Skip to main content
sharethis

สมชัยเสนอร่างแก้ ม.272 ต่อสภาตัดสิทธิส.ว.ร่วมเลือกนายกฯ แต่หากจะต้องเลือกนายกฯ นอกบัญชีของพรรคการเมืองยังต้องให้ที่ประชุมร่วมมีมติอนุญาต ก่อนให้ที่ประชุม ส.ส.เลือกนายกฯ นอกบัญชี การแก้ไขนี้จะทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยที่เป็นสากล ทำให้ ส.ว.ได้เป็นกลางทางการเมืองในสายตาประชาชน

6 ก.ย.2565 ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของสมาชิกรัฐสภา สมชัย ศรีสุทธิยากร คณะรณรงค์แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 272 นำเสนอร่างกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ให้ตัดสิทธิ ส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี แต่ยังคงให้สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีจากนอกบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอได้ในกรณีฉุกเฉินโดยยังต้องใช้เสียง 2 ใน 3ของที่ประชุมร่วมของรัฐสภาเพื่อยกเว้นการใช้ชื่อจากบัญชีของพรรคการเมืองแล้วจึงให้ที่ประชุมของ ส.ส.ลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี

สมชัยกล่าวถึงเหตุผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะเป็นทางออกของประเทศไทยเพราะว่าจะทำให้ ส.ว.ยังคงเป็นกลางทางการเมืองตามมาตรา 113 ของรัฐธรรมนูญ ที่ส.ว.จะต้องไม่อยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมืองเพราะถ้า ส.ว.ต้องมาเลือกนายกฯ ก็จะทำให้ประชาชนคิดว่า ส.ว.ไม่ได้เป็นกลางทางการเมืองจากการเลือกนายกฯ ที่มาจากพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเป็นเป็นการโน้มเอียงไปทางพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง นอกจากนั้นหลังการเลือกตั้งก็จะเกิดการรวมตัวกันจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปตามธรรมชาติโดยที่พรรคการเมืองไม่ต้องมาคิดว่า ส.ว.จะเลือกนายกฯ ที่มาจากพรรคการเมืองใดที่ ส.ว.มีแนวโน้มจะสนับสนุนให้จัดตั้งรัฐบาลได้

สมชัยยังกล่าวอีกว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรานี้ยังเป็นการเสริมสร้างประชาธิปไตยให้เป็นสากลและทำให้รัฐสภามีเกียรติภูมิถือว่าเป็น

สมชัยยังกล่าวถึงข้อโต้แย้งที่มีหลายฝ่ายเสนอว่าการให้ ส.ว.เลือกนายกฯ นั้นเป็นไปตามการออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ 60 หากจะมีการแก้ไขก็ต้องทำประชามติอีกรอบ เขากล่าวถึงประเด็นโต้แย้งนี้ว่า ในรัฐธรรมนูญ 256(8) กำหนดไว้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะต้องทำประชามติมีแค่การแก้หมวด 1 และ 2, การแก้เรื่องวิธีการแก้รัฐธรรมนูญ และแก้เกี่ยวกับคุณสมบัติและอำนาจหน้าที่ของศาลและองค์กรอิสระเท่านั้น การแก้อำนาจของ ส.ว.จึงไม่ต้องทำประชามติ แล้วที่ผ่านมาการแก้ไขระบบเลือกตั้งจากบัตรใบเดียวเป็นสองใบก็ไมได้ต้องทำประชามติก็แก้ไขได้

ข้อโต้แย้งต่อมา การเลือกนายกฯ ของ ส.ว.นั้นเป็นการเลือกเพียงแค่ 5 ปีแรกก็จะหมดเงื่อนไขแล้ว เขาเห็นว่าเรื่องการแก้ไขให้เกิดเร็วขึ้นเป็นประโยชน์กับประเทศแน่นอนเพราะจะทำประเทศกลับสู่ประชาธิปไตยและทำให้รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งครั้งต่อไปเป็นไปโดยสง่างาม ดังนั้นไม่จำเป็นต้องรอให้ครบ 5 ปี

ข้อโต้แย้งเรื่องที่ต้องให้มีนายกฯ ที่จะเข้ามาดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติต่อไปนั้น จากการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาก็มีการสรุปแล้วว่าการดำเนินงานตามแผนสำเร็จเสร็จสิ้นแล้วการเลือกนายกฯ ครั้งต่อไปก็ไม่ได้มีความจำเป็นต้องกลับมาดำเนินการในเรื่องนี้ต่อ

