Skip to main content
sharethis

สปสช.จับมือสภาเภสัชกรรมเพิ่มทางเลือกใหม่ดูแลผู้มีสิทธิบัตรทอง “บริการเภสัชกรรมปฐมภูมิ” ที่ร้านยาชุมชนอบอุ่นกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ ดูแลผู้มีสิทธิบัตรทองกรณีเจ็บป่วยเล็กน้อย ครอบคลุมบริการ 16 กลุ่มอาการ พร้อมให้คำปรึกษา รับยาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพิ่มช่องทางรับบริการสุขภาพให้กับประชาชน สังเกตร้านยาเข้าร่วม ติดสติกเกอร์ด้านหน้า “ร้านยาคุณภาพของฉัน” พร้อมเริ่มให้บริการเร็วๆ นี้  

30 ต.ค. 2565 ทีมสื่อ สปสช. แจ้งข่าวว่า นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า เภสัชกรเป็นหนึ่งในผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ที่มีบทบาทในการร่วมดูแลและช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้ โดยเภสัชกรส่วนหนึ่งทำหน้าที่ประจำอยู่ในร้านยาที่กระจายอยู่ในชุมชนพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ด้วยระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทอง 30 บาท ที่ครอบคลุมดูแลการรักษาพยาบาลคนไทย 48 ล้านคน และครอบคลุมบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคคนไทยทุกคนหรือทุกสิทธิการรักษาทั่วประเทศ ที่ผ่านมา สปสช.จึงให้ความสำคัญต่อความร่วมมือกับทุกวิชาชีพด้านสุขภาพ รวมถึงเภสัชกรร้านยา เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิได้รับบริการสิทธิประโยชน์บัตรทอง 30 บาท ได้อย่างสะดวก ทั่วถึง มีคุณภาพและมาตรฐานบริการ ตามบริบทของแต่ละวิชาชีพ 

ทั้งนี้ “ร้านยาชุมชนอบอุ่น” เป็นร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.1) ที่ร่วมเป็นหน่วยบริการที่รับส่งต่อเฉพาะด้านเวชกรรมในระบบบัตรทอง 30 บาท ตามมาตรา 3 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ตามที่บอร์ด สปสช. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2562 และในปีงบประมาณ 2566 นี้ สปสช.ได้ร่วมกับสภาเภสัชกรรมขยายการให้บริการบัตรทอง 30 บาท ที่ร้านยาชุมชนอบอุ่นเพิ่มเติม โดยเพิ่มบริการเภสัชกรรมปฐมภูมิเพื่อดูแลประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท ในกรณีที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือ Common Illness  

นพ.จเด็จ กล่าวว่า บริการเภสัชกรรมปฐมภูมินี้ จะครอบคลุมการดูแลภาวะเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการที่เป็นไปตามแนวทางและมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรมปฐมภูมิโดยสภาเภสัชกรรม ได้แก่ อาการปวดหัว เวียนหัว ปวดข้อ เจ็บกล้ามเนื้อ ไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ถ่ายปัสสาวะขัด, ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเจ็บ ตกขาวผิดปกติ อาการทางผิวหนัง ผื่น คัน บาดแผล ความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตา และความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหู พร้อมติดตามอาการหลังรับยา 3 วัน ซึ่งประชาชนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เนื่องจาก สปสช. ได้สนับสนุนการจ่ายชดเชยให้ร้านยา ทั้งค่าบริการให้คำปรึกษาด้านเภสัชกรรม ค่ายาและเวชภัณฑ์ และค่าติดตามอาการและผลการดูแล โดยเหมาจ่ายในอัตรา 180 บาทต่อครั้ง 

