Skip to main content
sharethis


หลังทราบผลการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ทุกอย่างมุ่งหน้าไปสู่การเลือกตั้งทั่วไป ตามครรลองประชาธิปไตย แต่ดูว่าเหมือนประเทศไทยถูกแบ่งเป็นสองส่วน โดยภาคเหนือและอีสานเกือบทั้งหมดถูกแต้มด้วยสีแดง จากเหตุผลที่ประชาชนออกเสียงไม่รับมากกว่า ที่เหลือสีเขียวพรืดไปจรดใต้สุดแดนสยาม


 


แต่ใครจะรู้บ้างหรือไม่ว่า 3 จังหวัดใต้สุดของสยามประเทศที่มีปัญหาความไม่สงบนั้น มีสัดส่วนผู้ที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มากกว่าจังหวัดอื่นๆ ของภาคใต้ถึงเท่าตัว และมีสัดส่วนของบัตรเสียสูงสุดในประเทศไทย


 


หากพิจารณาจากผลการลงประชามติเฉพาะในภาคใต้ จะพบว่า ในภาพมีผู้มาใช้สิทธิ์ร้อยละ 59.31 ของจำนวนผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด โดยมีผู้ออกเสียงเห็นชอบสูงถึงร้อยละ 86.47 ไม่เห็นชอบร้อยละ 11.46


 


โดยมีรายละเอียดแยกเป็นรายจังหวัดดังตารางนี้


 


สถิติการใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ 19 .. 2550 เฉพาะภาคใต้


 









































































































































































จังหวัด


ผู้มีสิทธิ


ใช้สิทธิ์


ร้อยละ


บัตรเสีย


ร้อยละ


เห็นชอบ


ร้อยละ


ไม่เห็นชอบ


ร้อยละ


กระบี่


 


273,071


174,564


63.93


2,598


1.49


156,326


89.55


15,640


8.96


ชุมพร


 


346,049


214,606


62.02


2,456


1.14


197,717


92.13


14,433


6.73


ตรัง


 


423,215


276,770


65.40


3,758


1.36


252,426


91.20


20,586


7.44


นครศรีฯ


 


1,079,379


557,883


51.69


7,534


1.35


507,448


90.96


42,900


7.69


นราธิวาส


 


449,167


256,331


57.07


11,195


4.37


188,673


73.61


56,463


22.03


ปัตตานี


 


400,923


222,437


55.48


13,465


6.05


159,695


71.79


49,277


22.15


พังงา


 


175,300


112,452


64.15


1,721


1.53


96,417


85.74


14,314


12.73


พัทลุง


 


364,341


234,049


64.24


3,383


1.45


209,493


89.51


21,173


9.05


ภูเก็ต


 


213,663


125,057


58.53


1,848


1.48


110,936


88.71


12,273


9.81


ยะลา


 


294,681


173,206


58.78


9,314


5.38


120,956


69.83


42,936


24.79


ระนอง


 


112,534


67,369


59.87


926


1.37


61,115


90.72


5,328


7.91


สงขลา


 


911,718


584,485


64.11


8,365


1.43


529,513


90.59


46,607


7.97


สตูล


 


189,043


118,328


62.59


2,123


1.79


96,999


81.97


19,206


16.23


สุราษฎร์ฯ


 


679,255


399,279


58.78


5,133


1.29


362,120


90.69


32,024


8.02


 


 


จากตางรางจะพบว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือปัตตานี ยะลาและนราธิวาส มีสัดสวนของผู้ที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 มากกว่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ด้วยกัน คือภาคใต้มีผู้ออกเสียงไม่เห็นชอบจำนวน 425,883 คน คิดเป็นร้อยละ 11.46 แต่เฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสัดสวนผู้ที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญสูงกว่า คือ ร้อยละ 22.8 ขณะที่ผู้ที่เห็นชอบทั้งภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 86.47 ส่วน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสัดส่วนผู้ที่เห็นชอบร้อยละ 71.99 แม้จะสูงกว่าในระดับประเทศที่อยู่ที่ร้อยละ 56.69 แต่ก็ต่ำกว่าระดับภาคใต้ด้วยกัน


