Skip to main content
sharethis

องค์กรสิทธิมนุษยชนและภาคประชาสังคม 35 องค์กร เสนอคณะรัฐมนตรี 'เศรษฐา' ต้องมีมติไม่ต่ออายุสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในจังหวัดชายแดนใต้ แสดงเจตจำนงทางการเมืองต่อพันธกรณีระหว่างประเทศต่อหน้า UN เดือน ก.ย. 66 นี้

17 ก.ย. 2566 องค์กรสิทธิมนุษยชนและภาคประชาสังคม 35 องค์กร ออกแถลงการร่วม ระบุว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) ตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2548 ครม.ทุกรัฐบาลได้มีการขยายการประกาศใช้ติดต่อกันมาครั้งล่าสุดเป็นครั้งที่ 72 การประกาศครั้งสุดท้ายนี้โดยรัฐบาลพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ตามที่เสนอโดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน (กบฉ.) ครั้งที่ 2/2566 ซึ่งมีผลตั้งแต่ 20 มิ.ย.2566 และจะสิ้นสุด 19 ก.ย.2566 ทำให้ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 18 ปีเต็ม หรือว่า 216 เดือนมีการประกาศให้พื้นที่ จชต.ตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายร้ายแรงติดต่อกันส่งผลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศ ทั้งไม่ยังผลต่อการยุติความขัดแย้งใน จชต. และไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนแต่อย่างใด

การประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงนั้น ขาดการตรวจสอบจากรัฐสภาและเป็นการกระทำโดยอำนาจของฝ่ายความมั่นคงที่แทรกแซงการทำงานของรัฐบาลที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 18 ปีเกิดขึ้นจากข้อเสนอของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า เสนอเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ ขาดการพิจารณาถึงความจำเป็นและการได้สัดส่วนในการบังคับใช้กฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงยาวนานติดต่อกันขัดกับพันธกรณีระหว่างประเทศที่สำคัญของไทยคือในฐานะเป็นรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ข้อ 4 ประเทศไทยไม่เคยแจ้งต่อองค์การสหประชาชาติและประเทศสมาชิกของกติการะหว่างประเทศนี้ ในเรื่องการลิดรอนสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนในระหว่างการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงมาเป็นเวลา 18 ปี

แม้การบกพร่องที่ไม่แจ้งต่อองค์การสหประชาชาตินั้นเป็นการกระทำของรัฐบาลก่อนหน้านี้ก็ตาม การแสดงเจตจำนงทางการเมืองของรัฐบาลใหม่โดยการนำของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาคมระหว่างประเทศว่า นับแต่นี้รัฐบาลจะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในการยุติการควบคุมตัวโดยพลการตามอำนาจของพรก.ฉุกเฉินร้ายแรง รวมทั้งการควบคุมตัวบุคคลในสถานที่ที่ไม่ได้ประกาศไว้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันและยุติการซ้อมทรมานและการปฏิบัติที่ทารุณอื่น ๆ ในทุกบริบท ทั้งนี้เพื่อนำตัวผู้กระทำการละเมิดมารับโทษ และเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหาย”

สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงที่ประกาศในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้นั้นให้อำนาจหน่วยงานความมั่นคงหลายหน่วยงานในการควบคุมตัวบุคคลโดยไม่ตั้งข้อกล่าวหา ในสถานที่ที่ควบคุมไม่มีสามารถตรวจสอบได้เป็นระยะเวลายาวนานถึง 30 วัน เป็นการควบคุมตัวตามคำสั่งของฝ่ายบริหารโดยไม่คำนึงว่าบุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้ต้องสงสัยความผิดหรือไม่ การขอใช้อำนาจศาลเพื่อทบทวนการออกหมายจับและการขยายเวลาควบคุมตัวเพิ่มเติมเป็นสิ่งที่ไม่อาจกระทำได้ หรือไม่อาจบังคับใช้ได้ ส่วนการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวโดยหน่วยงานอิสระก็ไม่มีความสม่ำเสมอ พรก. ฉุกเฉิน ยังจำกัดโอกาสที่จะฟ้องคดีทางอาญา ทางวินัยหรือทางแพ่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งละเมิดอำนาจตาม พรก. ฉุกเฉิน และละเมิดสิทธิมนุษยชน มีผู้มองว่ากฎหมายฉบับนี้ช่วยยกเว้นความผิดให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐและป้องกันไม่ให้ผู้เสียหายเรียกร้องค่าชดเชยจากการละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ การละเมิดสิทธิและกฎหมายปกตินี้เกิดขึ้นติดต่อกันในพื้นที่จชต.เป็นเวลา 18ปี

ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) และในวาระที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน หัวหน้าคณะรัฐมนตรีของไทยเดินทางไปร่วมประชุมกับองค์การสหประชาชาติในเวทีด้านความมั่นคง ในเดือนกันยายนนี้

องค์กรภาคประชาชนตามรายงานท้ายแถลงการณ์นี้ขอให้ คณะรัฐรัฐมนตรีต้องไม่มีมติต่ออายุประกาศสถานการณ์.ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง แสดงเจตจำนงทางการเมืองต่อพันธกรณีระหว่างประเทศต่อหน้ายูเอ็น ในการประชุม United Nations General Assembly ที่กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนก.ย.นี้ และทำให้นานาประเทศมีความเชื่อมั่นต่อระบบกฎหมายปกติของไทยตามเจตนารมณ์ที่สำคัญในการแถลงนโยบายรัฐบาลที่จะยึดมั่นและเคารพต่อหลักนิติธรรม

1. สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (CIVIL SOCIETY ASSEMBLY FOR PEACE) หรือ CAP
2. สมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา
3. มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม-MAC
4. เครือข่ายผู้ช่วยทนายความมุสลิม - SPAN
5. องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี - HAP
6. กลุ่มด้วยใจ
7. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
8. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ- JASAD
9. สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ PERWANI
10. Patani Forum
11. มูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
12. กลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม
13. เครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติ
14. สำนักสีลัตฮารีเมาปาตานี เพื่อสุขภาวะชุมชน
15. เครือข่ายสตรีปกป้องสิทธิมนุษยชนปาตานี
16. เครือข่ายเยาวชนพิทักษ์สิทธิเพื่อการพัฒนา
17. สถาบันครูเพื่อการวิจัยระบบการศึกษานูซันตรอ
18. เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคม
19. องค์กรจิตอาสาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสังคม
20. เครือข่ายเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิต
21. อัดดีนการแพทย์และสาธารณสุข – AD-DIN
22. เครือข่ายคนหนุ่มสาวเพื่อการเปลี่ยนแปลง YouthNet
23. เครือข่ายเยาวชนลุ่มน้ำสายบุรี
24. เครือข่ายส่งเสริมจริยธรรมอิสลาม
25. Jaringan Guru Sekolah Melayu/Tadika
26. Pencinta Sejarah Patani
27. เครือข่ายปัญญาชนปาตานี - INSOUTH
28. ศูนย์บูรณาการคนหนุ่มสาวเพื่อศักยภาพชุมชน YICE
29. ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามเพื่อการพัฒนา – PUKIS
30. ชมรมอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม PICSEB
31. ศูนย์วัฒนธรรมมลายูปาตานี BUMI
32. กลุ่มบุหงารายาเพื่อการศึกษา
33. มูลนิธิพัฒนาชุมชนเป็นสุข
34. KpS ครอบครัวรอยยิ้ม หมู่บ้านเป็นสุข
35. สมาคมเพื่อสันติภาพ และการพัฒนส (PDA) 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net