“บริการเภสัชกรรมปฐมภูมินี้คาดว่าระบบจะมีความพร้อมและให้บริการได้ในเร็วๆ นี้ พร้อมกันทั่วประเทศ โดย สปสช.จะประกาศและแจ้งให้ทราบอีกครั้ง โดยร้านยาชุมชนอบอุ่นที่ร่วมให้บริการ จะต้องผ่านการอบรมและควบคุมโดยสภาเภสัชกรรม ซึ่งขณะนี้มีจำนวนกว่า 500 แห่งแล้ว สำหรับขั้นตอนการเข้ารับบริการ มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ 1.คนไข้ติดต่อไปยัง สปสช. ผ่านสายด่วน สปสช. 1330 จะมีเจ้าหน้าที่แนะนำให้รับบริการที่ร้านยาชุมชนอบอุ่นใกล้บ้าน หรือ 2.ดูรายชื่อร้านยาใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการได้ที่เว็บไซต์ สปสช. www.nhso.go.th หรือสังเกตสติกเกอร์ติดหน้าร้านยา ภายใต้ชื่อ ร้านยาคุณภาพของฉัน ให้บริการเจ็บป่วยเล็กน้อย หลังจากนั้นเมื่อผู้ป่วยมาที่ร้านยา เภสัชกรจะคัดกรองสิทธิคนไข้ว่าจะสามารถรับบริการตามสิทธิบัตรทองได้หรือไม่ หากมีสิทธิก็รับการดูแลโดยเภสัชกร ซึ่งจะให้คำแนะนำและให้ยารักษาตามอาการ หรือแนะนำให้พบแพทย์ในกรณีที่มีอาการที่ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ กรณีที่รับยาจากร้านยาแล้ว เภสัชกรจะติดตามอาการของผู้ป่วยในวันที่ 3 ของการจ่ายยา หากอาการดีขึ้นก็จะสิ้นสุดการดูแล กรณีอาการแย่ลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงก็จะมีระบบการจัดการเพื่อส่งต่อเข้าสู่การรักษาต่อไป” เลขาธิการ สปสช. กล่าว  

นพ.จเด็จ กล่าวว่า ด้วยบริการนี้เชื่อมั่นว่า นอกจากจะลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการปฐมภูมิให้กับประชาชนในกรณีที่เจ็บป่วยเล็กน้อยแล้ว ยังช่วยเพิ่มความสะดวกการเข้ารับบริการแบบใกล้บ้านใกล้ใจ ขณะเดียวกันยังช่วยลดความแออัดการเข้ารับบริการที่โรงพยาบาล นับเป็นอีกนวัตกรรมระบบบริการสุขภาพที่ สปสช. ได้พัฒนาโดยความร่วมมือจากสภาเภสัชกรรม   

สปสช.เตรียมหน่วยปฐมภูมิ 64 แห่ง ดูแลผู้ป่วยนอกสิทธิบัตรทองโซน กทม.ตะวันออก 

พญ.ลลิตยา กองคำ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ สปสช. ได้ยกเลิกสัญญากับโรงพยาบาลเอกชนจำนวน 9 แห่งในพื้นที่ กทม. ไปเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งนอกจากเป็นหน่วยบริการประจำแล้ว โรงพยาบาลเหล่านี้ยังเป็นโรงพยาบาลรับส่งต่ออีกด้วย ทำให้มีผู้มีสิทธิบัตรทองจำนวนหนึ่งต้องเปลี่ยนโรงพยาบาลรับส่งต่อ โดย สปสช. ได้หารือกับกรมการแพทย์และจัดหาโรงพยาบาลรับส่งต่อแห่งใหม่มารองรับชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน 

อย่างไรก็ดี ในส่วนของโซนกรุงเทพฯ ตะวันออก ซึ่งมี รพ.นพรัตน์ราชธานี เป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อนั้น เนื่องจากมีผู้มีสิทธิบัตรทองเข้าไปรับบริการเพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดความหนาแน่นในการรับบริการ ขณะเดียวกันก็ทำให้ภาระงานของบุคลากรเพิ่มขึ้นกระทันหันจนอาจกระทบกับการให้บริการผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ สปสช.ร่วมกับกรุงเทพมหานครได้เร่งจัดหาโรงพยาบาลรับส่งต่อเพิ่มเติมอีก 3-4 แห่ง เพื่อเข้ามาร่วมดูแลผู้ป่วยในโซนกรุงเทพฯ ตะวันออก และช่วยแบ่งเบาภาระแก่ รพ.นพรัตน์ราชธานี โดยจะมีการประกาศรายชื่อในเร็วๆนี้ 

พญ.ลลิตยา กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน สปสช.ยังได้ร่วมกับหน่วยบริการทุกสังกัดทั้งรัฐและเอกชน รวมถึงกรุงเทพมหานคร จัดเตรียมหน่วยบริการปฐมภูมิในโซนกรุงเทพฯ ตะวันออก ทั้งคลินิกชุมชนอบอุ่นและหน่วยบริการของภาครัฐ รวมอีก 64 แห่ง ดังนั้น ผู้มีสิทธิบัตรทอง สามารถเลือกไปเข้ารับบริการแบบผู้ป่วยนอกในหน่วยบริการเหล่านี้ได้ตามความสะดวก 

