Skip to main content
sharethis


โดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ


 


 


ลองจับตัวเลขคณะรัฐมนตรีจากการแต่งตั้งมาแยกหมวดหมู่ และเทียบสัดส่วนกับประชากรทั้งประเทศดู การจัดทำการศึกษาเปรียบเทียบนี้ กระทำเพื่อเสริมสร้างความรู้ และเพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย "แบบไทย" ที่คณะมนตรีเพื่อความมั่นคงแห่งชาติได้พยายามประกาศอ้าง ทั้งนี้ไม่ได้ทำการเปรียบเทียบตัวเลขและสัดส่วนของผู้ได้รับแต่งตั้งให้อยุ่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 242 คน


 


ซึ่งถ้าผู้ใด สนใจทำการศึกษาตัวเลขเหล่านั้นออกมาก็จะเป็นคุณูปการ ต่อการทำความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยของข้าพเจ้าได้มากขึ้น


 


ถ้าการจัดหมวดหมู่มีความผิดพลาด หรือจัดหมวดหมู่ผิดไปบ้าง เพราะบางครั้งนั้นแยกไม่ออกระหว่างข้าราชการเกษียณอายุ ที่เป็นทั้งข้าราชการ และชนชั้นสูงและ/หรือเป็นนักธุรกิจด้วยในขณะเดียวกัน หรือทหารที่เป็นชนชั้นสูงและ/หรือนักธุรกิจด้วย ขอเชิญท้วงติง และนำเสนอมาได้ ยินดีน้อมรับ


 


0 0 0


 


ชนชั้นสูง/ทหาร - 8% (ไม่รวมนายกรัฐมนตรี)        



  1. พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, 65 ปี

  2. พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, 66 ปี

 


ชนชั้นสูง/ข้าราชการเกษียณ - 81%



  1. หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, 59 ปี

  2. คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, 60 ปี

  3. นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ, 65 ปี

  4. นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์, 65 ปี

  5. นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, 51 ปี

  6. นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ, 65 ปี

  7. นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, 64 ปี

  8. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, 58 ปี

  9. นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 78 ปี

  10. นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร,

  11. นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, 63 ปี

  12. ดร.ธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 65 ปี

  13. นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อดีตประธานกรรมการ, 53 ปี

  14. นายอารีย์ วงศ์อารยะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, 71 ปี

  15. นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, 62 ปี

  16. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, 60 ปี

  17. นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, 63 ปี

  18. คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, 69 ปี

  19. นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีม 62 ปี

  20. นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, 72 ปี

  21. นายมงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, 65 ปี

 


นักธุรกิจ - 11%



  1. นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, 63 ปี

  2. นายสุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา, 64 ปี

  3. นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อายุ 57 ปี

 


สรุปคร่าวๆ เมื่อเทียบกับสัดส่วน ชนชั้นสูง คือ ผู้ได้เปรียบในสังคม อยู่ในแวดวงไฮโซไซตี้


สรุปได้ว่าอายุระหว่าง 50-59 ปี มีจำนวน 4 คน อายุระหว่าง 60-69 มีจำนวน 19 คน และ อายุมากกว่า 70 ปี มีจำนวน 3 คน ทั้งนี้กลุ่มอายุกลุ่มใหญ่สุดคือ 64-65 ปี มีผู้หญิงเพียง 2 คน จาก 26 คน คิดเป็นสัดส่วน 7.6%


 


จึงขอสรุปสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์


และเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ ดังนี้


 


ทหาร/ข้าราชการ/ชนชั้นสูง


ข้าราชการ 2.65 ล้านคน [ทหาร = 8% ข้าราชการ 81%] อยู่ในคณะรัฐบาล       คิดเป็น        89%


 


นักธุรกิจ/ชนชั้นสูง                                                                                            11%


(สถานประกอบการจดทะเบียน 200,000 แห่ง ประมาณคนไม่เกิน 400,000คน)


เกษตรกร 14 ล้านคน ของประชากร                                                                     0%


คนงานในภาคการผลิต 5.3 ล้านคน (ตัวเลขจากกระทรวงอุตสาหกรรม)                    0%


นงานในภาคบริการ 4 ล้านคน (คำนวณจากประกันสังคม)                                      0%


