Skip to main content
sharethis

จัดโดย: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันที่: วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2556 เวลา 8.00-16.00 น.

สถานที่: โรงแรมโซฟิเทล สุขุมวิท กรุงเทพ

วิทยากร:

  • รศ.ดร.ภาณุพงศ์ นิธิประภา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • Marc Saxer Resident Director, Friedrich Ebert Foundation Thailand
  • ผศ.ดร.ประชา คุณธรรมดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อ.ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อ.ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ดร.สุวรรณี คำมั่น อดีตรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาก­ารเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิสถาบันวิจัยน­โยบายเศรษฐกิจการคลัง
  • ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ

กล่าวเปิดงานและวิเคราะห์เศรษฐกิจประจำไตรมาส 3 (Quarterly Economic Review III)

วิทยากร:
รศ.ดร.ภาณุพงศ์ นิธิประภา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.ภาณุพงศ์ นิธิประภา ระบุความยากลำบากของไทยในการแซงประเทศเพื่อนบ้าน จีดีพีไทยลดเพราะการส่งออกปีนี้ที่ต่ำมากสอดคล้องกับเศรษฐกิจโลก ถึงเวลาที่ต้องหันมาพึ่งตลาดในประเทศ นโยบายในย่านอาเซียนพยายามใช้นโยบายขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา

รศ.ภาณุพงศ์ นิธิประภา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุความยากลำบากของไทยในการแซงประเทศเพื่อนบ้าน จีดีพีไทยลดเพราะการส่งออกปีนี้ที่ต่ำมากสอดคล้องกับเศรษฐกิจโลก ถึงเวลาที่ต้องหันมาพึ่งตลาดในประเทศ นโยบายในย่านอาเซียนพยายามใช้นโยบายขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา อย่างไรก็ตาม นโยบายกระตุ้นจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น หากทำในภาวะที่เศรษฐกิจยังมีความเชื่อมั่น การใช้นโยบายการคลังมาเยียวยาและชดเชยการส่งออกที่ลดลง เห็นว่ายังพอมีอยู่ อย่าไปเชื่อที่ใครบอกว่าไทยจะเหมือนกรีซ เรื่องการลงทุนตอนนี้อยู่ละ ร้อยละ 30 ของ GDP เป็นโอกาสที่ดีที่สุดแล้วในโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้น หลัจากเสียโอกาสมาเป็นสิบปี

“เรื่องการตรวจสอบการรั่วไหลเป็นการใช้เครื่องมืออีกอัน อย่าเป็น perfectionist โดยที่เราจะไม่สามารถทำอะไรเลย” 


How can Thailand create socially just, sustainable and dynamic green growth for a Good Society?

วิทยากร:
Marc Saxer, Resident Director, Friedrich Ebert Foundation Thailand

Marc Saxer กล่าวถึงแนวคิด “New Economi” ที่ประกอบไปด้วยความท้าทายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสีเขียวที่เน้นความยั่งยืนและธรรมภิบาล โดยระบุถึงแนวทางในการขับดัน “เจตจำนงทางการเมือง” เพื่อให้โมเดลการพัฒนาในรูปแบบนั้นเป็นไปได้จริงโลกทุนนิยมปัจจุบัน 


การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งผ่านเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท

วิทยากร:
ผศ.ดร.ประชา คุณธรรมดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิจารณ์โดย ดร.ชนินทร์ มโนภินิเวส นักเศรษฐศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน ธนาคารโลก

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งผ่านเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท นำเสนอโดย ผศ.ดร.ประชา คุณธรรมดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผศ.ประชา คุณธรรมดี นำเสนอว่าโดยการตอบโจทย์ 5 ข้อ คือ 1. ประเทศไทยควรพิจารณาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหรือไม่ อย่างไร คำตอบคือ มีส่วนอื่นที่จำเป็นมากกว่า 2) การลงทุนตามร่างพ.ร.บฯ จะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศหรือไม่ คำตอบคือ ช่วยลดต้นทุนจากการขนส่งทางถนนได้มาก แต่สิ่งที่ขาดไปคือสถานีขนส่งสินค้า รวมถึงถนนเชื่มต่อสถานีกับระบราง 3) จะเชื่อมต่อภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียนอย่างไร จากการศึกษาพบว่ามีโครงการที่เชียงของ จ.เชียงราย โครงการเดียวเท่านั้นที่เป็นการพัฒนาที่ครบถ้วนมากที่สุด 4) ประเด็นการขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 หรือไม่เป็นประเด็นที่ต้องจับตา 5) ประเด็นประโยชน์สาธารณะ รัฐไม่ควรอุดหนุนรถไฟฟ้า และควรสร้างเงื่อนไขดึงดูดส่วนเกินทางเศรษฐกิจของผู้ได้ประโยชน์จากการเข้ามาของโครงการ เช่น ภาษีที่ดิน ภาษีพัฒนาท้องถิ่น

วิจารณ์โดย ชนินทร์ มโนภินิเวส นักเศรษฐศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน ธนาคารโลก


การประเมินผลกระทบนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท

วิทยากร:
อ.ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศุภชัย ศรีสุชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ผลการศึกษา พบว่า หลังใช้นโยบายนี้มีการขยายตัวการจ้างงานต่อเนื่อง 13 เดือนติดกัน ตั้งแต่ เม.ย.55-พ.ค.56 ในอัตรา 4.75% การเลิกจ้างลดลง 31.37% คำนวณจากผู้ประกันตน อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ 0.9%

