Skip to main content
sharethis

วงเสวนาว่าด้วยการมีส่วนร่วมในตลาดเเรงงานของ ‘ผู้หญิง’ ผู้เป็น ‘แรงงานนอกระบบ’ เนื่องในวันเเรงงานสากลที่ผ่านมา แกนนำแรงงานและนักเคลื่อนไหวด้วยสิทธิแรงงานสะท้อนปัญหาเปราะบาง เงินน้อย ไร้สวัสดิการ และภาระที่ต้องแบกรับ พร้อมเรียกร้องรัฐบาลทบทวนกฎหมายแรงงานให้ทุกกลุ่มเข้าถึงความคุ้มครองทางสังคม เร่งปรับปรุงให้สิทธิประโยชน์ในระบบประกันสังคม และรับรองเสรีภาพในการสมาคม-สิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรอง 

29 เม.ย. 2567 สถาบันเอเชียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Friedrich-Ebert-Stiftung, Gender-Centru แห่งมหาวิทยาลัยรัฐมอลโดวา และโครงการ Marie Skłodowska-Curie Actions (MSCA) Project LABOUR จัดงานงานสัมมนาวันแรงงานสากลหัวข้อ "เชื่อมช่องว่างทางเพศ: การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในตลาดแรงงาน" โดยจัดขึ้นที่ห้องประชุมจุมภฏ-พันธ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในงานมีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน เช่น สมจิตร ลาเลิศ ผู้หญิงที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนตร์รับจ้าง และประธานวินสุขุมวิท 81 - อ่อนนุช, กชพร กลักทองคำ แรงงานหญิงและประธานสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย), สุจิน รุ่งสว่าง หรือ ป้าจิน ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ รวมทั้ง บัณฑิตย์ แป้นวิเศษ จากมูลนิธิเพื่อนหญิง 

การมีส่วนร่วมของ ‘ผู้หญิง’ ในฐานะ ‘เเรงงานนอกระบบ’ เปราะบาง เงินน้อย ไร้สวัสดิการ

สมจิตร ลาเลิศ ผู้หญิงที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนตร์รับจ้าง และประธานวินสุขุมวิท 81 - อ่อนนุช กล่าวว่า ในเรื่องของเพศนั้น เราอาจติดภาพจําว่าผู้ขับขี่จักรยานยนตร์รับจ้างมักจะเป็นผู้ชาย เเต่ในความเป็นจริงแล้วจํานวนผู้หญิงที่ขับขี่จักรยานยนตร์รับจ้างก็มีไม่น้อยเช่นกัน 

“ครั้งเเรกทํางานเกี่ยวกับโรงงาน เเต่มันไม่อิสระ เวลาพ่อแม่ป่วยก็ลางานยาก ก็เลยผันผวนมาขับวินมอไซต์ เมื่อก่อนผู้หญิงก็ยังขับไม่ได้ เพราะว่ามันมีมาเฟียเยอะ” สมจิตร กล่าวเเละว่าจากนั้นปีพ.ศ. 2546 ได้มีการปราบมาเฟียจากรัฐบาลในยุคนั้น ก็เลยได้เข้ามาทําในปีพ.ศ. 2548 เมื่อเริ่มขับแรกๆ ก็ประหม่าเหมือนกัน กลัววิ่งกลางคืนจะมีผู้โดยสารผู้ชายมาทําร้าย แต่ผู้โดยสารก็สุภาพดี ที่นี้การขับวินก็เเต่ก่อนมีมาเฟียเยอะ ก็คือขับไปจะมีเเต่กรรมการลูกน้องของมาเฟียจะเก็บต่อคนคนละ 600 ถ้า 600 เก็บจํานวน 150 คัน นี่ก็ประมา 90,000 กว่าบาทแล้ว ทีนี้สวัสดิการอะไรไม่มี ก็ส่งเงินให้ตํารวจแล้วก็สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขตด้วย เเต่ก็ไม่ได้สนว่าเราต้องการทํามาอาชีพหากินเลี้ยงครอบครัว เพราะทําไปทํามาก็ไปโดนตํารวจจับที่ไฟแดงอ่อนนุช 10 แล้วช่วงนั้นที่สมาชิกรวมกันจ่ายสวัสดิการเดือนละ 90,000 บาทไปนั้น ไม่มีให้กับสมาชิกวินเลย ก็เลยพาสมาชิกวิน ลุกขึ้นสู้ พากันไม่จ่าย ทีนี้กรรมการก็เอาทหารมาคุมหน้าวิน ว่าใครไม่จ่ายก็จะโดน ซึ่งมันก็หนักเกินไป การที่ทํางานตากแดดตากฝนหามาได้เท่าไหร่ก็ต้องจ่ายให้ราชการและสถานีตํารวจนครบาล (สน.) หมด ดังนั้น ปัจจุบันจึงตั้งกลุ่มออมทรัพย์ โดยช่วยให้สมาชิกวินไม่ต้องไปกู้เงินของมาเฟีย ซึ่งจะเก็บเงินลูกน้องเดือนละ 150-200 บาท ก็จะมีสวัสดิการรถล้ม ผู้โดยสารนอนโรงบาล ถ้าพ่อแม่เสียลูกก็จะมีสวัสดิการตรงนี้ช่วย ซึ่งสมาชิกในกลุ่มก็มีวินัยเเละเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

