Skip to main content
sharethis

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ที่ห้องบรรยาย 102 คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มิพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สนับสนุนการวิจัยในหัวข้อ “การบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมปาล์มน้ำมัน เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเทเนอราเชิงพาณิชย์” ระหว่างนายบุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับนายสวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมลงนามให้การสนับสนุนการวิจัยพันธุ์ปาล์มน้ำมันพันธุ์ทรัพย์ ม.อ. 1 โดยคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายบุญสม เปิดเผยว่า การวิจัยหัวข้อดังกล่าว เป็นการวิจัยต่อเนื่องจากการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอราพันธุ์ดีของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งผลทดสอบพันธุ์ลูกผสมเทเนอราในชั่วรุ่นลูก เมื่อปาล์มอายุ 3–4 ปี พบว่าให้ผลผลิตทะลาย 2.1 ตันต่อไร่ต่อปี และเมื่อปาล์มอายุ 7–8 ปี ให้ผลผลิตทะลาย 5.8 ตันต่อไร่ต่อปี ซึ่งเป็นระดับผลผลิตที่สูงกว่าผลผลิตปาล์มน้ำมันทั่วไป ที่เฉลี่ยทั่วประเทศของปี 2553 อยู่ที่ 2.3 ตันต่อไร่ต่อปี “เป็นไปได้ว่า เชื้อพันธุกรรมปาล์มน้ำมันของคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งปรับปรุงพันธุ์เป็นประชากรพ่อแม่พันธุ์ดูราและฟิสิเฟอรารอบใหม่ สามารถนำมาผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ชั้นดี เผยแพร่ให้เกษตรกรนำไปปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตได้ในอนาคต โดยใช้ชื่อปาล์มน้ำมันพันธุ์ใหม่นี้ว่า พันธุ์ทรัพย์ ม.อ. 1” นายบุญสม กล่าว สำหรับปาล์มน้ำมัน จัดเป็นพืชน้ำมันชนิดเดียวของโลก ที่ให้ผลผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันอื่นทุกชนิด และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย ทั้งในด้านอุปโภคและบริโภค รวมทั้งนำผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล ขณะที่วัสดุเหลือทิ้งในโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน ยังนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าได้ด้วยจากการประเมินมูลค่าการผลิตภัณฑ์หลักที่ได้จากปาล์มน้ำมันของไทย พบว่าในปี 2553 มีมูลค่ารวมทุถกผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 แสนล้านบาท ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันประมาณ 4 ล้านไร่ จัดเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไนจีเรียตามลำดับ มีผลิตทะลายเฉลี่ยต่อไร่จัดอยู่ในอันดับ 2–4 ของโลก โดยมีผลผลิตทะลายเฉลี่ยต่อไร่ต่ำกว่าประเทศมาเลเซีย แต่สูงกว่าประเทศอินโดนีเซีย และโคลัมเบียในบางปีการผลิต

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net