Skip to main content
sharethis

เปิดงานวิจัย 'พอพันธ์' กรณีบทบาทและพลังเหนือรัฐของ “สํานักงานทรัพย์สินฯ” ในเหตุเอา 'ที่ดิน' แลก 'หุ้น' ธ.ไทยพาณิชย์ จนกลับมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หลังวิกฤตเศรษฐกิจ 40 แม้กฎหมายไม่อนุญาตให้กระทรวงการคลังกระทําได้

สัดส่วนผู้ถือหุ้น SCB พ.ค.63

สัดส่วนผู้ถือหุ้น มี.ค.54

หลังจากกลุ่มราษฎรเปลี่ยนสถานที่ชุมนุม 25 พ.ย จากที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มาเป็นสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ถ.รัชดาภิเษก แทน ประเด็นธนาคารไทยพาณิชย์ ถูกหยิบยกมาถกเถียงอีกครั้ง สำหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ ธนาคารไทยพาณิชย์ วันนี้ (25 พ.ย.63) จำนวน 793,832,359 หุ้น คิดเป็น 23.38 % 

เดิมชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นสำนักงานทรัพย์สินฯ แต่เมื่อปี 2561 เว็บไซต์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (http://www.crownproperty.or.th/) ได้เผยแพร่คำชี้แจงเรื่อง การเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยอ้างถึงกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2560 ซึ่งรวมทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้าด้วยกัน เป็นทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 

ในโอกาสที่มีการพูดถึงสำนักงานทรัพย์สินฯและธนาคารไทยพาณิชย์ มีประเด็นหนึ่งที่สำคัญช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ที่แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นครั้งใหญ่และความเป็น 'พลังเหนือรัฐ' ของ สนง.ทรัพย์สินฯ ในงานวิจัย "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับการลงทุนทางธุรกิจ" ที่ตีพิมพ์เมื่อ 29 มิ.ย.2549 ของ พอพันธ์ อุยยานนท์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช หน้า 86- ระบุว่า พลังของ “สํานักงานทรัพย์สินฯ” ในฐานะองค์กรที่เหนือรัฐได้แสดงออกมาภายหลัง วิกฤตการณ์ปี 2540 กล่าวคือในช่วงปี 2540 – 2545 ธนาคารไทยพาณิชย์และสถาบันการเงินทุก แห่งประสบกับความเสียหายอย่างหนัก ส่งผลให้สํานักงานทรัพย์สินฯ ต้องเพิ่มทุนเพื่อรักษา สถานภาพการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกอบกู้สถานการณ์วิกฤตของธนาคารไทยพาณิชย์ตาม “โครงการ 14 สิงหา” ความพยายามที่จะเพิ่มทุนของสํานักงานฯในเบื้องต้นประสบความล้มเหลว และมีทุนน้อยประมาณ 7,000 ล้านบาทเท่านั้น โดยที่การเพิ่มทุนตามโครงการ “14 สิงหา” นั้น ต้องการทั้งสิ้นเท่ากับ 32,500 ล้านบาท มีผลให้สํานักงานฯถูกลดสัดส่วนในการถือหุ้นเท่ากับร้อย ละ 11.8 ในช่วงปี 2547 – 2546 โดยที่กระทรวงการคลังได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ร้อยละ 38.8)

พอพันธ์ อ้างถึงบทความของ ทรงเกียรติ ชาติวัฒนานนท “โคตรเก่ง จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ยึด SCB คืนจากคลัง” ดอกเบี้ย ปีที่ 23, ฉบับที่ 275, พฤษภาคม 2547. หน้า 34-45 ระบุว่า สํานักงานทรัพย์สินฯโดย ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้นํา “ที่ดิน” ของสํานักงานทรัพย์สินฯย่าน ทุ่งพญาไทหรือบริเวณถนนราชวิถีตั้งแต่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ยกเว้น มูลนิธิคนตาบอด) ซึ่งเป็นที่ดินในหน่วยงานราชการเช้าจํานวน 484.5 ไร่มูลค่าประมาณ 16,500 ล้านบาท แลกกับหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถืออยู่ภายหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ปี 2540 และ ในที่สุดสํานักงานทรัพย์สินฯ ก็กลับมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกครั้งคือมีสัดส่วนการถือหุ้นใน ธนาคารไทยพาณิชย์เท่ากับร้อยละ 25 ในปี 2544 การกระทําดังกล่าวได้สะท้อนภาพของการมีอํานาจของสํานักงานทรัพย์สินฯ เหนือกระทรวงการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เพราะ “การแลกเปลี่ยนที่ดินกับหุ้นนั้น เป็นการกระทําที่กฎหมายไม่อนุญาตให้กระทรวงการคลังกระทําได้ด้วย โดยที่กฎหมายระบุชัดเจนว่าการแลกเปลี่ยนที่ดินต้องเป็นการแลกเปลี่ยนที่ดินของฝ่ายหนึ่งกับอีก ฝ่ายหนึ่งในราคาที่ต้องเท่าเทียมกันด้วย”  ประเด็นนี้ได้ก่อให้เกิดความสงสัยว่าทั้ง ๆ ที่ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินที่ดําเนินการโดยภาคเอกชนเป็นสําคัญและไม่ใช่ เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรัฐเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มากกว่าร้อยละ 50 ทําไมกระทรวงการคลังถึงอนุญาตทําได้และหากกรณีนี้เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินอื่น ๆ เช่น ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกสิกรไทย กระทรวงการคลังจะอนุญาตให้ทําได้หรือไม่และใช้มาตรฐานอะไร? นอกจากนี้เงินทุนที่ กระทรวงการคลังนํามาเพิ่มทุนในธนาคารพาณิชย์ในปี 2542 ก็มาจากการระดมทุนจากประชาชน ด้วยการออกพันธบัตรต้องมีภาระจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4.25 ต่อปีจนถึงปี2552 (จ่ายค่าดอกเบี้ยทุก 6 เดือน) และหาก “ที่ดิน” ที่ได้จากสํานักงานทรัพย์สินฯไม่สามารถนําไปหาผลประโยชน์ได้กระทรวงการคลังจะนําเงินจากแหล่งใดมาไถ่ถอนพันธบัตรดังกล่าว ในที่สุดก็คงจะต้องมาจากภาษีของประชาชนนั่นเอง

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net