“ทัศนคติของผู้บริหารสําคัญ ไม่ว่าจะออกกฎหมาย แก้กฎหมาย ก็ทําไม่ได้ มีเเต่ตัวหนังสือ เพราะผู้บริหารคิดเอง เออเอง ผู้ถูกกระทําจึงไม่มีโอกาสเข้าไปนั่งแก้กฎหมายความให้เกิดความเท่าเทียม” กชพร กลักทองคำ ประธานสมาพันธ์แรงงานนอกระบบ (ประเทศไทย) กล่าว และว่าเพราะผู้หญิงนั้นต้องทํางานหนักถึง 2 เท่า เพราะต้องทํางานบ้าน คอยดูเเลคนในครอบครัว และยังต้องทํางานนอกระบบเพื่อหาเลี้ยงชีพอย่างเช่นการรับงานมาทําที่บ้านและมักจะเป็นงานที่ไร้ทักษะ อย่างเช่น งานเย็บผ้า หรือลูกจ้างทํางานบ้าน เป็นต้น และรายได้มักจะได้เเค่การรับงานมาทํา แต่งานดูเเลในบ้านกลับไม่มีรายได้  ซึ่งการเป็นเเรงงานนอกระบบเช่นนี้ยังเป็นงานที่เปราะบาง เงินน้อย ไร้สวัสดิการ เนื่องจากรัฐไม่ได้มองว่าเป็นลูกจ้าง ไม่ได้อยู่ในมาตรา 33 ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูเเลของประกันสังคมและการทํางานบ้านก็ไม่จําเป็นต้องมีรายได้ ดังนั้น ผู้หญิงกลุ่มนี้จึงมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก อย่างเช่น หลังคลอดลูกจะดูเเลสุขภาพอย่างไร และไม่มีศูนย์รับเลี้ยงเด็กเพื่อช่วยเเบ่งเบาแม่ที่ต้องออกไปทํางาน ถึงมีก็ต้องเสียเงิน ทําให้ผู้หญิงยังต้องทํางานหนักอยู่ พร้อมทั้งผู้ชายก็ไม่ได้มองว่าผู้หญิงคือเเรงสนับสนุนที่คอยอํานวยความสะดวก ดูเเลบ้าน ให้ตัวเองสามารถออกไปทํางานข้างนอกได้ 

ขณะที่ สุจิน รุ่งสว่าง (ป้าจิน) ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ ผู้ผลักดันให้เเรงงานนอกระบบเข้าสู่การคุ้มครองด้านสวัสดิการ กล่าวว่า ปัจจุบันเเรงงานนอกระบบเหล่านี้ ยังมีความเป็นอยู่กันอย่างยากลําบาก พยายามผลักดันกว่า 40 ปีเเล้ว ก็ยังเข้าสู่ระบบไม่ได้ 