ทั้งนี้ หน่วยบริการปฐมภูมิที่สามารถเข้ารับบริการแบบผู้ป่วยนอก ประกอบด้วย 1.โรงพยาบาลคลองสามวา 2.รวมแพทย์บางชันสหคลินิก 3.ธรรมพิชญาคลินิกเวชกรรม 4.พระยาสุเรนทร์คลินิกเวชกรรม 5.หทัยราษฎร์ 39 คลินิกเวชกรรม 6.มิตรมวลชนคลินิกเวชกรรม สาขาคลองสามวา 7.คลินิกเวชกรรมการ์เด้นโฮม 8.ร่วมใจรักษ์คลินิกเวชกรรม 9.คลินิกเวชกรรมกล้วยน้ำไท สาขาคู้บอน 10.คลินิกเวชกรรมบึงพระยา 

11.หทัยราษฎร์คลินิกเวชกรรม สาขาคลองสามวา 12.รัตนรักษ์คลินิกเวชกรรม 13.นวรักษ์คลินิกเวชกรรม 14.รามอินทรา 74 คลินิกเวชกรรม 15.รามอินทราเฮลท์สหคลินิก 16.คลินิกเวชกรรมบ้านสัมพันธ์ 17.เกียรติการแพทย์คลินิกเวชกรรม สาขาเสรีไทย 18.คลินิกเวชกรรมกล้วยน้ำไท สาขารามอินทรา 68 19.คลินิกเวชกรรมกล้วยน้ำไท สาขาสวนสยาม 20.คลินิกเวชกรรมกล้วยน้ำไท สาขาคู้บอน 20 

21.คลินิกเวชกรรมพราวด์จันทร์ รามคำแหง 53 22.คลินิกเวชกรรมฐิติญา รามคำแหง 36/1 23.คลินิกเวชกรรม ที เอส รามคำแหง 42 24.คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ 5 25.รัตนบัณฑิตคลินิกเวชกรรม 26.คลินิกเวชกรรมกล้วยน้ำไท สาขารามคำแหง 14 27.ทรัสต์เมดิคอลคลินิกเวชกรรม 28.คลินิกเวชกรรมบ้านอัมรินทร์ 29.พรหมธาดาคลินิกเวชกรรม สาขาบึงกุ่ม 30.คลินิกเวชกรรมเสนา 88 

31.พร้อมมงคลคลินิกเวชกรรม สาขารามคำแหง 2 32.คลินิกเวชกรรมเฉลิมเวช 33.เคคลินิกเวชกรรม สาขาสุภาพงษ์ 3 34.เคคลินิกเวชกรรม สาขาราม 2 35.สหคลินิกจุฬารัตน์ 7 36.คลินิกเวชกรรมภัสสรินทร์ 37.รามคำแหง 2 คลินิกเวชกรรม 38.คลินิกเวชกรรมสิรินรักษ์ 39.คลินิกเวชกรรมเดอะซีพลัส ประเวศ 40.คลินิกเวชกรรมศรีนครินทร์40 

41.คลินิกเวชกรรมมูลนิธิกู้ภัยร่มไทร 42.เมืองธรรมคลินิกเวชกรรม สาขาราม 201 43.มีนสิริสหคลินิก 44.มีนบุรีคลินิกเวชกรรม 45.นวมินทร์ 1 คลินิกเวชกรรม 46.คลินิกเวชกรรมมีนบุรี 47.โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี คุ้มเกล้า 48.คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ 10 49.ศิริพัฒน์รามอินทราคลินิกเวชกรรม 50.หทัยราษฎร์คลินิกเวชกรรม 

51.คลินิกเวชกรรม สจล. 52.นวมินทร์ 3 สหคลินิก สาขานิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง 53.คลินิกเวชกรรมจุฬารัตน์ 8 54.เคหะร่มเกล้าคลินิกเวชกรรม 55.หน้านิคมลาดกระบังคลินิกเวชกรรม 56.คลินิกเวชกรรมกล้วยน้ำไท สาขานิคมลาดกระบัง 57.สะพานเชื่อมบุญคลินิกเวชกรรม 58.ราษฎร์พัฒนาคลินิกเวชกรรม 59.คลินิกเวชกรรมกล้วยน้ำไท 60.คลินิกเวชกรรมหมู่บ้านนักกีฬา  

61.สกุลดีสหคลินิก 62.เฮลท์แคร์คลินิกเวชกรรม 63.กฤษณะสหคลินิก และ 64.นวมินทร์สุขภาพดีคลินิกเวชกรรม สาขาลำผักชี 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ตั้งและเบอร์โทร.ติดต่อได้ที่เว็บไซต์ สปสช. https://www.nhso.go.th/news/3802 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net