Skip to main content
sharethis

เครือข่ายปกป้องแม่น้ำสาละวิน ชี้การสู้รบที่เพิ่มขึ้นในพม่าเป็นเหตุผลที่ควรยุติแผนการสร้างเขื่อนสาละวิ นโดยทันที แนะนักลงทุนไทย-จีนเสี่ยงเสียชื่อ เหตุร่วมลงทุนกับรัฐบาลทหาร ส่งเสริมความขัดแย้งและการสู้รบ

 
 
วันนี้ (28 เม.ย.54) โครงการ Burma concern ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) และ Salween Watch จัดเสวนา “เขื่อนสาละวิน: ความเสี่ยงจากการสร้างเขื่อนในเขตสงครามพม่า” ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีการให้ข้อมูลถึงสถานการณ์ล่าสุดเรื่องการสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาละวิ นและประเทศพม่า ในประเด็นเรื่องความเสี่ยงจากแผ่นดินไหว ภาวะโลกร้อน รวมทั้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการสู้รบที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการของรัฐบาลพม่า หลังจากที่ประเทศพม่ามีการเลือกตั้งทั่วไปและจัดตั้งรัฐบาลใหม่เมื่อไม่นาน มานี้
 
หลังการเสวนา นายเด เด และนายจาย จาย จาก Salween Watch ได้ร่วมกันแถลงข่าว และอ่านแถลงการณ์กลุ่มสาละวินวอชต์ “การสู้รบที่เพิ่มขึ้นในพม่าเป็นเหตุผลที่ควรยุติแผนการสร้างเขื่อนสาละวิ นโดยทันที” ระบุว่า การสู้รบอย่างหนักในตอนเหนือของรัฐฉานเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นเหตุให้บริเวณที่มีโครงการสร้างเขื่อนสาละวินกลายเป็นพื้นที่ความขัด แย้ง ทางกลุ่มสาละวินวอชต์จึงเรียกร้องกลุ่มต่างๆ ให้ยุติแผนการสร้างเขื่อนใดๆ ในแม่น้ำสาละวินในพม่าโดยทันทีทั้งรัฐบาลและบรรษัทจากประเทศจีน และไทย รวมทั้งรัฐบาลชุดใหม่ของพม่า
 
นายเด เด กล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2554 กองทัพพม่าได้ละเมิดสัญญาหยุดยิงที่มีมา 22 ปี กับกองทัพรัฐฉานภาคเหนือ (รัฐฉาน Army-North -SSA-N) และได้เคลื่อนกำลังพล 3,500 นาย เข้าโจมตีอย่างหนักที่ภาคกลางของรัฐฉาน มีการระดมยิงปืนใหญ่ใส่เป้าหมายพลเรือน การรุมข่มขืน และเป็นเหตุให้พลเรือนหลายพันคนต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ การสู้รบยังได้แพร่กระจายไปยังตอนเหนือของรัฐฉาน ในบริเวณที่ติดต่อกับพื้นที่โครงการสร้างเขื่อนสาละวินสองแห่ง กล่าวคือ เขื่อนท่าซางและเขื่อนสาละวินตอนบน ซึ่งการโจมตีครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการอย่างเป็นระบบของรัฐบาลทหาร เพื่อกวาดล้างกองกำลังฝ่ายต่อต้านที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งกลุ่มที่มีสัญญาหยุดยิงด้วย
 
นับจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 เป็นต้นมา การสู้รบได้หนักข้อขึ้นในรัฐกะเหรี่ยง คะเรนนี และตอนใต้ของรัฐฉาน ซึ่งก็เป็นพื้นที่ที่มีแผนการสร้างเขื่อนอีกห้าแห่งตามลำน้ำสาละวิน และในบัดนี้การสู้รบได้แพร่เข้าไปยังตอนเหนือของรัฐฉาน ทั้งนี้ อันตรายจากการสร้างเขื่อนในพื้นที่สู้รบของพม่า ควรเป็นสิ่งที่นักลงทุนจากไทยและจีนรับทราบดี และสถานการณ์เช่นนั้นย่อมไม่อาจทำให้สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการสร้างเขื่อน เนื่องจากชุมชนจะไม่มีปากเสียงใดๆ ทั้งนี้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากภัยคุกคามโดยตรงต่อผู้ปฏิบัติงานสร้าง เขื่อนแล้ว นักลงทุนยังเสี่ยงที่จะเสียชื่อเสียง เนื่องจากร่วมลงทุนกับรัฐบาลทหารที่ส่งเสริมความขัดแย้งและการสู้รบ
 
“การสู้รบที่เพิ่มขึ้นในพม่าเมื่อเร็วๆ นี้จึงควรเป็นสัญญาณเตือนรัฐบาลและนักลงทุนให้เริ่มปฏิบัติตามมาตรฐานการ สร้างเขื่อนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และควรยุติแผนการสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาละวินในพม่า โดยทันที” นายเด เด กล่าวตามแถลงการณ์
 
 
 
 
28 เมษายน 2554
 
แถลงการณ์กลุ่มสาละวินวอชต์
 
การสู้รบที่เพิ่มขึ้นในพม่าเป็นเหตุผลที่ควรยุติแผนการสร้างเขื่อนสาละวินโดยทันที
 
การสู้รบอย่างหนักในตอนเหนือของรัฐฉานเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นเหตุให้บริเวณที่มีโครงการสร้างเขื่อนสาละวินในพม่าตกอยู่ในพื้นที่ที่ มีความขัดแย้งโดยตรง ทางกลุ่มสาละวินวอชต์จึงเรียกร้องกลุ่มต่างๆ ให้ยุติแผนการสร้างเขื่อนใดๆ ในแม่น้ำสาละวินในพม่าโดยทันทีทั้งรัฐบาลและบรรษัทจากประเทศจีนและไทย รวมทั้งรัฐบาลชุดใหม่ของพม่า
 