ศุภชัย ศรีสุชาติ  กล่าวว่า ผลการศึกษา พบว่า หลังใช้นโยบายนี้มีการขยายตัวการจ้างงานต่อเนื่อง 13 เดือนติดกัน ตั้งแต่ เม.ย.55-พ.ค.56 ในอัตรา 4.75% การเลิกจ้างลดลง 31.37% คำนวณจากผู้ประกันตน อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ 0.9% ส่วนการเลิกกิจการและการตั้งกิจการใหม่ก็เป็นไปในลักษณะปกติ ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายจนต้องปิดกิจการราว 300,000 ราย กลุ่มผู้ได้รับผผลกระทบที่เสียเปรียบมากที่สุดคือ SME เพราะไม่ได้กำไรอยู่แล้วมาตรการทางภาษีที่กำหนดออกมาจึงไม่ช่วย ส่วนสภาพการจ้างงานั้น พบว่าเมื่อสัมภาษณ์แรงงานแบบลงลึกจะเห็นความพยายามเปลี่ยนสภาพการจ้างงานของนายจ้างเพื่อเลี่ยงการจ่ายค่าแรงขั้นต่ำ

วิจารณ์โดย ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย


ผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์

วิทยากร:
อ.ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิจารณ์โดย ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐ­กิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ภาวิน ศิริประภานุกูล กล่าวว่า จากการประมาณการในเบื้องต้น การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจะส่งผลให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ในช่วงปีงบประมาณ 2556-2563 ราว 2.32 ล้านล้านบาท  ในขณะที่การปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในช่วงเวลาเดียวกันอีกราว 3.5 แสนล้านบาท

ภาวิน ศิริประภานุกูล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จากการประมาณการในเบื้องต้น การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจะส่งผลให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ในช่วงปีงบประมาณ 2556-2563 ราว 2.32 ล้านล้านบาท  ในขณะที่การปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในช่วงเวลาเดียวกันอีกราว 3.5 แสนล้านบาท มูลค่าความสูญเสียดังกล่าวไม่น่าจะสามารถทำหน้าที่ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกจให้กับระบบภาษีได้ เนื่องจากเป็นการปรับโครงสร้างไม่ตรงจุด นอกจากนั้น การปรับโครงสร้างภาษีดังกล่าวยังไม่น่าจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถให้กับการแข่งขั้นของประเทศได้

วิจารณ์โดย พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


ความเปราะบางและความเสี่ยงทางการคลัง ภายใต้นโยบายการลงทุนของรัฐบาล

วิทยากร:
ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิจารณ์โดย ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษีผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด มหาชน

ศ.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา วิเคราะห์ความเปราะบางและความเสี่ยงทางการคลังภายใต้นโยบายการลงทุนของรัฐบาล ในช่วงหลังวิกฤตน้ำท่วมเป็นต้นมา รายจ่ายสูงกว่ารายรับ และใน 20 ปีที่ผ่านมานี้

ศ.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ความเปราะบางและความเสี่ยงทางการคลังภายใต้นโยบายการลงทุนของรัฐบาล ในช่วงหลังวิกฤตน้ำท่วมเป็นต้นมา รายจ่ายสูงกว่ารายรับ และใน 20 ปีที่ผ่านมานี้ ช่องว่างระหว่างการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายถ่างออกเรื่อยๆ นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดการเสนอกู้เงินสำหรับจัดทำโครงการต่างๆ เช่น งบ 2.2 ล้านล้าน เพราะศักยภาพของทางการคลังไม่สามารถลงทุนได้เอง

สำหรับความเสี่ยงทางการคลัง ในระยะสั้นไม่น่าเป็นห่วง และการคลังของไทยยังพอจะรองรับนโยบายและรายจ่ายที่เกิดขึ้น แต่ฝันร้ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็คือความไม่แน่นอน ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะต้องรักษาการขยายตัวในระบบเศรษฐกิจแบบนี้ต่อไป และรวมถึงการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อเพิ่มรายได้

วิจารณ์โดย บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด มหาชน


อนาคตประเทศไทยภายใต้นโยบายเศรษฐกิจรัฐบา­ลยิ่งลักษณ์

วิทยากร:
1. ดร.สุวรรณี คำมั่น อดีตรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาก­ารเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2. ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิสถาบันวิจัยน­โยบายเศรษฐกิจการคลัง
3. ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ
ดำเนินการอภิปรายโดย ดร.ชัยพัฒน์ สหัสกุล กรรมการประจำคณะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อภิปรายเรื่อง "อนาคตประเทศไทยภายใต้นโยบายเศรษฐกิจรัฐบา­ลยิ่งลักษณ์"

อภิปรายเรื่อง "อนาคตประเทศไทยภายใต้นโยบายเศรษฐกิจรัฐบา­ลยิ่งลักษณ์"

1. ดร.สุวรรณี คำมั่น อดีตรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาก­ารเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2. ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิสถาบันวิจัยน­โยบายเศรษฐกิจการคลัง
3. ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ
ดำเนินการอภิปรายโดย ดร.ชัยพัฒน์ สหัสกุล กรรมการประจำคณะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net