Skip to main content
sharethis

ซาเลีย เป็นศิลปินสาวชาวกัมพูชา เธอมีโอกาสเดินทางมาร่วมงานกิจกรรม International People’s Theatre Forum:ละครเปลี่ยนแปลงสังคมได้จริงหรือ? ซึ่งมูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม) ร่วมกับภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ SEAMEO-SPAFAได้จัดขึ้น ณ โรงละครมะขามป้อม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 7-9 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนักวิชาการ นักการละคร ศิลปินหลายแขนง 20 ชาติเข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ภายในงานนั้น มีการ Showcases จากกลุ่มเพื่อนๆ ศิลปิน ประเทศต่างๆ และเธอก็เป็นคนหนึ่งที่ได้นำศิลปะการแสดงกายกรรมแบบการแสดงแบบเซอร์คัส Circus มาโชว์ด้วย ซึ่งได้สร้างความสนใจฮือฮาให้กับผู้เข้าชมงานเป็นอย่างมาก กับท่วงท่าลีลาอันอ่อนช้อยของเธอ เธอบอกว่า ศิลปะทำให้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมสัมพันธ์อันดีกับผู้คนได้อีกด้วย ซาเลียมีภูมิลำเนาเดิมจากเมืองไหนของกัมพูชา ? มาจากพระตะบองค่ะ ทำไมถึงสนใจศิลปะการแสดงแบบเซอร์คัส? ที่สนใจการแสดงแบบเซอร์คัส เพราะว่าชอบ แล้วก็หลงรักการแสดงประเภทนี้ และศิลปะที่เลือกนี้มันทำให้ตัวเองสามารถแสดงและได้เดินทางไปต่างประเทศ ทำให้ได้พบเห็น เพิ่มประสบการณ์และนำศิลปะไปแลกเปลี่ยนกับชาติอื่นๆ ได้ ศิลปะแนวนี้มีในกัมพูชามานานแล้วหรือว่าเพิ่งเกิดขึ้น? มีมานานแล้วเหมือนกัน แล้วมันสามารถนำไปเชื่อมโยงกับผู้คน กับชุมชนได้อย่างไรบ้าง? เป็นการทำงานเป็นหน่วยงานอาจจะคล้ายๆ กับกรมศิลป์ของไทยนั่นแหละ แล้วก็จะมีเว็บไซต์ซึ่งประชาชนสามารถเข้ามาดูได้ อีกอันหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงได้ ก็คือว่าเวลาเดินทางไปทำการแสดงจะเกิดการมีส่วนร่วม ก็จะให้คนที่อยู่ในชุมชนมาเรียนมาฝึกเล็กๆ น้อยๆ แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีดูการแสดง มันอาจจะไม่ได้ในแง่ของการนึกคิดเท่าไหร่ แต่ว่ามันทำให้เรามีกิจกรรมให้ทำร่วมกัน ซึ่งการแสดงศิลปะแบบนี้มันไม่ใช่สำหรับเฉพาะแค่เด็กๆ เท่านั้น แต่ว่าจะเป็นใครก็ได้ ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้ามา แล้วเราก็ไม่ได้เก็บเงิน เพราะว่ามันมีมานานแล้ว แต่ว่ามีช่วงหนึ่งมันขาดหายไป แต่พอช่วงหลัง ได้มีความพยายามที่จะรื้อฟื้นกลับเข้ามาใหม่ ก็พยายามอนุรักษ์ไว้ ดูเหมือนศิลปะแนวนี้จะช่วยรักษาสุขภาพด้วยใช่ไหม? อันดับแรกเลย ก็คือ มันช่วยให้เป็นคนรูปร่างดี(ยิ้ม) แต่สำหรับในการฝึกนั้น จริงๆ แล้วถือว่าเป็นเรื่องอันตรายต่อร่างกายเหมือนกัน เพราะว่าเวลาฝึกไป มันจะเกิดความร้อนในร่างกาย และขณะเกิดความร้อนในร่างกายขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ตาม ครูบอกให้หยุด ก็จะต้องหยุดทันที เพราะว่าถ้าไม่หยุด บางทีมันอันตรายถึงชีวิตเลยแหละ การแสดงแบบเซอร์คัส นี่ถือเป็นศิลปะของกัมพูชาเลยหรือเปล่า? จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ของเราโดยตรง แต่ว่ามันผสมปนเประหว่างศิลปะของฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น แล้วก็อื่นๆ แต่สิ่งที่เรารู้ก็คือว่า หน่วยงานของเราได้ส่งเสริมให้เยาวชนออกไปเรียนแล้วก็กลับมาทำงานด้านนี้ แต่งานกายกรรมเหล่านี้มันเป็นงานที่จะต้องเข้าถึงบุคคล แต่ถ้าทำเดี่ยวมักจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ จะเข้าถึงยาก ดังนั้นเราก็จะต้องผสมผสานกัน คุณคิดว่าสังคมกัมพูชากับสังคมไทยคล้ายหรือแตกต่างกันไหม? ใกล้เคียงกันมาก ก็มีคำหลายๆ คำที่ใช้เหมือนที่ไทยใช้ ชอบสังคมไทยหรือสังคมกัมพูชา? มันเหมือนกันแทบจะไม่มีอะไรต่าง ก็ไม่ได้รู้สึกว่าชอบอะไรมากกว่า แต่มันก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์(ยิ้ม) ในช่วงที่มีความขัดแย้งทางความคิดระหว่างสังคมไทยกับสังคมกัมพูชามีความรู้สึกยังไงบ้าง? จริงๆ แล้ว รู้สึกไม่ชอบเรื่องนี้นะ มันไม่ดีทั้งนั้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ชนะหรือผู้แพ้ เพราะว่าเราเหมือนเพื่อนบ้านกัน ไม่ว่าทหารฝั่งไหนจะตาย มันเป็นเรื่องไม่ดีทั้งนั้น ต่างคนต่างเสีย เพราะสองประเทศนี้มันใกล้กันมาก น่าจะตั้งซึ่งความเป็นเพื่อนซึ่งกันและกันมากกว่า ในฐานะที่เป็นคนกัมพูชา มีอะไรอยากสื่อไปยังคนไทยรับรู้บ้างว่า ถ้าเป็นได้อยากทำอะไรมากที่สุดในโลกเวลานี้? อยากทำให้มีความสุข อยากจะพูดเกี่ยวกับความสุข อยากจะพูด อยากจะทำอะไรก็ได้ เพื่อให้มันเกิดความสุข เพื่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net