึ่งการทำงานร่วมกันของเครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมที่มีเป้าหมายสร้างพลังการต่อรองกับผู้ใช้ความรุนแรงทุกฝ่าย และนัยยะที่สอง เป็นการรวมตัวกันของสื่อทางเลือก สื่อชุมชน และสื่อท้องถิ่นชายแดนใต้ และภาคประชาสังคมที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวประเด็นทางสังคม ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กระบวนการสื่อสารสาธารณะจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อทุกฝ่าย ทั้งสองนัยยะนี้มีเป้าประสงค์เพื่อเปลี่ยน และกำหนด \"วาระการสื่อสารใหม่\" ที่ปฏิเสธความรุนแรงทุกมิติและจากทุกฝ่ายที่ใช้ ถือเป็นอำนาจไม่เป็นธรรมในการกำหนดชะตากรรมของผู้คน ชุมชน และสังคมทั้งหมด ยังคาดหวังให้ \"วัน 'สื่อ' ทางเลือก\" นี้ ถูกจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้เป็นวันที่กลับมาทบทวนเป้าหมายการทำงาน เติมความรู้ และกลายเป็นพื้นที่หล่อหลอม สร้างแรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่เสริมเข้ามาในกระบวนการเคลื่อนไหวสังคมชายแดนใต้อย่างสม่ำเสมอด้วย ทั้งนี้ นับหนึ่งปีแรกจากวันที่ 13 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา และพัฒนาความเป็นไปได้อย่างมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่สัมพันธ์กัน เปิดงานวันแรก มีการเชิญ \"แหล่งข่าว\" ภาครัฐและทหารมาร่วมงาน ได้แก่ นายภาณุ อุทัยรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการศูนย์อำนวยการการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 หน่วยเฉพาะกิจยะลา นราธิวาส ฯ เพื่อแนะนำ เปิดตัวสื่อทางเลือก/สื่อชุมชน และ \"โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้\" ที่เคลื่อนไหวในจังหวัดชายแดนใต้ให้มี \"ที่ยืน\" และ \"ปรากฏตัวตน\" ชัดเจนในการทำงานมากขึ้น Mr.Froilan O. Gallardo นักเขียนและช่างภาพข่าว หนึ่งใน 20 คนของทีมก่อตั้งสำนักข่าวมินดา นิวส์ จากฟิลิปปินส์ ถูกเชิญมาเล่าถึงบทเรียนของการสร้างพื้นที่ข่าวทางเลือกในเกาะมินดาเนา ซึ่งเป็นพื้นที่ขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางกับชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ “สิ่งที่สื่อทางเลือกอย่างมินดา นิวส์ ทำก็คือรายงานข่าวเชิงลึกเพื่อสะท้อนภาพโศกนาฏกรรมของมนุษย์ในพื้นที่แห่งนี้ต่อโลก และจับประเด็นข่าวที่ไม่ได้รับความสนใจให้ความสำคัญจากสื่อส่วนกลาง เช่น สภาพของผู้คนในค่ายอพยพ สถานภาพของผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ เป็นต้น” “ที่สำคัญ คือการนำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมาโดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ก่อความรุนแรง กลุ่มติดอาวุธ ไม่ว่าผลของข่าวสารที่ทำไปนั้นจะเป็นผลดีหรือผลร้ายต่อฝ่ายใด นอกจากนี้ บทบาทของมินดา นิวส์ ยังสนับสนุนการสร้างนักข่าวจากชุมชนรากหญ้าอีกด้วย\" ส่วนนายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการสำนักข่าวประชาไท ที่ใช้ new media ในการตั้งคำถามกับความไม่เป็นธรรมในการชุมนุมทางการเมืองและเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนผ่านสื่อทุกช่องทาง หลังการรัฐประหาร ปี 2549 พร้อมให้กำลังใจ “สำหรับผู้ที่มีธงในการเคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และมาใช้สื่อใหม่เป็นช่องทางในการสื่อสาร ยอมรับว่าเสรีภาพในการสื่อสารนี้อาจเป็นการบั่นทอนแนวทางของตัวเองได้ แน่นอนว่าสื่อทางเลือกอาจไม่ได้อยู่ภายใต้การชี้นำเสมอไป แต่หากมวลชนที่ต้องการจะสื่อสารเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญจริง การสื่อสารเหล่านี้จะขัดเกลากระบวนการทางอุดมการณ์ให้แหลมคมขึ้น และจะไม่มีฝ่ายใดจะสามารถแอบอ้างไปใช้ประโยชน์ได้แต่ฝ่ายเดียว เนื่องจากธรรมชาติของกระบวนการเหล่านี้เป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมือง\" และย้ำว่า \"การทำงานของสื่อใหม่ยังโดดเด่นผ่านการทำงานผ่านเครือข่ายและการทำงานข้ามเครือข่าย ทำให้สื่อใหม่ใกล้ชิดกับมวลชนหรือผู้บริโภคมากกว่าสื่อกระแสหลักซึ่งเป็นจุดแข็งที่สื่อหลักไม่มี แต่การออกแบบการทำงานร่วมกับเครือข่ายถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก\" สิ่งที่รับทราบร่วมกันดี สื่อมวลชนในประเทศไทยรายงานข่าวเพียงปรากฎการณ์ความรุนแรง แต่ไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุความขัดแย้งให้นำไปสู่ทางออกของสถานการณ์ได้ ขณะที่สื่อในพื้นที่รู้ปัญหาเชิงลึก เข้าถึงความรู้สึกชาวบ้าน บางครั้งการนำเสนอนั้นอาจสร้างผลกระทบทั้งต่อผู้ให้ข้อมูลและผู้เสนอข่าว นี่คืออุปสรรคใหญ่ประการหนึ่งในสำหรับคนทำงานสื่อสารในพื้นที่ความขัดแย้ง \"ความปลอดภัยในการหาข่าว นำเสนอข่าวในพื้นที่ความขัดแย้งเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เพราะคู่ขัดแย้งทั้งกลุ่มก่อการและฝ่ายรัฐมีกองกำลังติดอาวุธทั้งคู่\" นายแซมซู แยะเย็ง จากเครือข่ายสันกาลาคีรี หนึ่งในนักข่าวใหม่ของโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ แสดงความคิดห็น นอกจากสื่อมองตนเองถึงจุดอ่อน จุดแข็งที่ผ่านมา และดูว่าใครกำลังทำอะไรกันอยู่แล้ว ในด้านกลับประชาชนในสามจังหวัดชายแดนใต้รับสื่ออย่างไรเป็นประเด็นที่ควรคำนึงถึงการในการขับเคลื่อนของภาคประชาชนสังคมด้วย ว่าช่องทางใดสำคัญในการผลักดันประเด็นสาธารณะต่างๆ จากผลการสำรวจ 'บทบาทของสื่อกับความขัดแย้ง' โดยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ Center for Conflict Studies and Cultural Diversity (CSCD) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี CSCD สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 2

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net