ผู้มีงานทำแต่ยังขาดหลักประกันในการดำเนินชีวิต 22-23 ล้านคน                           0%


คนจน (ที่จดทะเบียน) 8 ล้านคน                                                                           0%


นักเรียน นักศึกษาประมาณ 15 ล้านคน                                                                 0%


 


 







 สรุปคนกลุ่มใหญ่ของประเทศที่อยู่ใน


ภาคเกษตร แรงงาน ภาคบริการ นักศึกษา


รวมกัน 61 ล้านคน คิดเป็น 94% ของจำนวนประชากร 65.34 ล้านคน


มีสัดส่วนตัวแทนในคณะรัฐบาล = 0%



 


ข้อมูลประกอบ        


ข้อมูลสถิติสวัสดิการสังคมในประเทศไทยปี 2546 (ค้นได้เพียงปีนี้)[1]


เป็นข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับงานสวัสดิการสังคม โดยแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ 


(สรุปจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการแห่งชาติ)http://www.m-ociety.go.th/social/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=20


การศึกษา


ü       อัตราผู้อ่านออกเขียนได้ในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 92 ของประชากรทั้งหมด สถานศึกษามีจำนวน 50,908 แห่ง  กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา


ü       มีเงินทุนให้กู้ยืมไปแล้ว จำนวน 197,229.06 ล้านบาท
    - มีนักศึกษากู้ยืมจำนวน 918,966 ราย


สุขภาพอนามัย


ü       โรงพยาบาลของรัฐ 887 แห่ง


ü       โรงพยาลเอกชน 424 แห่ง



ที่อยู่อาศัย

     การดำเนินโครงการบ้านมั่นคง โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เป้าหมายจำนวน 601,727 หน่วย  ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 2,529 หน่วย


 


การประกอบอาชีพ


ü       แรงงาน ข้อมูลการสำรวจแรงงานของประเทศไทยปี 2546
ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 48.38 ล้านคน


ü       กำลังแรงงาน 35.31 ล้านคน มีงานทำ 34.67 ล้านคน ว่างงาน 0.92 ล้านคน
ภาคเกษตรกรร้อยละ 40 นอกภาคเกษตร 60


ü       ในจำนวนนี้ผู้ที่ได้รับการคุ้มครอง จากหลักประกันทางสังคม ประมาณ ร้อยละ 30 หรือประมาณ 10 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มต่างๆ ดังนี้


ü       ลูกจ้างเอกชนได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย ประกันสังคม 7.35 ล้านคน จากหลักประกันทางสังคม ประมาณร้อยละ


ü       ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างรัฐบาล 2.65 ล้านคน


ü       ครูโรงเรียนเอกชน 0.12 ล้านคน


ü       ผู้มีงานทำแต่ยังขาดหลักประกันในการดำเนินชีวิต 22-23 ล้านคน


ü        


ข้อมูลด้านการค้า 
    
  ประเทศไทยส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเป็นสินค้าออกที่มีมูลค่าสูงสุด


 


สถิติข้อมูลของประชาชนผู้ประสบปัญหาทางสังคมและความยากจน


ü       มีผู้จดทะเบียนทั้งสิ้น 8,138,081 ปัญหา 


ü       จำนวนปัญหาทั้งสิ้น 11,997,081 ปัญหา


ü       ปัญหามากที่สุด 3 ลำดับแรก 


1.       ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน 4,513,943 ปัญหา


2.       ปัญหาที่ทำกิน 3,881,863 ปัญหา 


3.       ปัญหาที่อยู่อาศัย 1,908,834 ปัญหา สถิติคนเร่ร่อนที่ขอจดทะเบียน มีจำนวน 5,036 คน


4.        


สถิติอื่นๆ
    
มูลนิธิ จำนวน 9,209 แห่ง สมาคม จำนน 9,816 แห่ง องค์การสวัสดิการสังคมภาคเอกชน จำนวน 7,400 องค์กร อาสาสมัคร 9.7 ล้านคน


 


ที่มา :  http://www.m-society.go.th/social/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=20


 





[1] (สรุปจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการแห่งชาติ)http://www.m-ociety.go.th/social/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=20

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net