Skip to main content
sharethis

50 องค์กรสภานักศึกษา-เครือข่ายภาคประชาชน ร่วมแถลงหนุนเสรีภาพเหนือร่างกาย เรียกร้องให้สถานศึกษาอนุญาตให้แต่งไปรเวท-ปราศจากข้อบังคับด้านทรงผม หลังช่วงที่ผ่านมามีการถกเถียงประเด็นดังกล่าว 

 

18 มิ.ย. 2566 เพจเฟซบุ๊ก 'แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม' โพสต์ข้อความวันนี้ (18 มิ.ย.) เมื่อเวลา 20.56 น. สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์กรภาคประชาชน นิสิต และนักศึกษา รวมทั้งสิ้น 50 องค์กร ออกแถลงการณ์ร่วม เรื่อง "เรียกร้องให้สถานศึกษาเคารพสิทธิ และเสรีภาพเหนือร่างกาย" ทั้งนี้ การออกแถลงการณ์นี้เกิดขึ้น หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (12-16 มิ.ย.) มีประเด็นทางสังคมถกเถียงเรื่องสถานศึกษาควรเปิดกว้างเสรีภาพเครื่องแต่งกายและเสรีภาพด้านทรงผม 

รายละเอียดแถลงการณ์

แถลงการณ์ร่วมขององค์กรสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์กรภาคประชาชน นักเรียน นิสิต และนักศึกษา

เรื่องเรียกร้องให้สถานศึกษาเคารพสิทธิเสรีภาพเหนือร่างกาย

จากกรณีการเรียกร้องให้สถานศึกษาเคารพสิทธิเสรีภาพเหนือร่างกาย โดยให้สามารถแต่งกาย ด้วยชุดไปรเวท หรือทําทรงผมใดๆ เข้าเรียนในสถานศึกษาได้ ที่กําลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เป็นเหตุให้เกิดกระแส ทางสังคมอย่างหลากหลายถึงความเหมาะสม จนไปถึงการตัดสินว่าการอารยะขัดขืนโดยไม่สวมเครื่องแบบ และการย้อมสีผมเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวสุดโต่ง

สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์กรนักเรียน นิสิต และนักศึกษา ทั้งสิ้นจํานวน 50 องค์กร ได้รับทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและขอยึดมั่นในหลักการสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล สนับสนุนให้นักเรียน จากทุกโรงเรียน ตลอดจนนิสิตนักศึกษาจากทุกมหาวิทยาลัย สามารถเลือกเครื่องแต่งกายรวมไปถึงทรงผมเข้าเรียน ได้อย่างเสรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 28 วรรคแรก บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีสิทธิ และเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 3 ความว่า บุคคลมีสิทธิ ในการดํารงชีวิตในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย และไม่ควรมีกฎระเบียบ วินัย หรือจารีตใดอยู่เหนือสอง หลักการนี้

ดังนั้น สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์กรนักเรียน นิสิตและนักศึกษา ทั้งสิ้นจํานวน 50 องค์กร ขอเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตลอดจน สถานศึกษาทุกแห่งแก้ไขกฎ ระเบียบ ข้อบังคับให้นักเรียน นิสิต และนักศึกษา โดยเปิดกว้างให้สามารถแต่งกาย ด้วยชุดไปรเวทเข้าเรียนในสถานศึกษา และแก้ไขกฎระเบียบของสถานศึกษาให้ปราศจากการบังคับเกี่ยวกับ การทําผม อาทิ ความยาว ทรงผม หรือสีผม โดยอยู่บนหลักการของการเคารพสิทธิเสรีภาพในทุกมิติ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการที่ไม่มีใครต้องถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ ให้เกิดพื้นที่แห่งการแสดงออกอย่างหลากหลาย และ สร้างความตระหนักรู้ถึงการเคารพอัตลักษณ์อันแตกต่างของผู้อื่นต่อไป อันเป็นสิ่งที่สถานศึกษาควรบ่มเพาะ มากกว่าการปลูกฝังวินัยและจารีตอย่างที่เป็นมา

ท้ายที่สุดนี้ การเรียกร้องให้สถานศึกษาเคารพสิทธิเสรีภาพเหนือร่างกายของเราอยู่บนหลักการที่ว่าทุกคน ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในร่างกายของตนเอง หากสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานเช่นนี้ยังไม่ได้รับการรับรอง จากสถานศึกษาซึ่งเป็นสถาบันสําคัญในการสร้างพลเมืองของประเทศ เราก็มิอาจวางใจว่าการละเมิดสิทธิเสรีภาพอื่นๆ จะไม่เกิดขึ้น และความเป็นประชาธิปไตยอันเป็นหลักการสําคัญที่สุดของประเทศนี้ก็จะไม่มั่นคง

ความอันตรายที่สุดของสังคมไทยเวลานี้ หาใช่รัฐที่สามานย์ฉ้อฉล หากแต่เป็นคนบางพวกที่ติดกับดักตนเอง 

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ด้วยความปรารถนาถึงเสรีภาพที่ไม่ทําให้เดือดร้อน จากเครือข่ายภาคประชาชน และองค์กรนักเรียน นิสิต และนักศึกษา

1. นักเรียนเลว
2. บอดินไม่อินเผด็จการ
3. เกียมพัฒนาประชาธิปไตย
4. เกียมอุดมไม่ก้มหัวให้เผด็จการ
5. สหภาพนักเรียนขอนแก่น
6. รอวอไม่ขอเผด็จการ
7. Debmocracy
8. สวที่อยู่ข้างประชาธิปไตย
9. แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม 
10. ทะลุวัง
11. กอผือรื้อเผด็จการ
12. กลุ่มคบเพลิง
13. เครือข่ายผู้รักประชาธิปไตยแพร่
14. กลุ่ม Move High
15. กระบี่ไม่ทน
16. สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
17. สภานักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
18. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
20. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
21. องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
22. สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
23. สโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
24. สโมสรนักศึกษาสาขาการเมือง และการระหว่างประเทศ หลักสูตรนานาชาติ คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
25. คณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
26. คณะกรรมการนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27. คณะกรรมการนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
28. คณะกรรมการนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
29. คณะกรรมการนักศึกษาคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
30. คณะกรรมการนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
31. คณะกรรมการนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
32. คณะกรรมการนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
33. คณะกรรมการนักศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
34. คณะกรรมการนักศึกษาวิทยาลัยการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
35. คณะกรรมการนักศึกษาวิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
36. คณะกรรมการนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
37. คณะกรรมการนักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
38. พรรคโดมปฏิวัติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
39. พรรคคนกันเอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
40. พรรคทํามัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
41. พรรคเคียงคู่โดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
42. พรรคเพื่อเพื่อน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
43. พรรค TPC Awaken มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
44. พรรคกิจประชา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
45. พรรคร่วมใจจันทน์กะพ้อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
46. พรรคปฏิวัติมอดินแดง มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
47. พรรคอาทิตย์ใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
48. พรรครังสิตปฏิวัติ มหาวิทยาลัยรังสิต
49. พรรคจุฬาสามัญชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
50. Campaigners who hate paperwork

(ที่มา เฟซบุ๊ก แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net