 


ส่วนสัดส่วนผู้มาใช้สิทธิ์มีสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก โดยทั้งประเทศมีสัดสวนผู้มาใช้สิทธิ์ร้อยละ 57.61 ภาคใต้ร้อยละ 59.31 เฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 56.95 (ดูกราฟด้านล่าง)


 



 


ในส่วนของบัตรเสียของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสัดส่วนที่สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนจำนวนบัตรเสียงของจังหวัดอื่นๆ ที่มีจำนวนบัตรเสียงเกิน 10,000 ใบ ทั่วประเทศ จะพบว่าจังหวัดปัตตานีมีสัดส่วนของบัตรเสียสูงสุดในประเทศไทย (ดูกราฟด้านล่าง)


 


 


รองลงมาคือจังหวัดยะลา แม้มีจำนวนบัตรเสียงไม่ถึง 10,000 ใบก็ตาม ลำดับที่สามคือจังหวัดนราธิวาส ซึ่งทั้ง 3 จังหวัดปัจจุบันมีความหาความไม่สงบเกิดขึ้น


 


เมื่อรวมจำนวนบัตรเสียของทั้ง 3 จังหวัดแล้ว พบว่า มีถึง 33,977 ใบ จากจำนวนบัตรเสียของทั้งภาคใต้ที่มีเพียง 77,271ใบ (ร้อยละ2.08ของจำนวนผู้ออกเสียงในภาคใต้)


 


หากพิจารณาในระดับอำเภอของทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้ง 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ซึ่งมีปัญหาความไม่สงบเช่นกัน ดังนี้


 


จังหวัดปัตตานี


มีผู้มีสิทธิออกเสียงลงประชามติ 401,710 คน มาใช้สิทธิทั้งหมด (รวมพื้นที่นอกเขตจังหวัด) 220,630 คน คิดเป็นร้อยละ 55.5 ผลการลงประชามติ เห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 70.4 ไม่เห็นชอบร้อยละ 23.6


 



















































































































































อำเภอ


ผู้มีสิทธิ


ใช้สิทธิ์


ร้อยละ


บัตรเสีย


ร้อยละ


เห็นชอบ


ร้อยละ


ไม่เห็นชอบ


ร้อยละ


กะพ้อ


10,138


6,424


63.4


608


9.6


3,978


68.4


1,838


31.6


โคกโพธิ์


43,881


27,514


62.7


1,065


3.9


22,703


85.8


3,746


14.2


ทุ่งยางแดง


12,249


7,349


60.0


511


7.0


4,952


72.4


1,886


27.6


ปะนาเระ


28,182


14,487


61.4


826


5.7


10,225


74.8


3,436


25.2


มายอ


32,547


17,853


54.9


1,057


5.9


11,742


69.9


5,054


30.1


เมือง


74,385


43,407


58.4


2,146


4.9


33,967


82.3


7,294


17.7


แม่ลาน


9,574


6,064


63.3


309


5.1


4,538


76.9


1,217


21.1


ไม้แก่น


7,323


4,679


63.9


393


8.4


3,241


75.6


1,045


24.4


ยะรัง


50,173


23,880


47.56


1,739


7.3


14,927


67.4


7,214


32.6


ยะหริ่ง


48,651


25,247


53.1


1,348


5.3


18,570


77.7


5,329


22.3


สายบุรี


39,965


21,207


53.1


1,675


7.9


13,877


71.0


5,655


29.0


หนองจิก


43,842


20,903


47.7


1,742


8.3


14,494


75.6


4,667


24.4


 


จะเห็นได้ว่า อำเภอที่มีสัดส่วนผู้ไม่เห็นชอบสูงกว่าร้อยละ 25 มักเป็นอำเภอที่มีเหตุรุนแรงถี่มาก ขณะที่อำเภอที่มีเหตุรุนแรงถี่แต่มีผู้มาใช้สิทธิไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ได้แก่ อำเภอยะรังและอำเภอหนองจิก ส่วนอำเภออื่นๆ มีจำนวนผู้ไม่เห็นชอบน้อยกว่า มักเป็นอำเภอที่มีเหตุรุนแรงน้อยกว่าเช่นกัน เช่น อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอแม่ลาน


