Skip to main content
sharethis

สำนักงานสถิติแห่งชาติสัมภาษณ์ 100,920 คนทั่วประเทศ คนอีสานคิดว่าตัวเองจนสุดรองลงมาคือคน กทม. ส่วนคนใต้ รู้สึกว่าตัวเองจนน้อยกว่าภาคอื่น

18 ก.ค. 53 - ผลสำรวจ "ความเดือดร้อน และความต้องการของประชาชน" จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ออกไปสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างมากถึง 100,920 คน ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ระหว่างวันที่ 18 - 24 มิถุนายนที่ผ่านมา

โดยให้ประชาชนประเมินฐานะความเป็นอยู่ของตนเอง โดยพบว่าคนภาคอีสาน รู้สึกว่าตัวเองจนที่สุด 14.9 เปอร์เซ็นต์ เพราะส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาต้องมาขายแรงงานในเมืองหลวง ได้ค่าแรงไปวันๆ

และพบข้อมูลที่น่าสนใจ ว่า คนกรุงเทพฯ มากถึง 14.5 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกว่าตัวเองจนกว่าคนภาคอื่น ทั้งๆ ที่อยู่ในเมืองใหญ่ มีหน้าที่การงานมั่นคง รองลงมาจากคนภาคอีสาน

หลายคน บอกว่า เศรษฐกิจเริ่มถดถอย ตั้งแต่มีเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ทุกอาชีพได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด ส่งผลให้รายได้ไม่พอกับรายจ่ายและความต้องการ จึงรู้สึกว่าตัวเองจน

ส่วนคนใต้ รู้สึกว่าตัวเองจนน้อยกว่าภาคอื่น แต่หากเทียบกับเส้นความยากจน ที่วัดจากค่าใช้จ่ายความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ทั้งค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายอื่น จะเห็นได้ว่า ฐานะตามจริงของคนกรุงเทพฯ มีเพียง 0.8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่มีฐานะยากจนส่วนคนภาคอีสาน ใกล้เคียงกับความจริง คือ 14.6 เปอร์เซ็นต์

มาตรฐานเส้นความยากจน มีการสำรวจเมื่อปี 2551 พบว่า คนกรุงเทพฯ มีรายจ่ายความจำเป็นขั้นพื้นฐาน อยู่ที่ 2,159 บาท ต่อคน ต่อเดือน หากใช้จ่ายน้อยกว่านี้ ถือว่าเป็นคนจน ส่วนภาคอีสาน ถ้าจ่ายต่ำกว่า 1,467 บาท จึงนับเป็นคนจน

สาเหตุของความจน 5 อันดับแรก ได้แก่ ไม่มีทุนประกอบอาชีพขาดโอกาส , เรียนน้อย , เกิดมาจน และขี้เกียจไม่ขวนขวาย

จึงเสนอให้รัฐบาล ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันลดภาระค่าครองชีพ และ เพิ่มสวัสดิการในการครองชีพ เป็น 3 เรื่องด่วนที่ต้องเร่งแก้ไข โดยทุกเสียงสะท้อน คาดหวัง รัฐแก้ปัญหาได้ตรงจุด ช่วยเศรษฐกิจฟื้นตัว ทั้งระดับครัวเรือน และระดับชาติ หมดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ที่มาข่าว:

ผลสำรวจความเดือดร้อนความยากจน (ช่อง 7, 18-7-2553)
http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=376&d=94709

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net