"ป้าอาจไม่ทันได้เห็นภาพเเรงงานนอกระบบได้รับกฎหมายคุ้มครอง  เนื่องจาก สังคมยังติดภาพจําคนจนเป็นโจร ทั้งที่พื้นฐานล่างเศรษฐกิจที่รัฐต้องการสร้างให้เป็นสีขาว เเต่จะขาวได้อย่างไร ในเมื่อประชาชนยังไม่มีจะกินอยู่ บางรายจะไปกู้เงินธนาคารมาลงทุนยังทําไม่ได้เลย เพราะเป็นเเรงงานนอกระบบ ไม่มีรายได้ประจํา กฎหมายทําให้ถูกเลือกปฎิบัติ” ป้าจิน กล่าว และย้ำด้วยว่า นี่เป็นความรันทดของการเป็นเเรงงานนอกระบบ แม้จะมีการดูเเล การส่งเสริม แต่ก็ยังมีช่องโหว่อยู่ 

ความสําเร็จและความท้าทายของการมีส่วนร่วมในตลาดเเรงงานกับภาระ 3 ชั้น

บัณฑิตย์ แป้นวิเศษ จากมูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า แม้ปัจจุบันความเท่าเทียมทางเพศ กฎหมายคุ้มครองเเรงงานจะคุ้มครองเเรงงานหญิงมากขึ้น เเต่ส่วนใหญ่เเรงงานนอกระบบนั้นเป็นเเรงงานหญิง และมักจะอยู่ในอุตสาหกรรมเบา อย่างเช่น ลูกจ้างทํางานบ้าน เเรงงานภาคเกษตร และลูกจ้างในภาคบริการ ซึ่ง 3 กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีจํานวนเเรงงานเป็นจํานวนมาก ซึ่งประกอบไปด้วย แรงงานไทย เเรงงานเด็กเเละเเรงงานข้ามชาติ ที่ถูกยกเว้นในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หมายถึงเขาจะไม่ได้เข้าถึงระบบประกันสังคม มาตรา 33 ซึ่งเป็นข้อหวั่นใจว่าตอนนี้เเรงงานในระบบนั้นมีการลดน้อยถอยลง แต่จะถูกเคลื่อนย้ายมาเป็นเเรงงานนอกระบบ และถูกจัดอยู่ในมาตรา 40 ในประกันสังคมที่บอกว่าให้สิทธิประโยชน์ไม่มากเท่ากับมาตรา 33 หรือ 39

เมื่อพูดถึงความเท่าเทียมของ ‘ผู้หญิง’ ในปัจจุบันนั้น ต้องรับภาระถึง 3 ชั้น คือ 1.ทํางาน 2.ดูเเลครอบครัว 3.ต้องออกมาทําอาชีพในภาคบริการ อย่างเช่นเเรงงานหญิงอายุน้อย ในชนบทและอาจรวมไปถึงเเรงงานข้ามชาติ ที่ออกมาเป็นแรงงานนอกระบบ อย่างเช่นการค้าประเวณี ซึ่งบัณฑิตมีความพยายามที่จะเรียกร้องให้เเรงงานกลุ่มนี้เข้าสู่การคุ้มครองของกฎหมาย

ส่วนความสําเร็จของเเรงงานหญิงในตลาดแรงงานนั้น บัณฑิตย์ กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของผู้หญิงกับผู้ชายในการพัฒนาในตลาดเเรงงาน จะเห็นว่ากฎหมายมีการคุ้มครองแรงงานหญิงมากขึ้น แล้วก็มีการพูดถึงเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์เเละระบบสุขภาพ เช่นเเรงงานหญิงสามารถลาคลอดได้ จาก 95 วัน เป็น 98 วัน แต่เป็นมาตรฐานขั้นตํ่าของภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) แต่ องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่าผู้หญิงควรจะมีเวลาเลี้ยงดูและให้นมบุตรเป็นเวลา 180 วัน ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นสูงของ ILO แม้กระทั่งการลาเมื่อมีประจําเดือนก็เช่นกัน ซึ่งตรงนี้เองประเทศไทยยังไปไม่ถึง

