Skip to main content
sharethis

21 มิ.ย. 2549 กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์(รอยเตอร์ส): สมัชชาสิทธิมนุษยชน องค์กรใหม่เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั่วโลกได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่แล้วในต้นสัปดาห์นี้ แทนที่องค์กรเดิมที่เพิ่งยุบไปเพราะไร้ประสิทธิภาพ หลายชาติรอความหวัง


หน่วยงานใหม่เพื่อสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ หรือสมัชชาสิทธิมนุษยชน เริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (20 มิ.ย. 2549) ภายใต้การเฝ้ามองอย่างใกล้ชิดเพื่อทราบว่าหน่วยงานนี้จะปกป้องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ได้ดีกว่าหน่วยงานประเภทเดียวกันที่หน่วยงานเดิมที่เพิ่งยุบไปหรือไม่


 


นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้หน่วยงานนี้เกิดขึ้นแทนหน่วยงานเดิมคือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้เข้าร่วมพิธีเปิด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจากชาติต่างๆได้มาร่วมเป็นสกขีพยานที่กรุงเจนีวาด้วยในวันนั้น


 


เวลาส่วนใหญ่ของสองสัปดาห์แรกแห่งการปฏิบัติงานสำหรับองค์การสหประชาชาติ ที่มีสมาชิกทั้งหมด 47 ประเทศนี้ จะเป็นการวางแผนปฏิบัติงานในอนาคต แต่ประธานสมัชชาคือเอกอัครราชทูนหลุยส์ อัลฟอนโซ เดอ อัลบา แห่งเม็กซิโกได้จัดเวลาแยกเอาไว้แล้ว เพื่อตรวจสอบวิกฤติการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ในเวลาส่วนที่เหลือจะเป็นการทดสอบว่าองค์กรใหม่นี้จะพร้อมหรือไม่กับการทำลายบรรยากาศแห่งการเผชิญหน้า และชิงดีชิงเด่นกันทางการเมือง ซึ่งมีอยู่บ่อยๆที่เป็นการเผชิญหน้าระหว่างชาติพัฒนาแล้วกับชาติกำลังพัฒนา ซึ่งทำให้คณะกรรมการได้รับความเสียหาย ตามที่นักการทูตและนักเคลื่อนไหวหลายรายกล่าวไว้


 


นางเพ็กกี้ ฮิคส์ ผู้แทนผู้อำนวยการองค์กรฮิวแมน ไรท์ วอทช์ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหรัฐฯกล่าวแสดงความเห็นว่า"องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนใหม่นี้ ต้องทำอะไรได้มากกว่าคณะกรรมการเก่า สมาชิกประเทศใหม่ๆจะต้องค้นพบหนทางใหม่ และมีประสิทธิภาพมากกว่าเพื่อช่วยเหลือเหยื่อผู้ถูกคุกคามด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลก แต่สมัชชานี้ซึ่งเกิดขึ้นตามความตั้งใจจะปฏิรูปในหลายๆด้านของสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นอย่างยากลำบาก เมื่อสหรัฐฯปฏิเสธจะเข้าเป็นสมาชิกโดยอ้างว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นยังไม่มากพอ


 


สมัชชาดังกล่าวนี้แตกต่างจากคณะกรรมการเพื่อสิทธิมนุษยชนที่แล้ว ซึ่งสมาชิก 53 ประเทศถูกแต่งตั้งมาจากภาคพื้นทวีปของพวกตน ซึ่งต้องการจะเข้ามามีส่วนในสมัชชาเพื่อคุมเสียงส่วนใหญ่ในคณะสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ รัฐบาลสหรัฐฯสนับสนุนคำเรียกร้องของนายอันนันที่ต้องการให้ใช้เสียงสนับสนุนสองในสาม ซึ่งจะทำให้กันผู้ไม่ประสงค์ดีต่อคณะกรรมการ และอาจจะกีดกันการกระทำที่มีประสิทธิภาพด้านการต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนออกไป


 


แต่นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนหลายคนกล่าวว่า การดำเนินการนี้จะก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์มากมายจากนานาชาติเกี่ยวกับเหตุการณ์ในเรือนจำผู้ก่อการร้ายที่อ่าวกวนตานาโม และในเรือนจำของสหรัฐฯอีกหลายแห่ง รวมทั้งคุกลับอื่นๆ ทั้งยังไม่มีความแน่นอนด้วยว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะชนะการเลือกตั้งหรือไม่ หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ก็คือข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนของชาติต่างๆที่เป็นสมาชิกจะถูกนำมาทบทวนเป็นประจำทุกปี จะเป็นภาระของสมัชชาเพื่อจะตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร


 


ในขณะที่บางประเทศซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนค่อนข้างคลุมเครือ เช่นคิวบา,ซาอุดิ อาเรเบีย,รัสเซียและจีนชนะการเลือกตั้ง ประเทศอื่นๆกลับไม่ได้รับเลือกตั้งหรือไม่สมัครรับเลือกตั้ง สำหรับรัฐบาลสหรัฐฯนั้นยังไม่ชี้ชัดลงไปถึงท่าทีของตนในอนาคต และได้เตรียมการมานานแล้ว ตามที่เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำสหประชาชาติในเจนีวาได้แถลงต่อสมัชชาไปเมื่อวันพุธที่ผ่านมา


 


องค์กรสันนิบาตอิสลามได้แสดงท่าทีชัดเจนแล้ว ว่าสถานการณ์ภายในพรมแดนที่อิสราเอลยึดครองอยู่จะต้อถูกหยิบยกขึ้นมาหารือกัน และยังแสดงความต้องการให้เคารพศาสนาด้วย ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่พอใจบานปลาย เมื่อมีผู้เขียนการ์ตูนหมิ่นศาสดา


 


ที่มา : ไทยทาวน์ ยูเอสเอนิวส์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net