Skip to main content
sharethis
Event Date

สัมมนาวิชาการเรื่อง "ข้อเท็จและความจริง เหมืองทองคำ จังหวัดเลย" ครั้งที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2560  เวลา 08.30 น. – 16.30 น. ณ ห้องประชุมพันธุม ดิษยมณฑล ชั้น 2 อาคารเคยูโฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน  กรุงเทพฯ ร่วมจัดโดย มูลนิธิบูรณะนิเวศ และศูนย์วิจัยเปิดมินามาตะศึกษา มหาวิทยาลัยคุมาโมโตกักกุเอ็ง ประเทศญี่ปุ่น

วัตถุประสงค์
เพื่อนำสนอชุดข้อมูลจากการศึกษาในพื้นที่ 6 หมู่บ้านของตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
เรื่องวิถีชีวิต ทรัพยากรท้องถิ่น การปนเปื้อนโลหะหนักในตะกอนดิน และความเสี่ยงต่อสุขภาพในปัจจุบันและ
ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของภาครัฐ บริษัทฯ และประชาชนในการจัดท า
มาตรการฟื้นฟูเยียวยาให้สอดคล้องกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนทั้ง 6 หมู่บ้าน

กำหนดการ
 

08.30 – 09.00 น.      ลงทะเบียน

09.00 -  09.15 น.      กล่าวต้อนรับและเปิดการสัมมนา โดย ผู้แทนจากมูลนิธิบูรณะนิเวศ และศูนย์วิจัยเปิดมินามาตะศึกษา
มหาวิทยาลัยคุมาโมโตกักกุเอ็ง ประเทศญี่ปุ่น
 

09.15 – 12.00 น.       การนำเสนอผลการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และการอภิปราย 1) การศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิตและทรัพยากรท้องถิ่นของประชาชน 6 หมู่บ้าน  ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย  โดย ศ.ดร. ทาคาชิ มิยากิตะ ผู้อำนวยการภาคสนาม ศูนย์วิจัยเปิดมินามาตะศึกษา มหาวิทยาลัยคุมาโมโตกักกุเอ็ง ญี่ปุ่น

2)  การศึกษาข้อเท็จจริงจากรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และการตรวจสอบตามมาตรการในรายงานอีไอเอ โครงการเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดเลย  โดย เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ
 
3)  การศึกษาการปนเปื้อนโลหะหนักในตะกอนดิน พื้นที่รอบเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดเลย โดย อัครพล ตีบไธสง ฝ่ายเทคนิคและวิชาการ  มูลนิธิบูรณะนิเวศ
 
4)  การศึกษาความเสี่ยงทางสุขภาพของประชาชน กรณีเหมืองทองคำ จังหวัดเลย โดย อัฏฐพร ฤทธิชาติ  ฝ่ายเทคนิคและวิชาการ  มูลนิธิบูรณะนิเวศ
 
ถาม-ตอบ และแลกเปลี่ยน
 

12.00 – 13.00 น.      พัก-รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น.      การนำเสนอผลการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และการอภิปราย (ต่อ)

5)  การศึกษาเพื่อสืบสวนสาเหตุการปนเปื้อนของสารหนู และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม กรณีเหมืองทองคำ จังหวัดเลย  โดย ดร. ธนพล เพ็ญรัตน์  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 
6)  การนำเสนอ (ร่าง) แผนฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบเหมืองแร่ทองคำ และแผนปฏิบัติการลดและป้องกันการปนเปื้อนในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย บริเวณตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดย ดร. วิมลิน แกล้วทนง นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ ส่วนน้ำเสียอุตสาหกรรม สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ
 
7)  การฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษเหมืองแร่ทองคำ:  ประสบการณ์จากประเทศญี่ปุ่น โดย ศ.ดร. ชิเกฮารุ นาคาจิ เลขาธิการ ศูนย์วิจัยเปิดมินามาตะศึกษา มหาวิทยาลัยคุมาโมโตกักกุเอ็ง ประเทศญี่ปุ่น
 
ถาม-ตอบ และแลกเปลี่ยน
 

15.00 – 15.45 น.       วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ และการแก้ปัญหาพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ ภายใต้ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560  โดย เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์  ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรม ดาวัลย์ จันทรหัสดี เจ้าหน้าที่อาวุโส มูลนิธิบูรณะนิเวศ

 

15.45 – 16.00 น.       สรุป และปิดการสัมมนา

ดำเนินรายการ

        ช่วงเช้าโดย: กรรณิการ์ กิจติเวชกุล นักเขียนอิสระและผู้จัดรายการ "รายการเช้าทันโลก" 96.5 FM
        ช่วงบ่ายโดย: ศ.ดร.นพ. พรชัย สิทธิศรัณย์กุล หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net