 


 


จังหวัดยะลา


ผู้มีสิทธิทั้งหมด 294,671 คน มาใช้สิทธิ 170,277 คน คิดเป็นร้อยละ 57.79 ผลการลงประชามติ เห็นชอบ 118,511 เสียง คิดเป็นร้อยละ 69.60 ไม่เห็นชอบ 42,539 เสียง คิดเป็นร้อยละ 24.98


 







































































































อำเภอ


ผู้มีสิทธิ


ใช้สิทธิ์


ร้อยละ


บัตรเสีย


ร้อยละ


เห็นชอบ


ร้อยละ


ไม่เห็นชอบ


ร้อยละ


กรงปินัง


12,944


8,169


63.11


747


9.14


4,246


57.21


3,176


42.79


กาบัง


10,784


7,193


66.7


367


5.1


4,735


69.37


2,091


30.63


ธารโต


13,460


7,125


52.94


462


6.48


4,809


72.16


1,855


27.84


บันนังสตา


31,658


15,882


50.17


1,141


7.18


9,925


67.33


4,816


32.67


เบตง


36,964


22,229


60.14


674


3.03


17,892


83.01


3,663


16.99


เมือง


105,291


60,225


57.2


2,322


3.86


46,961


81.10


10,942


18.90


ยะหา


30,520


18,481


60.55


1,070


5.79


11,775


67.63


5,636


32.37


รามัน


53,060


32,055


60.41


2,513


7.84


19,175


64.91


10,367


35.09


 


ในพื้นที่สีแดงอย่างบันนังสตา, กรงปินัง, ยะหาและรามัน พบว่าสัดส่วนของประชาชนที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญสูงเกิดร้อยละ 25 โดยอำเภอบันนังสตามีผู้มาใช้สิทธิ์เพียงครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์เท่านั้น และมีสัดส่วนของบัตรเสียสูงมาก เช่นเดียวกับอำเภอกรงปินังและรามัน


 


ในขณะที่พื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอเบตง ซึ่งมีจำนวนประชากรที่นับถือศาสนาพุทธมากกว่าอำเภออื่นๆ มีผู้ที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญน้อยกว่าตามลำดับ


 


 


จังหวัดนราธิวาส


ผู้มีสิทธิทั้งหมด 449,167 คน มาใช้สิทธิ 256,331 คน คิดเป็นร้อยละ 57.07 ผลลงประชามติ เห็นชอบ ร้อยละ 76.97 ไม่เห็นชอบ ร้อยละ 23.03


 






























































































































































อำเภอ


ผู้มีสิทธิ


ใช้สิทธิ์


ร้อยละ


บัตรเสีย


ร้อยละ


เห็นชอบ


ร้อยละ


ไม่เห็นชอบ


ร้อยละ


จะแนะ


19,676


11,265


57.25


519


4.61


7,745


72.07


3,001


27.93


เจาะไอร้อง


22,534


11,211


49.75


661


5.9


7,377


69.92


3,173


30.08


ตากใบ


42,178


22,184


52.60


1,140


5.14


16,837


80.01


4,207


19.99


บาเจาะ


30,299


17,863


58.96


1,125


6.3


11,682


69.79


5,056


30.21


เมือง


70,806


39,548


55.85


1,118


2.83


31,541


82.07


6,889


17.93


ยี่งอ


27,243


16,920


62.11


633


3.74


12,610


77.42


3,677


22.58


ระแงะ


50,389


29,542


58.63


1,240


4.20


21,780


76.96


6,522


23.04


รือเสาะ


38,794


22,251


57.36


1,666


7.49


14,477


70.33


6,108


29.67


แว้ง


31,677


17,244


54.45


623


3.61


12,900


77.61


3,721


22.39


ศรีสาคร


19,299


12,790


66.27


713


5.57


8,650


71.62


3,427


28.38


สุคิริน


14,553


9,439


64.86


300


3.18


7,446


81.47


1,693


18.53


สุไหงโก - ลก


45,015


23,672


51.44


596


2.52


19,181


83.12


3,895


16.88


สุไหงปาดี


35,714


20,060


56.17


832


4.15


14,679


76.34


4,549


23.66


    