เมื่อผู้หญิงมีการจ้างงานมากขึ้น เเต่เป็นแรงงานอกระบบ ซึ่งมีความสลับซับซ้อนในเชิงสัญญาจ้าง ไม่ใช่เเค่พี่วินมอเตอร์ไซด์ ไม่ใช่เเค่คนรับงานไปทําที่บ้าน เเต่ยังมี “ลูกจ้างภาครัฐ” ซึ่งบัณฑิตคิดว่ามีเป็นกลุ่มใหญ่มาก และเป็นการจ้างงนในระบบ ‘สัญญาจ้าง’ ซึ่งเป็นระบบเหมาชิ้นงาน ต่อสัญญา ซึ่งก็ไม่มีความมันคงเช่นกัน และไม่ทราบว่าลูกจ้างผู้หญิงสามารถใช้สิทธิ์ลาคลอดได้มากเเค่ไหน และได้เข้าประกันสังคมหรือไม่ หรือเขาไปรักษากับประกันเอกชน

“ปัญหาคือ ต้องวิ่งตามกฎหมายเเรงงานหลายฉบับ พร้อมกับรูปแบบการจ้างงานที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น จะทําอย่างไรให้ประเทศไทยมีกฎหมายเเรงงานฉบับเดียว และ ผู้หญิงควรมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์” ตัวแทนจากมูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าว และว่าในเเต่ละบทบาทที่กล่าวมาข้างต้น ‘ผู้หญิง’ มีส่วนร่วมเป็นเบื้องหลังของตลาดแรงงานอยู่เสมอ โดยที่มีภาระที่ต้องหาเงินและส่วนมากเป็นเเรงงานนอกระบบแถมยังต้องดูเเลงานบ้านเเละดูเเลคนในครอบครัว พร้อมกับมีความท้าทายในด้านของการศึกษาที่ยังไปไม่ถึง การกําหนดนโยบายยังมีไม่มากพอ และบทบาทในองค์กรต่าง ๆ อย่างเช่น สหภาพเเรงงานที่คนกําหนดนโยบายยังเป็นผู้ชายอยู่ เป็นต้น

ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องและดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้แรงงานทุกกลุ่มที่เข้าไม่ถึงความคุ้มครองทางสังคม เช่น ลูกจ้างทำงานที่บ้าน ลูกจ้างภาคการเกษตร ไรเดอร์ ผู้ขับขี่จักยานยนตร์รับจ้าง และผู้รับงานไปทำที่บ้าน ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และควรมีมาตรการในการนำลูกจ้างทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยเข้าสู่ระบบประกันสังคม และเร่งปรับปรุงให้สิทธิประโยชน์ในระบบประกันสังคม และขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 ซึ่งรับรองเสรีภาพในการสมาคม และสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง เพื่อให้แรงงานทุกกลุ่มในประเทศไทยได้รับความเป็นธรรม มีความมั่นคง ปลอดภัยในการทำงาน มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมที่ดี และมีมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ โดยไม่ถูกแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ 

อนึ่งการสัมนานี้ ผู้จัดระบุถึงวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้, แนวทางปฏิบัติที่ดี, และบทเรียนที่ได้รับเกี่ยวกับการเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจให้กับผู้หญิง โดยมุ่งเน้นที่ตลาดแรงงาน และยังเป็นเวทีสำหรับแบ่งปันบทเรียนที่ได้รับและพูดคุยถึงความท้าทายที่ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงต้องเผชิญในบริบทของการเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้เเนวคิดเศรษฐกิจสมานฉันท์

สำหรับ วรันธร ตังคไชยนันท์ ผู้เรียบเรียงงานชิ้นนี้ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาฝึกงานประจำกองบรรณาธิการข่าวประชาไท ซึ่งมาจาก สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net