Skip to main content
sharethis

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
ประชาไท—16 ส.ค. 48      ปธ.ศูนย์เตือนภัยซึนามิ ยืนยันตั้งเสาเตือนภัยครบ 62 ต้นใน 6 จังหวัดฝั่งอันดามัน  ทันรับญาติผู้เสียชีวิตชาวต่างประเทศที่จะเดินทางมารำลึกครบรอบ 1 ปีซึนามิ เดือนธันวาคม ปีนี้  ระบุไทยในอนาคตต้องทำให้ระบบเตือนภัยมั่นใจได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

"จุดตั้งระบบเตือนภัยต้องมีระบบที่ทนทานคลื่นได้  ซึ่งได้กำหนดตั้งเสาเตือนภัยจำนวน 62 ต้น ใน 6 จังหวัดฝั่งอันดามัน  โดยให้เสร็จก่อนวันที่ 26 ธ.ค. ปีนี้  ซึ่งเป็นวันครบรอบเกิดคลื่นยักษ์ซึนามิ  ซึ่งจะมีญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตชาวต่างประเทศกำหนดการมาเยี่ยม ณ จุดที่พี่น้องเขาเสียชีวิตประมาณ  2-3 หมื่นคน  ขณะนี้พยายามติดตั้งให้ครบ  เมื่อระบบแล้วเสร็จก็ไม่ต้องเป็นห่วงอีก" ดร.สมิทธ  ธรรมสโรช  ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  และประธานกรรมการศึกษาระบบเตือนภัยล่วงหน้า (ซึนามิ) กล่าวถึงมาตรการระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Early  Warning  System)  ที่ได้ดำเนินการมาแล้วและแผนในระยะต่อไป

 

 

 

 

 

ทั้งนี้  มาตรการขั้นแรก  คือมาตรการการถ่ายทอดข้อมูลการเตือนภัยให้ได้รับทราบผ่านหน่วยงานโทรคมนาคมต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน  มาตรการขั้นที่ 2  คือการวางแผนและติดตั้งหอกระจายข่าวสำหรับการเตือนภัยล่วงหน้า  และมาตรการที่ 3 คือให้การศึกษาแก่เยาวชน  ประชาชนและนักท่องเที่ยวให้มีความเข้าใจถึงการเกิดภัยธรรมชาติและการปฏิบัติตนให้รอดพ้นในพื้นที่เสี่ยงภัย

 

 

 

 

 

ดร.สมิทธ กล่าวระหว่างร่วมเสวนาในเวที "ระบบการสื่อสารข้อมูลข่าวสารในภาวะวิกฤต" กรณีศึกษาจากประสบการณ์ธรณีพิบัติภัยซึนามิ  ซึ่งจัดโดยนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า รัฐบาลไม่ควรห่วงเรื่องการท่องเที่ยวเป็นหลัก  เพราะถ้ามีระบบเตือนภัยที่ดี  แน่นอนและมั่นใจได้  ทำให้เขาเชื่อว่าไปเที่ยวแล้วไม่ตาย  ไม่ใช่ว่าระบบการเตือนภัยต้องให้ลูกจองหลุมศพไว้ก่อนหรือเปล่า เรื่องนี้ทั้ง รัฐบาลและสื่อต้องเข้าใจด้วย

 

 

 

 

 

"ขณะนี้ยังมั่นใจไม่ได้  เพราะยังไม่มีเครื่องมือตรวจวัดรอยเคลื่อน  คงต้องรอจนกว่ารัฐบาลจะให้งบประมาณ  ตอนนี้เป็นเพียงการสร้างความมั่นใจเพื่อให้โอกาสถูกมากกว่าผิด  ซึ่งต้องยอมรับว่าเชื่อเอาไว้ก่อนเพราะไม่มีเวลาไม่เชื่อ  จนกว่ารัฐจะมีเครื่องมือยืนยันได้ว่าหลังเกิดแผ่นดินไหวจะเกิดซึนามิหรือไม่" ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว

 

 

 

 

 

 ดร.สมิทธ  ยกตัวอย่างว่า  ตะกอนดินในมหาสมุทรที่สะสมและก่อตัวสูงเป็นกิโลเมตร  คือตัวการสำคัญอีกประการ ที่ก่อให้เกิดซึนามิ โดยเมื่อตะกอนล้มจากแผ่นดินไหวเพียงนิดเดียว  ซึ่งบางครั้งน้อยกว่า 7 ริกเตอร์  ก็จะทำให้ซึนามิเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องฟังข้อมูลในหลายพื้นที่ก่อนประกาศเตือนภัย  หากไม่มีข้อมูลยืนยันก็จะทำให้เดือดร้อนกันทั่วไป  ทั้งนี้ต้องมีความรู้เป็นเบื้องต้นเสียก่อน

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net