 


จากตางรางพบว่า พื้นที่อำเภอเจาะไอร้องมีผู้มาใช้สิทธิน้อยกว่าจำนวนผู้มิสิทธิ์ และมีผู้ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญสูงมากกว่าร้อยละ 25 เช่นเดียวกับอำเภอ


 


บาเจาะ, ศรีสาคร, จะแนะ และ รือเสาะ ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดง มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นถี่มาก ขณะที่อำเภอระแงะและอำเภอสุไหงปาดี ซึ่งมีสถานการณ์รุนแรงมากเช่นกัน แต่มีผู้ลงคะแนนไม่เห็นชอบน้อยกว่า ขณะที่อำเภออื่นมีผู้ไม่เห็นชอบน้อยลงในระดับที่ไม่แตกต่างกันมากนัก


 


  


4 อำเภอของจังหวัดสงขลา


โดยรวมทั้งจังหวัดสงขลา ประชาชนเห็นชอบร้อยละ 91.04 ไม่เห็นชอบร้อยละ 08.06 แต่ในส่วนของ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา คือ จะนะ เทพา นาทวีและสะบ้าย้อย ซึ่งมีปัญหาความไม่สงบเกิดขึ้น มีผลการลงประชามติดังนี้


 



























































อำเภอ


ผู้มีสิทธิ


ใช้สิทธิ์


ร้อยละ


บัตรเสีย


ร้อยละ


เห็นชอบ


ร้อยละ


ไม่เห็นชอบ


ร้อยละ


จะนะ


65,756


45,081


68.56


849


1.88


38,736


87.57


5,496


12.43


เทพา


44,607


29,573


66.30


624


2.11


26,101


90.16


2,848


9.84


นาทวี


41,353


29,110


70.39


509


1.75


25,824


90.28


2,777


9.71


สะบ้าย้อย


40,994


27,162


66.26


660


2.43


22,567


85.15


3,935


14.85


 


จากตารางพบว่า อำเภอสะบ้าย้อย และ อำเภอจะนะ มีสัดส่วนของผู้ที่ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญมากที่สุดตามลำดับ ขณะที่ทั้ง 4 อำเภอมีสัดส่วนบัตรเสียน้อยกว่าอำเภออื่นๆ อีกหลายอำเภอของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งที่เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาความไม่สงบด้วยเช่นกัน


 


สำหรับกรณีที่มีบัตรเสียจำนวนมากนั้น นายสกูล จงจิตร ผู้อำนวยการการเลือกตั้งจังหวัดยะลา ระบุว่า จากผลการวิเคราะห์บัตรเสียที่มีเป็นจำนวนมากนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ตั้งใจทำให้เป็นบัตรเสีย โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอกรงปินัง รามันและบันนังสตา ซึ่งมีสัดส่วนบัตรเสียสูงมาก สูงกว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนมีนาคม 2548 มากกว่าเท่าตัว แต่ไม่อาจระบุได้ว่ามาจากการจัดตั้งของกลุ่มขบวนการก่อความไม่สงบหรือไม่


 


กลุ่มต่อมาเกิดจากความไม่เข้าใจของประชาชนในการลงประชามติ เนื่องจากในพื้นที่ทั้ง 3 อำเภอไม่การรณรงค์ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในลักษณะเคาะประตูบ้าน มีเพียงการรณรงค์ผ่านสถานีวิทยุและโทรทัศน์เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอ เหตุผลทางด้านความปลอดภัยเป็นหลัก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สีแดง ไม่มีใครกล้าเข้าไปจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ลงประชามติ ต่างจากพื้นที่อื่นๆในเขตเมืองหรือตัวอำเภอ


 


กลุ่มสุดท้ายเกิดจากประชาชนบางกลุ่มที่ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ จึงทำให้กลายเป็นบัตรเสีย เห็นได้จากบัตรออกเสียงประชามติที่มีการทำเครื่องหมายกากบากลงทั้งในช่องเห็นชอบและช่องไม่เห็นชอบ หรือไม่ได้ทำเครื่องหมายไว้ทั้งสองช่องเลย ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควร


 


ส่วนลักษณะของบัตรเสียที่พบมีหลากหลายรูปแบบ เช่น มีการเขียนข้อความต่างๆ หรือวาดรูปลงไป ทำเครื่องหมายไม่ตรงช่อง และทำเครื่องหมายอย่างอื่นที่ไม่ใช่เครื่องหมายกากบาก


 


จากผลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ให้การวิเคราะห์ดังนี้


 


เป็นที่น่าสังเกตคือคะแนนไม่เห็นชอบใน 3 จังหวัด อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับระดับของการไม่เห็นชอบในภาคใต้ อาจมีบางส่วนของการเคลื่อนไหวในทางการเมืองที่เป็นฐานเดิมของกลุ่มวาดะห์ ซึ่งยังสนับสนุนแนวคิดของกลุ่มอำนาจเก่า อีกส่วนหนึ่งอาจเป็นการปฏิเสธของประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งได้รับอิทธิจากกระแสของเหตุการณ์ความรุนแรงในปัจจุบัน ทำให้ไม่ยอมรับอำนาจของรัฐบาลที่มาจากทหาร ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับนโยบายหรือมาตรการทางทหาร ซึ่งในปัจจุบันมีแนวโน้มค่อนข้างสูงเมื่อบวกกับความไม่เป็นชอบต่อรัฐธรรมนูญ


 


ยิ่งเมื่อมาพิจารณาจากบัตรเสียก็ยิ่งเห็นชัด โดยบัตรเสียของภาคใต้ ใน 3 จังหวัดสัดส่วนสูงมาก ซึ่งเป็นตัวชี้อะไรบางอย่างในทางการเมืองในพื้นที่ ซึ่งเมื่อรวมจำนวนบัตรเสียของทั้ง 3 จังหวัดแล้ว ประมาณ 30,000 คนนั้น สอดคล้องกับการคำนวณฐานของผู้ที่สนับสนุนขบวนการใต้ดิน จะอยู่ที่ประมาณ 3 - 50,000 คน แต่นั่นยังไม่ใช่ข้อสรุป


 


แม้ในพื้นที่ไม่พบว่ามีการจัดตั้งให้มีการล้มประชามติหรือออกเสียงไม่เห็นชอบ แต่นั่นเป็นกลุ่มมวลชนที่มีความรู้สึกปฏิเสธต่อระบบการเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบันในแง่ของกระบวนการประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ หรืออาจรวมถึงการปฏิเสธที่มีต่อรัฐก็ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนออกทางอ้อมที่มีต่อการใช้สิทธิ์ในการออกเสียง หมายความว่า มาใช้สิทธิแต่ทำให้บัตรเสียโดยจงใจ เพราะไม่ยอมรับ แต่ไม่อยากเสียสิทธิทางการเมือง


 


ยิ่งพิจารณาผลการลงประชามติในระดับอำเภอแล้ว อาจจะสะท้อนการจัดตั้งก็เป็นได้ โดยพิจารณาจากการกระจุกตัวของฐานมวลชน ในแง่เครือข่ายการสนับสนุนขบวนการใต้ดิน โดยเฉพาะในพื้นที่สีแดง ซึ่งมีผู้ไม่เห็นชอบและมีจำนวนบัตรเสียสูงมาก แต่หากไม่มีการจัดตั้งก็อาจสะท้อนได้ว่า นั่นเป็นเสียงบริสุทธิ์ของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้จริงที่ปฏิเสธต่ออำนาจรัฐ อันเนื่องมาจากสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่


 


อย่างไรก็ตาม การออกเสียงไม่เห็นชอบที่มีจำนวนมากนั้น อาจเป็นไปตามกระแสการไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญด้วย เพราะคนในพื้นที่สีแดงหรือคนที่เกี่ยวข้องกับขบวนการมีความตื่นตัวทางการเมืองสูงอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นอาจได้รับกระแสการต่อต้านรัฐธรรมนูญจากภาพใหญ่ของส่วนกลาง ที่มีนักวิชาการหรือกลุ่มหัวก้าวหน้าเป็นแกนนำ แต่ ลึกๆ จริงๆ แล้วอาจไม่ถึงขั้นไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ เพราะการชี้นำของขบวนการใต้ดินนั้น เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญไม่อยู่ในข้อเรียกร้องอะไรเลย


