Skip to main content
sharethis

เตือนนายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อแรงงาน 3 สัญชาติ เมียนมา กัมพูชา และลาว ภายใน 31 ก.ค. นี้

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ย้ำเตือนให้นายจ้าง และแรงงานต่างด้าว ที่ยังไม่ยื่นเอกสารหลักหลักฐาน เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ก.ค. นี้ หากพ้นกำหนด จะไม่สามารถอยู่ต่อและทำงานภายในราชอาณาจักรต่อไปได้ หากกรมการจัดหางาน ตรวจพบคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน จะดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดทั้งนายจ้างคนไทยและลูกจ้างคนต่างด้าว โดยคนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศต้นทาง รวมถึงห้ามขอใบอนุญาตทำงานเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ และนายจ้างซึ่งรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานหรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 - 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน กรณีกระทำความผิดซ้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 - 200,000 บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามนายจ้างจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ โดยหากมีข้อขัดข้องให้ติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10

ที่มา: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 22/7/2566

เตือนนายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อแรงงาน 3 สัญชาติ เมียนมา กัมพูชา และลาว ภายใน 31 ก.ค. นี้

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ย้ำเตือนให้นายจ้าง และแรงงานต่างด้าว ที่ยังไม่ยื่นเอกสารหลักหลักฐาน เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ก.ค. นี้ หากพ้นกำหนด จะไม่สามารถอยู่ต่อและทำงานภายในราชอาณาจักรต่อไปได้ หากกรมการจัดหางาน ตรวจพบคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน จะดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดทั้งนายจ้างคนไทยและลูกจ้างคนต่างด้าว โดยคนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศต้นทาง รวมถึงห้ามขอใบอนุญาตทำงานเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ และนายจ้างซึ่งรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานหรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 - 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน กรณีกระทำความผิดซ้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 - 200,000 บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามนายจ้างจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ โดยหากมีข้อขัดข้องให้ติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10

ที่มา: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 22/7/2566

ครม.อนุมัติร่างกฎ ก.พ. ยกเลิกโรคจิต-โรคอารมณ์ผิดปกติ ออกจากโรคต้องห้ามในการรับราชการ

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ว่า ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีข้อเสนอแนะต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( สำนักงาน ก.พ.) เกี่ยวกับร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ถึงการกำหนดโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ โดยเพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าบุคคลที่ป่วยโรคดังกล่าวไม่มีความสามารถในการทำงานใด ๆ และอาจเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน

ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักการไม่เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ วันนี้ ครม.จึงมีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ตามที่ สำนักงาน ก.พ. เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ฉบับเดิม โดยยกเลิกข้อความการกำหนดให้โรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ(Mood Disorder) ที่ปรากฎอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ออก ส่วนโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการของบุคคล ตามที่กำหนดในร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ฉบับนี้ ยังคงเดิม ได้แก่ (1)โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (2)โรคติดยาเสพติดให้โทษ (3)โรคพิษสุราเรื้อรัง (4)โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ พร้อมกำหนดวิธีการตรวจโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. กำหนด

ทั้งนี้ ร่างกฎ ก.พ. จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ที่มา: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล, 18/7/2566

ครม.อนุมัติร่างกฎ ก.พ. ยกเลิกโรคจิต-โรคอารมณ์ผิดปกติ ออกจากโรคต้องห้ามในการรับราชการ

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ว่า ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีข้อเสนอแนะต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( สำนักงาน ก.พ.) เกี่ยวกับร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ถึงการกำหนดโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ โดยเพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือ โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าบุคคลที่ป่วยโรคดังกล่าวไม่มีความสามารถในการทำงานใด ๆ และอาจเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน

ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักการไม่เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ วันนี้ ครม.จึงมีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ตามที่ สำนักงาน ก.พ. เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ฉบับเดิม โดยยกเลิกข้อความการกำหนดให้โรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ(Mood Disorder) ที่ปรากฎอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ออก ส่วนโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการของบุคคล ตามที่กำหนดในร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ฉบับนี้ ยังคงเดิม ได้แก่ (1)โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (2)โรคติดยาเสพติดให้โทษ (3)โรคพิษสุราเรื้อรัง (4)โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ พร้อมกำหนดวิธีการตรวจโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. กำหนด

ทั้งนี้ ร่างกฎ ก.พ. จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ที่มา: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล, 18/7/2566

นายกสั่งเร่งช่วยเหลือแรงานไทยในเกาหลีใต้ หลังเกิดอุทกภัย-แผ่นดินถล่ม

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยในสวัสดิภาพแรงงานไทยในเกาหลีใต้ หลังเกิดเหตุอุทกภัยและแผ่นดินถล่มในหลายพื้นที่ เนื่องจากฝนตกหนักนานหลายวัน จึงกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งติดตามสถานการณ์เพื่อประสานความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด

ส่วนกรณีหญิงไทย 1 ราย เสียชีวิตจากเหตุดังกล่าวนั้น เบื้องต้นทราบว่าได้ลอบเข้าไปทำงานโดยใช้วีซ่านักท่องเที่ยว และไม่ผ่านกรมการจัดหางานและไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุน เพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ แต่จากการตรวจสอบของสำนักงานประกันสังคม พบเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 เมื่อปี 2552 ซึ่งมีเงินสะสมชราภาพอยู่จำนวน 320.40 บาท โดยจะมอบสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ให้แก่ทายาทโดยชอบธรรมตามกฎหมายต่อไป

อย่างไรก็ตาม อยากเตือนแรงงานไทยที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศ ให้ไปทำงานด้วยวิธีที่ถูกกฎหมาย และสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฯ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครอง ในกรณีที่ประสบปัญหาในต่างประเทศ

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 17/7/2566

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net