Skip to main content
sharethis

ชานันท์ ยอดหงษ์ และศิริวุฒิ บุญชื่น พูดถึงการปรากฏตัวตนของคนชายขอบ คนยากคนจน คนสู้ชีวิตในภาพยนตร์ไทย ในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งมาพร้อมกับบริบทสงครามเย็น การตั้งฐานทัพของสหรัฐอเมริกาช่วงสงครามเวียดนาม และกระแสเติบโตของฝ่ายซ้าย โดยแวดวงนักเขียนบุกเบิกพื้นที่ให้ตัวละครชายขอบขึ้นก่อน ทั้ง 'รงค์ วงษ์สวรรค์, สุวรรณี สุคนธา ฯลฯ ต่อมาจึงขยายไปยังวงการภาพยนตร์ โดยผู้กำกับภาพยนตร์ที่เน้นตีแผ่ชีวิตคนชายขอบในเวลานั้นอาทิ เปี๊ยก โปสเตอร์ ผู้กำกับเรื่อง "โทน" (2513)  สักกะ จารุจินดา ผู้กำกับเรื่อง "ตลาดพรหมจารีย์" (2516) รวมทั้งหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับเรื่อง "เขาชื่อกานต์" (2516) และ "เทพธิดาโรงแรม" (2517) ฯลฯ

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่
เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/maihetpraphetthai
YouTube
เพลยลิสต์ หมายเหตุประเพทไทย
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net