 


มีอยู่ข้อหนึ่งที่น่าสังเกตว่า ทำไมฝ่ายขบวนการถึงไม่เอามาคิด คือ มาตราที่ 1 ที่ระบุว่ารัฐไทยเป็นหนึ่งเดียว จะแบ่งแยกมิได้ แสดงว่าพวกเขาอาจยอมรับเงือนไขนี้ โดยไม่เอามาเป็นเงื่อนไขในการต่อสู้ และอาจยอมรับเนื้อหาที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญก็ได้ที่สามารถมีรูปแบบการปกครองแบบพิเศษบางอย่างได้ แต่ยังอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญแห่งรัฐไทย ไม่เกี่ยวข้องกับข้อรียกร้องความเป็นรัฐอิสระ


 


โดยนัยยะข้อเรียกร้องอาจไม่ถึงขึ้นสูงสุดขนาดนั้นก็ได้ เพียงแต่ต้องการอำนาจการต่อรองในทางการเมือง เพื่อให้ได้รับการยอมรับเรื่องอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ศาสนา


 


สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือในวันออกเสียงลงประชามตินั้น มีเหตุการณ์รุนแรงครั้งเดียวเท่านั้นคือ ที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส แต่ก็เงียบอย่างจงใจ ซึ่งอาจมีเหตุผลว่า ในช่วงวันออกเสียงประชามติ เจ้าหน้าที่รัฐเตรียมพร้อมป้องกันเหตุอย่างเต็มที่ แต่มันก็ไม่เกินวิสัยที่พวกเขาจะก่อเหตุได้ เพราะที่ผ่านเจ้าหน้าที่ป้องกันเข้มอยู่แล้วก็ยังก่อเหตุได้


 


"ถ้าพวกเขาจะล้มกระดานก็ยังได้ เพื่อไม่ต้องให้มีการลงประชามติ เช่น ก่อเหตุรุนแรงซัก 4 - 5 จุด การลงออกเสียงก็จะหยุดไปเลย แต่เขาไม่ทำ ผมว่าเขาก็เลือกที่จะไม่ทำ" ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าว


 


เขาระบุด้วยว่า นี่เป็นกระแสการตื่นตัวทางการเมือง จุดเด่นคือสิ่งที่เขาต้องการ คือพื้นที่ทางการเมือง เพื่อแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในเวทีเปิด ซึ่งการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตยเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งในการแสดงออกในสิ่งที่พวกเขาต้องการ ขณะที่คนในพื้นที่เองก็ต้องการ


 


เพราะการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา พวกเขาก็ใช้เป็นประโยชน์กับการเคลื่อนไหวของพวกเขาได้ เช่น การปฏิเสธระบอบทักษิณ ปฏิเสธกลุ่มวาดะห์ เพราะไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชน ซึ่งก็ใช้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือ


 


ส่วนการออกเสียงไม่เห็นชอบเนื่องจากยังมีความชอบกลุ่มอำนาจเก่า โดยเฉพาะกลุ่มว่าดะห์นั้น อาจเป็นไปได้ เพราะฐานเสียงเดิมของกลุ่มวาดะห์ยังมีอยู่ไม่น้อย


 


ส่วนจะส่งผลอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะในระยะใกล้เลือกตั้ง ผศ.ดร.ศรีสมภพคิดว่าจะไม่มีผลอะไร เพราะ 3 ปีที่ผ่านมา ท่าทีของขบวนการใต้ดินต่อการเลือกตั้งนั้นจะไม่ขัดขวาง คือไม่มีการโจมตีหรือวางระเบิดหน่วยเลือกตั้ง แม้จะไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ก็ตาม เข้าใจว่าคงไม่ต้องการสร้างศัตรูเพิ่ม เพราะการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยมีหลายกลุ่มหรือหลายเครือข่ายทับซ้อนกันอยู่


