Skip to main content
sharethis

กวาวเครือขาว ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ Papilionaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pueraria mirifica ตามตำรายาไทยส่วนรากของสมุนไพรชนิดนี้ ถูกนำมาใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงผิวพรรณและทรวงอกให้เต่งตึง โดยมีขนาดรับประทานเพียงวันละหนึ่งเม็ดพริกไทย อีกทั้งมีข้อห้ามมิให้ใช้ในคนหนุ่มสาว
ในทางพฤกษเคมี หัวกวาวเครือประกอบด้วยสารที่ทราบสูตรโครงสร้างทางเคมีแล้วไม่ต่ำกว่าสิบชนิดแต่ที่น่าสนใจก็คือ สารหลายตัวที่พบอยู่ในกวาวเครือนั้นเป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มของไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen)นั่นคือเป็นสารจากพืชที่มีฤทธิ์เช่นเดียวกับเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมลักษณะทางเพศตลอดจนการทำงานของระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง
ในยาแผนปัจจุบันได้มีการนำเอาสารในกลุ่มเอสโตรเจนมาใช้เป็นส่วนประกอบของยาคุมกำเนิด และใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยหมดประจำเดือน ซึ่งการใช้ในลักษณะดังกล่าวมานี้จะปลอดภัยที่สุดก็ต่อเมื่อได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ก่อนใช้ ประกอบกับมีการเฝ้าระวังติดตามการใช้อย่างติดต่อสืบเนื่อง
จากผลการศึกษาฤทธิ์ของกวาวเครือในสัตว์ทดลองหลายชนิด ที่ได้รับผงกวาวเครือโดยการ
ป้อนหรือปนไปในอาหาร พบว่า นอกเหนือจากฤทธิ์ในการทำให้ต่อมน้ำนมโตขึ้นแล้ว กวาวเครือ
ยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญพันธุ์ในสัตว์ทดลองทั้งสองเพศ กล่าวคือ สัตว์ทดลองเพศผู้ จะมีขนาด
ของอัณฑะและ ต่อมลูกหมากเล็กลง ลดการสร้างและการเคลื่อนไหวของเชื้ออสุจิ ความรู้สึก
ทางเพศหายไป ไม่สนใจตัวเมีย
ส่วนในสัตว์ทดลองเพศเมียนั้น กวาวเครือจะทำให้ปากช่องคลอดขยายและบวม น้ำหนักมดลูกเพิ่มขึ้น มีความผิดปกติของรังไข่ ลดการตกไข่และจำนวนไข่ และยับยั้งการให้นมลูกหรือทำให้หนูแม่ลูกอ่อนไม่มีน้ำนมเลี้ยงลูก รวมทั้งลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
เมื่อเปรียบเทียบกวาวเครือกับสมุนไพรชนิดอื่นๆที่ใช้กันแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว มีข้อน่า
สังเกตอยู่บางประการคือ สมุนไพรส่วนใหญ่ที่ใช้โดยการรับประทานเช่นขิง ข่า กระเทียมหรือ
ขี้เหล็กเป็นพืชอาหารซึ่งโดยปกติคนเราจะได้รับเข้าสู่ร่างกายอยู่แล้ว เมื่อนำมาใช้รับประทาน
เพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยเป็นครั้งคราว จึงไม่น่าจะก่อให้เกิดพิษภัยที่ร้ายแรง แต่กวาวเครือไม่ใช่
พืชอาหาร
และเมื่อพิจารณาถึงขนาดใช้ตามที่ระบุไว้ในตำรายาไทยว่า ให้รับประทานเพียงวันละขนาดเท่าเม็ดพริกไทยและห้ามใช้ในคนหนุ่มสาว ประกอบกับข้อมูลทางพฤกษเคมีและผลการศึกษาในสัตว์ทดลองที่บ่งว่า ไฟโตเอสโตรเจนกลุ่มที่พบอยู่ในกวาวเครือน่าจะเป็นสารมีทั้งฤทธิ์และพิษแรง และในขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้แน่นอนว่าขนาดที่สามารถนำเอามาใช้ได้อย่างปลอดภัยควรจะเป็นเท่าใด การทดสอบพิษกึ่งเรื้อรังในสัตว์ทดลองที่กำลังดำเนินการอยู่

(เรียบเรียงจากมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำอังคารที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๒)

ประชาไทรายงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net