ส่วนข้อโต้แย้งเรื่องที่ถ้าให้การเลือกนายกฯ มาจากแค่ที่ประชุมของ ส.ส.จะทำให้มีบุคคลจากฝ่ายการเมืองที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งแล้วก็ไปสู่ความเสียหายต่อประเทศ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของทางส.ส.เป็นผุ้ตัดสินแล้วก้มีกลไกในการควบคุมให้เกิดความเหมาะสมอยู่แล้ว หากฝ่ายบริหารทำให้เกิดความเสียหายก็ยังมีกลไกการอภิปรายควบคุมตรวจสอบโดย ส.ส. อยู่ แล้วก็การที่ยังมีนายกฯ ที่ส.ว.เลือกเข้ามาก็ยิ่งสร้างความขัดแย้งในรอบใหม่

สมชัยกล่าวถึงข้อโต้แย้งสุดท้ายว่าการลงมติเห็นชอบและไม่เห็นชอบเป็นการแสดงจุดยืนทางการเมืองก็มีแนวความคิดว่าการงดออกเสียงเป็นแนวทางที่ดี แต่เขาเห็นว่าการงดออกเสียงคือการไม่เห็นชอบเพราะว่าการงดออกเสียงไม่ได้แสดงถึงความเป็นกลางเนื่องจากว่าการลงวมติดังกล่าวเราจำเป็นต้องใช้เสียงเกินกว่ากึ่งหน่งของรัฐสภาแล้วก็ในจำนวนเสียงดังกล่าวก็จะต้องมี ส.ว.ร่วมให้ความเห็นชอบด้วย 1 ใน 3 หรือ 84 คน ดังนั้นการงดออกเสียงจึงไม่ได้แสดงถึงความเป็นกลางแต่การงดออกเสียงนั้นเป็นการประสงค์ไม่ให้ร่างดังกล่าวได้ผ่านการรับหลักการ

สมชัยกล่าวทิ้งท้ายว่า การลงมติของท่านสมาชิกรัฐสภาในวันพรุ่งนี้มีความสำคัญต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ประเทศจะเดินต่อไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับการลงมติของท่านที่อยู่ในที่ประชุมรัฐสภาแห่งนี้

บุญส่ง ชเลธร จากวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้ร่วมคณะรณรงค์ฯ กล่าวว่าการที่ประชาชนคนไทยมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ว่าบ้านเมืองนี้จะต้องปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่ปรากฏในรธน ก็ต้องเป็นบทที่คุ้มครองต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการเลือกปผู้แทนรัฐผู้บริหารประเทศตนเอง แต่เป็นที่น่ากังวลที่ รธน 60 ยังไมได้สะท้อนเตนารมณนี้ มาตรา 272 ในบทเฉพาะกลายที่ให้ 5 ปีแรกนับตั้งแต่วันที่มีสภาชุดแรกตาม รธน ว่าการเลือกนายกฯ นั้น ต้องเป็นการกระทำในที่ประชุร่วมของรัฐสภาที่หมายถึงว่าสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งก้มีสิทธิลงมติเห็นชอบว่าใครเหมาะสมเป็นนายกฯเช่นเดียวกับสาชิกที่มาจาการกเลือกตั้ง

บุญส่งกล่าวว่าเขาและประชาชนอีกว่า 70,000 คนที่ร่วมลงนามขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เห็นร่วมกันว่าบทบัญญัติอย่างนี้ไม่ใช่วิถีทางของ ปชต. และไม่ถูกต้อง เวลาของการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ล่วงเลยมา 5 ปีแล้วและกำลังมีการเลือกตั้งอีกครั้งเร็วๆ นี้ จึงจำเป็นที่จะต้องแสดงอย่างจริงใจตรงไปตรงมาว่ายังยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยที่เสียงของประชาชนเท่านั้นกำหนดอนาคตของประชาชนเอง

“เราผ่านความจริงเราเห็นความจริง ว่าสิ่งที่ไม่เป็นประชาธิปไตยว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สร้างความเสียหายให้กับประชาชนและประเทศชาติมากมายขนาดไหน ผมใคร่กราบท่านประธานและสมาชิกทุกท่าน ได้โปรดช่วยกันร่วมมือในการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 272 วันนี้ขอเพียงประเด็นเดียวคือให้มีการยกเลิกสิทธิของวุฒิสภาในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีการแก้ไขมาตรา 272 ถือเป็นก้าวหนึ่งในการประกาศความเป็นประชาธิปไตยว่าเสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์” บุญส่งกล่าว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net