Skip to main content
sharethis

เอกรินทร์ ต่วนศิริ


ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้


 


การเดินทางมาประเทศไทยของอันวาร์ อิบราฮิม เพื่อปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "วิกฤติเศรษฐกิจโลกกับอนาคตของอาเซียน" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่ผ่านมา มีนัยที่น่าสนใจอยู่ที่การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนมากกว่าเนื้อหาที่เขากล่าวใน กำหนดการหลัก เนื่องจากความเห็นต่อทิศทางการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ในฐานะผู้นำพรรคฝ่ายค้านของประเทศเพื่อนบ้านที่อาจโอกาสก้าวเข้ากุมอำนาจ บริหารในรัฐบาลกลางของมาเลเซีย


 


เขาคนนี้กำลังถูกจับตามองว่าจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในการบริหารประเทศมาเลเซียในอีก ไม่ช้านับจากนี้ แม้ว่าพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลจะพยายามสับเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีเพื่อคลี่คลาย วิกฤตศรัทธาที่กำลังก่อตัวในระยะใกล้นี้ก็ตาม ก่อนหน้านี้พันธมิตรพรรคฝ่ายค้านของอันวาร์ที่รวมถึงพันธมิตรเช่นพรรคปาส ซึ่งมีกุมเสียงข้างมากในรัฐตอนเหนือติดชายแดนไทยเริ่มมีบทบาทมากขึ้นจากการ เลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ดังนั้นความเคลื่อนไหวในการเยือนประเทศไทยของนักการเมืองคนสำคัญของประเทศ เพื่อบ้านผู้นี้จึงมีนัยสำคัญยิ่งต่อคำถามที่ว่าเหตุใดชุมชนไทยในประเทศ มาเลเซียที่ก่อนหน้านี้สนับสนุนพรรคอัมโนกลับหันมาสนับสนุนพรรคฝ่ายค้านเช่น พรรคของเขามากขึ้น อันวาร์ ระบุว่าอาจเป็นเพราะนโยบายของพรรคฝ่ายค้านในปัจจุบันจะค่อยๆ ลดและยกเลิกนโยบายภูมิบุตรา ซึ่งเป็นนโยบายที่คนเชื้อสายมลายูในมาเลเซียจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนเชื้อ ชาติอื่นๆ


 


"ในประเทศมาเลเซีย ไม่ว่าจะเป็นคนจีน คนอินเดีย หรือคนมาลายู ก็ควรจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน" ผู้ นำพรรคฝ่ายค้านกล่าว ความพยายามของอันวาร์ในการต่อสู้ทางการเมืองกับพรรครัฐบาลโดยพยายามเสนอ ประเด็นดังกล่าวเป็นเหตุให้กลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ สนับสนุนอันวาร์อย่างมาก


 


อันวาร์เน้นย้ำว่า กรณีปัญหาที่ชายแดนภาคใต้ของไทยที่ติดกับมาเลเซีย เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก สำหรับเขาแล้วไม่ใช่เพราะด้วยความเป็นมุสลิมอย่างเดียว หากแต่เพราะเราเป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน


 


อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่า รัฐบาลไทยจะต้องจัดวางยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาใหม่ โดยไม่ใช้การทหารนำ รัฐบาลไทยจะต้องเปิดกว้างและให้พื้นที่แก่กลุ่มประชาสังคม ผู้นำศาสนา นักวิชาการ ให้ทหารกลับเข้าค่ายและให้คนในท้องถิ่นทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะพุทธหรือมุสลิม มีพื้นที่ในการแก้ไขปัญหากันเอง และย้ำประเด็นที่ต้องใส่ใจพิเศษคือประเด็นของการสร้างเหยื่อจากความรุนแรง ที่กระทำจากทุกฝ่าย รวมถึงนโยบายที่สร้างคนชายขอบขึ้นมาในรัฐ


 


"ผมไม่ใช่มาสนับสนุนความรุนแรง ไม่ได้แก้ต่างให้กลุ่มต่างๆ ผมไม่ใช่ซื่อบื้อที่จะคิดว่าทุกอย่างต้องโทษพวกที่ใช้ความรุนแรงเพียงอย่างเดียว"


 


ผู้นำฝ่ายค้านของมาเลเซีย เรียกร้องให้ต้องมีการพิจารณาปัจจัยจากหลายๆ ด้าน ในทางส่วนตัวแล้วเขาได้เรียกร้องให้ทางมาเลเซียใส่ใจทำบางสิ่งอย่างจริงจัง โดยเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลกลาง รวมถึงนิอับดุลอาซิส บิน นิมัต มุขมนตรีรัฐกลันตัน ผู้นำทางจิตวิญญาณของพรรคปาส


 


อันวาร์ยังได้ยกตัวอย่างการที่คนเชื้อสายจีนและคนเชื้อสายอินเดียอาศัยที่มาเลเซียมาเป็นเวลากว่า 100 - 200 ปี ที่ผ่านมาทางการมาเลเซียได้สนับสนุนให้พวกเขาใช้ภาษาของพวกเขาเอง โดยที่ไม่ได้หวั่นกลัวใดๆ แม้ ว่าควรมีภาษามลายูในการสื่อสารเป็นภาษากลางที่ยอมรับกัน เราทุกฝ่ายก็เรียนรู้ที่อยู่ร่วมกันได้ ความหลากหลายตรงนี้นี่เองที่เป็นจุดแข็งของประเทศมาเลเซีย ซึ่งถือว่าเป็นความมั่งคั่งทางด้านวัฒนธรรมของสังคม


 


"ตอนนี้ลูกของผม ผมก็ให้เขาไปเรียนโรงเรียนสอนภาษาจีนในมาเลเซีย"


 


เขากล่าวต่อว่า เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดหรือการรับรู้แบบ Zero-sum game หรือ ความคิดที่ว่าใครชนะก็ได้หมดโดยที่ผู้แพ้ไม่ได้อะไรเลย ความขัดแย้งในเรื่องชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยไม่สามารถมองเพียงแค่ระหว่าง รัฐไทยกับชาวมลายูท้องถิ่นเท่านั้น ทางออกก็ไม่ใช่แบบแพ้ - ชนะ หลายสิ่งเป็นเรื่องของประเด็นมุมมองหรือการรับรู้ เราจำเป็นต้องเปิดกว้างต่อบางสิ่งบางอย่าง ที่สำคัญจำเป็นต้องเปลี่ยนมุมมอง


 


"เช่นเรื่องภาษามาลายูถิ่น การที่ให้คนในพื้นที่ใช้ภาษามลายูถิ่น ก็ไม่ได้สร้างปัญหา เราต้องไม่มองเรื่องของการใช้ภาษาเป็นเรื่องของการต่อรองกับภาษาไทย แต่เราต้องควรสนับสนุนให้คนเรียนภาษาแม่ของตนเอง"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net