Skip to main content
sharethis

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
ประชาไท—28  ก.ค. 48     รัฐไม่เคยเอาวิกฤต การณ์มาจับจึงเป็นปัญหา  เมื่อใดไม่มีการบริหารการใช้น้ำให้ลดลง มีแต่บริหารการจัดหาอย่างเดียว เพราะถ้าไม่คิดบริหารการใช้น้ำให้ประหยัดและมีประสิทธิภาพแล้วก็แก้ปัญหาไม่ได้  ซึ่งต้นเหตุของปัญหาน้ำขาดแคลนจริงๆ ก็อยู่ที่การใช้  ดังนั้นหลักแรกคือรัฐต้องเข้าใจความจริงเสียก่อน"  นายปราโมทย์  ไม้กลัด  ส.ว.กรุงเทพฯ  ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์  วุฒิสภา  กล่าว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้จากการเกิดวิกฤตการน้ำขาดแคลนอย่างหนักใน จ.ระยอง โดยเฉพาะการมีน้ำไม่พอใช้ในนิคมอุตสาห

 

 

กรรม  ทำให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องนำโครงการต่างๆ เข้าไปแก้ปัญหาเรื่องน้ำ  ขณะที่ยังมีเสียงคัดค้านในผลกระทบที่กว้างขวาง  และการตั้งคำถามจากสังคมและประชาชนในพื้นที่เป็นระยะ

 

 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม  นายปราโมทย์  มองว่า  ปัญหาวิกฤตการณ์น้ำในจ.ระยองเกิดจาก 2 ปัญหาใหญ่  คือการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมและการใช้น้ำที่เติบโตมากผิดปกติ 

 

 

 

 

 

ส.ว.กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า  "การใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมปัจจุบันนั้น  มีตัวเลขการใช้น้ำต่อปีเติบโตมากสมัยผมเป็นอธิบดีกรมชลประทานในปี 42 ในภาคอุตสาหกรรมใช้น้ำปีละไม่เกิน 100 ล้านลบ.ม.จากหนองปลาไหลและอ่างฯ ดอกกราย  พอถึงปี 47 มีสถิติการใช้น้ำสูงถึง 210 ล้าน ลบ.ม.  และมาถึงปีนี้มีการใช้น้ำถึง 270 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ผมสงสัยว่า 5 ปีที่ผ่านมา ทำไมปริมาณการใช้จึงเกิดขึ้นมากถึง 3 เท่า  ซึ่งเท่ากับว่าได้ใช้จนเต็มศักยภาพของแหล่งน้ำแล้ว"

 

 

 

 

 

"ภาคอุตสาหกรรรมฮุบน้ำไปหมดยังไม่พอ  ยังทำให้อย่างอื่นพลอยเสียหายไปด้วย 5 ปีที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้น ฝ่ายอนุญาตให้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมกับฝ่ายดูแลเรื่องน้ำต่างคนต่างอยู่มากเกินไป" อดีตอธิบดีกรมชลประทาน  กล่าว

 

 

 

 

 

ขณะที่ทั้งหนองปลาไหลและอ่างฯ ดอกกรายมีน้ำเต็มศักยภาพที่ 250 ล้าน ลบ.ม. ส.ว.ปราโมทย์ตั้งข้อสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น และเสนอว่าในการอนุญาตตั้งโรงงานผู้รับผิดชอบต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่   

 

 

 

 

 

นายปราโมทย์  กล่าวต่อไปว่า  เนื่องจากปี 47 มีน้ำเป็นต้นทุนเหลือน้อยมาก โดย 1 ม.ค. ปีนี้เหลือน้ำอยู่ในอ่างเก็บน้ำเพียง 140 ล้านลบ.ม. เท่านั้น  และหลังจากนั้นก็ใช้มาโดยตลอดจนถึงวันนี้  ซึ่งจะโทษธรรมชาติไม่ได้  เพราะฝนตกปีนี้น้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยจึงเพียงพอในเฉพาะการเกษตรเท่านั้น  แต่ไม่ไหลไปในอ่างเก็บน้ำ ถ้าทางการจับทางมาตลอดก็ต้องรู้มานานแล้วตั้งแต่ต้นปีนี้ เพราะมีสัญญาณบ่งบอก  แต่ผู้ดูแลรับผิดชอบเพิ่งมาเอะอะวิกฤตน้ำเอาเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา

 

 

 

 

 

"ปีนี้ฝนตกน้อยแทบทุกภาค ซึ่งฝนจะตกมากตามธรรมชาติจนถึงต.ค.ของทุกปี  แต่เราจะหวังมากเกินไปได้อย่างไร  ตอนนี้เท่ากับเป็นวิกฤตอย่างแท้จริง  ซึ่งความจริงเป็นวิกฤตการณ์มาตั้ง 2 เดือนกว่าแล้ว  แต่รัฐบาลบอกไม่ต้องเป็นห่วง  เท่ากับไม่ยอมรับข้อเท็จจริง"  อดีตอธิบดีกรมชลฯ ติงการทำงานของภาครัฐ

 

 

 

 

 

อดีตอธิบดีกรมชลฯ ยังบอกว่า  ปัญหาเกิดจากผู้รับผิดชอบไม่ยอมรับความจริง  ไม่เอาแนวการบริหารวิกฤตมาจับตั้งแต่ 2-3 เดือนที่แล้ว  ตอนนี้น้ำไม่มีจะทำอะไรได้  น้ำไม่มีก็ต้องมีหลักบริหารการใช้  ต้องร่วมมือร่วมใจกันทำจริง  การที่อุตสาหกรรมซื้อน้ำและทิ้งน้ำที่ใช้แล้วลงทะเลไม่ถูกต้อง  เราต้องมีการใช้ซ้ำแบบรีไซเคิลพร้อมกับช่วยกันประหยัดอย่างจริงจัง

 

 

 

 

 

"ขณะนี้รัฐใช้แต่หลักบริหารการจัดหาน้ำเสริมด้วยวีธีการต่างๆ ท่าเดียว  ทั้งๆ ที่ศักยภาพของน้ำไม่มี  น้ำบาดาลใต้ดินรู้ว่ามันมีต่ำเพราะข้างล่างจ.ระยองมีแต่หินแกรนิต  รัฐก็บังคับให้หน่วยงานต้องหาน้ำมาให้ได้ 50,000 ลบ.ม.ต่อวัน  ถือเป็นการคาดโทษ ผมไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้  เพราะการทำงานแก้ปัญหาต้องการความจริง 

 

 

 

 

 

ส.ว.ปราโมทย์  ย้ำว่า  การบริหารน้ำระยะยาวต้องทำความเข้าใจกับมวลชนอย่างแท้จริง  และถ้าจะแก้ไขให้ได้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน  สิ่งที่รัฐบอกได้ตอนนี้เป็นเพียงหลักการ  การดำเนินการต่างๆ ยังเร่งรีบไม่ได้ รัฐต้องเอาความจริงเป็นเครื่องมือมาจับในทุกๆ เรื่อง  แต่ที่ผ่านมารัฐปิดบังความจริงมาโดยตลอด

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net