 


เขาคงไม่ปิดทางของตัวเองโดยการขวางการเลือกตั้ง แต่จะใช้ประโยชน์เท่าที่จำเป็นเพื่อสะท้อนความต้องการของตัวเองเท่านั้น พวกเขาเองก็มีจุดตัน เพราะจะเคลื่อนไหวทางการเมืองแรงๆ ไม่ได้ เพราะมีขีดจำกัด แต่คงเป็นเกมระยะยาวในการต่อรองทางการเมือง ผสมผสานกับการเล่นในเกมรัฐสภามากกว่า


 


ผลที่เกิดขึ้นสะท้อนภาพความเป็นจริงของฐานเสียงด้านการเมืองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เคยเป็นมาที่ต่างจากภาคใต้ตอนบน


 


ประชาชนในภาคใต้ตอนบนจะสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์มาก แต่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีลักษณะพิเศษทางการเมือง คือเป็นระบบสองพรรคมาตลอด ต่อสู้กันมาตลอดระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับอีกพรรคหนึ่ง เช่น พรรคความหวังใหม่ พรรคไทยรักไทย พรรคประชาชน เป็นต้น ซึ่งสะท้อนภาพการเมืองในอนาคตได้


 


เห็นได้ชัดว่าผลกระลงประชามติครั้งนี้ สะท้อนฐานทางการเมืองทั่วประเทศ คือภาคอีสานและภาคเหนือตอนบนเป็นฐานของพรรคไทยรักไทยเดิม ภาคกลางและกรุงเทพ จะกระจายไป เพราะมีหลายพรรคการเมือง ภาคใต้แน่นอนว่าเป็นของพรรคประชาธิปัตย์ แน่นอนว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีโครงสร้างเป็นเช่นนี้


 


ดังนั้น การที่ใน 3 จังหวัดที่มีเสียงของคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญมากกว่าส่วนอื่นของภาคใต้ด้วยกันเอง สะท้อนว่าฐานของพรรคประชาธิปัตย์ยังเหมือนเดิม บวกกับเป็นพื้นที่ที่มีปัญหากับความรุนแรง โดยมีกลุ่มขบวนการใต้ดินและฐานเสียงพรรคอื่นซ้อนอยู่ด้วย


 


คนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความคาดหวังต่อการเมืองเช่นเดียวกับส่วนอื่นของประเทศ แต่เป็นความคาดหวังแบบพิเศษที่ไม่เหมือนที่อื่น เช่น การเมืองในระบบพรรคการเมืองต้องสะท้อน รากการต่อสู้เรื่องอัตลักษณ์ ความเป็นท้องถิ่นสูง ไม่ว่าจะเป็นความเป็นมลายู การมีประวัติศาสตร์


 


ขณะเดียวกันก็สะท้อนลักษณะการต่อสู้กับอำนาจรัฐที่เป็นมาตลอด เพราะฉะนั้นวาระทางนโยบายที่พวกเขาต้องการจะไม่เหมือนที่อื่น เช่นในส่วนอื่นของภาคใต้อาจยอมรับอำนาจจากพรรคประชาธิปัตย์ แต่ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านก็จะปฏิเสธอำนาจรัฐ ซึ่งเป็นไปตามกระแสนิยม แต่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีวิธีคิดและกรอบของตนเองที่แตกต่างออกไป


 


"ดังนั้นการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องมีรูปแบบเฉพาะ ทั้งรูปแบบการต่อสู้ทางการเมือง รูปแบบองค์กรทางการเมือง วาระทางนโยบาย หรือกลไกที่นำมาใช้จัดการทางการเมือง ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ กำลังพยายามทำอยู่ แต่ยังไม่กินใจคนในพื้นที่มากนัก ขณะที่พรรคอื่นยังไม่เห็นมี ดังนั้นคนที่ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นอาจเป็นเสียงลอยที่พร้อมจะรับพรรคไหนก็ได้ ที่มีข้อเสนอดีๆ" รศ.ดร.ศรีสมภพกล่าวทิ้งท้าย


 


 


..............................................


หมายเหตุ : ภาพกราฟ โดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net