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2554 กองทัพพม่าได้ละเมิดสัญญาหยุดยิงที่มีมา 22 ปี กับกองทัพรัฐฉานภาคเหนือ (รัฐฉาน Army-North -SSA-N) และได้เคลื่อนกำลังพล 3,500 นาย เข้าโจมตีอย่างหนักที่ภาคกลางของรัฐฉาน มีการระดมยิงปืนใหญ่ใส่เป้าหมายพลเรือน การรุมข่มขืน และเป็นเหตุให้พลเรือนหลายพันคนต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ การสู้รบยังได้แพร่กระจายไปยังตอนเหนือของรัฐฉาน ในบริเวณที่ติดต่อกับพื้นที่โครงการสร้างเขื่อนสาละวินสองแห่ง กล่าวคือ เขื่อนท่าซางและเขื่อนสาละวินตอนบน
 
การโจมตีครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการอย่างเป็นระบบของ รัฐบาลทหาร เพื่อกวาดล้างกองกำลังฝ่ายต่อต้านที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งกลุ่มที่มีสัญญาหยุดยิงด้วย ซึ่งได้ปฏิเสธไม่ยอมอยู่ใต้การควบคุมก่อนจะมีการเลือกตั้งเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2553 นับจากการเลือกตั้งเป็นต้นมา การสู้รบได้หนักข้อขึ้นในรัฐกะเหรี่ยง คะเรนนี และตอนใต้ของรัฐฉาน ซึ่งก็เป็นพื้นที่ที่มีแผนการสร้างเขื่อนอีกห้าแห่งตามลำน้ำสาละวิน และในบัดนี้การสู้รบได้แพร่เข้าไปยังตอนเหนือของรัฐฉาน
 
อันตรายจากการสร้างเขื่อนในพื้นที่สู้รบของพม่า ควรเป็นสิ่งที่นักลงทุนจากไทยและจีนทราบเป็นอย่างดี เพราะในสถานการณ์ เช่นนั้นย่อมไม่อาจทำให้สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการสร้างเขื่อน เนื่องจากชุมชนจะไม่มีปากเสียงใดๆ เพราะความรุนแรงที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากภัยคุกคามโดยตรงต่อผู้ปฏิบัติงาน สร้างเขื่อนแล้ว นักลงทุนยังเสี่ยงที่จะเสียชื่อเสียง เนื่องจากร่วมลงทุนกับรัฐบาลทหารที่ส่งเสริมความขัดแย้งและการสู้รบ
 
เรารู้สึกยินดีที่นับแต่ปี 2553 รัฐบาลไทยประกาศให้มีการศึกษาผลกระทบการสร้างเขื่อนฮัตจีในรัฐกะเหรี่ยง เพิ่มเติม รวมทั้งผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญเพื่อให้มีกระบวนการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและมีความ รับผิดชอบสำหรับการวางแผนสร้างเขื่อนสาละวิน อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกันรัฐบาลและบรรษัทจากประเทศไทยก็ยังเดินหน้าตามแผนสร้างเขื่อน ท่าซางที่มีขนาดใหญ่ทางตอนใต้ของรัฐฉาน เพียงไม่กี่วันหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 ในพม่า บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชันแนล จำกัด (EGAT International) จากประเทศไทยและบริษัท Three Gorges Group Corporation จากจีนได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับรัฐบาลทหารพม่าเพื่อพัฒนาโครงการเขื่อนท่าซาง โดยเพิ่มเงินลงทุนเป็น 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการสำรวจเพิ่มเติมในพื้นที่ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนาของ ทหาร แต่กระบวนการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่มีความโปร่งใสใดๆ เลย
 
เมื่อเดือนมีนาคม 2554 เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีนแจ้งว่า กำลังศึกษาอย่างละเอียดถึงผลกระทบทั้งด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำของเขื่อน 13 เขื่อนที่มีแผนการจะสร้างในแม่น้ำนู่ (สาละวิน) ในประเทศจีน และถ้ามี “ปัญหา แม้เพียงอย่างเดียว” รัฐบาลจีนสัญญาว่าจะไม่ดำเนินการก่อสร้างต่อไป ซึ่งก็นับเป็นข่าวดีอีกอย่างหนึ่ง แต่ก็ทำให้เกิดคำถามว่าเหตุใดรัฐบาลจีนจึงไม่ชะลอแผนการสร้างเขื่อนในพม่า ออกไปทั้งๆ ที่มีปัญหาที่ยังไม่คลี่คลายอีกมากมาย รวมทั้งการสู้รบอย่างต่อเนื่องในพื้นที่
 
สถานการณ์เช่นนี้ไม่อาจทำให้นักลงทุนสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานใน การสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาละวินได้ การสู้รบที่เพิ่มขึ้นในพม่าเมื่อเร็วๆ นี้จึงควรเป็นสัญญาณเตือนรัฐบาลและนักลงทุนให้เริ่มปฏิบัติตามมาตรฐานการ สร้างเขื่อนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และควรยุติแผนการสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาละวินในพม่า โดยทันที
 
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net