Skip to main content
sharethis

กลุ่ม "ประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ" เปิดแคมเปญล่ารายชื่อ 50,000 ชื่อเสนอทำประชามติเพื่อทำรัฐธรรมนูญใหม่ที่าจากประชาชน เสนอให้มีคำถาม “ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่ารัฐสภาต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดย สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน” เพื่อให้การทำประชามติครั้งแรกรัฐสภาต้องแก้รัฐธรรมนูญให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้ทั้งฉบับและมี สสร.จากการเลือกตั้งโดยประชาชนเท่านั้น หวังเร่งทำก่อนรัฐบาลใหม่จะออกคำถามมาเอง

13 ส.ค.2566 ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญเปิดแคมเปญ “เขียนใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100%” ชวนประชาชนเข้าชื่อเสนอทำประชามติต่อคณะรัฐมนตรีใหม่เพื่อเป็นขั้นแรกไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดยประชาชน ซึ่งการรณรงค์ครั้งนี้มีเป้าหมายให้มีประชาชนร่วมลงชื่อเสนอ 50,000 ชื่อภายใน 7 วันเนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้เสร็จิส้นก่อนรัฐบาลจะเริ่มกระบวนการทำประชามติและออกแบบคำถามในการทำประชามติ

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ตัวแทนของกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่าภายใต้สถานการณ์จัดตั้งรัฐบาลที่เป็นการผสมขั้วกันขึ้นมานี้หากทำตามสัญญาที่จะให้มีประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญก็อาจจะเกิดการทำประชามติภายในเดือนกันยายนนี้หากปล่อยให้กระบวนการทำประชามติเดินหน้าไปรัฐบาลที่ผสมขั้วกันอยู่นี้ออกแบบคำถามที่มีปัญหาหรือมีกลไกที่ถูกซ่อนไว้ ทางกลุ่มจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องรีบทำแคมเปญนี้ขึ้นมา

นันทวัฒน์ ศักดิ์สกุลคุณากร คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) อธิบายถึงแคมแปญนี้ว่า รัฐธรรมนูญ 2560 ที่ใช้มาแล้ว 6 ปี และเป็นฉบับที่ชนชั้นนำอ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญปราบโกงนั้นมีปัญหาทั้งในเนื้อหาและกระบวนการร่าง เพราะเน้นไปที่การริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนและตัดการมีส่วนร่วมของประชาชน อีกทั้งเพิ่มอำนาจให้องค์กรรัฐใช้อำนาจเหล่านี้ไปในทางที่ตรงข้ามกับหลักการประชาธิปไตยและทำลายการปกครองที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด

นันทวัฒน์กล่าวต่อถึงกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ยังตกอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะรัฐประหาร คสช.เพื่อสืบทอดเอำนาจของเผด็จการ และการทำประชามติเมื่อ 7 ส.ค.2559 ยังมีข้อห้ามในการรณรงค์และการแสดงความคิดเห็นมีประชาชนถูกจับกุมดำเนินคดีและถูกคุมขังเพราะรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจึงเป็นการทำประชามติที่ไม่เสรีและเป็นธรรมและไม่สามารถอ้างได้ว่ารัฐธรรมนูญ 2560 เกิดจากการรับรองของประชาชน อีกทั้งเมื่อจะมีการแก้ไขรัธรรมนูยก็ยังถูกขัดขวางโดย ส.ว.และศาลรัฐธรรมนูญที่ตีความให้การแก้ไขยุ่งยากมากขึ้นโดยต้องทำประชามติก่อน

ตัวแทนจาก ครช.กล่าวถึงสถานการณ์ขณะนี้ว่าจากข้อตกลงที่พรรคเพื่อไทยได้แถลงในการจับมือกับพรรคภูมิใจไทยตั้งรัฐบาลได้ระบุว่าในการประชุมของคณะรัฐมนตรีวาระแรกหลังจัดตั้งรัฐบาลแล้วจะให้ ครม.มีมติจัดทำประชามติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญโดยเร็ว กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญจึงเห้นความสำคัญที่จะต้องจัดทำรัฐธรรมนูยใหม่แต่การทำรัฐธรรมนูญใหม่ยังมีอีก 5 ขั้นตอนและมีขั้นตอนที่ประชาชนจะต้องเข้าคูหาไปลงคะแนนอยู่ 4 ครั้งเขาอธิบายดังนี้

1. การทำประชามติครั้งที่ 1 เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นการจัดการสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยซึ่งมีความกำกวม และเพื่อเป็นการยืนยันกับชนชนั้นนำว่าประชาชนต้องการมีรัฐธรรมนูญใหม่อย่างแท้จริง ซึ่งการจะทำให้เกิดขั้นตอนนี้เกิดขึ้นมาได้ตาม พ.ร.บ.ประชามติมีการกำหนดไว้ 3 วิธีคือวิธีแรกรัฐสภามีมติ วิธีที่สองคือให้ ครม.มีมติ และสามคือประชาชนเข้าชื่อร่วมกัน 50,000 ชื่อ

2. หลังทำประชามติแล้วรัฐสภาดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 ที่ว่าด้วยกระบวนการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้เติมเนื้อหาส่วนของกระบวนการมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)ขึ้นมา โดยจะต้องผ่านการพิจารณาของ ส.ส. และส.ว.ทั้ง 3 วาระ

3. หลังจากผ่านสภาแล้วจะต้องทำประชามติครั้งที่ 2 เพื่อรับรองการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ในรัฐธรรมนูญ 2560 จากขั้นตอนที่สอง

4.จากนั้นเมื่อสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้แล้วประชาชนจะต้องทำการเข้าคูหาลงคะแนนเลือกตั้ง สสร. ซึ่งเป็นขั้นตอนใหม่ ซึ่งก่อนจะมีการเลือกตั้งอาจจต้องออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดคุณสมบัติของ สสร. ขั้นตอนการสมัครเข้ามารับเลือกตั้งเป็น สสร. ขั้นตอนการเลือก และขั้นตอนการนับคะแนนต่างๆ และเมื่อได้ สสร.มาแล้ว สสร.ก้จะทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาซึ่งขั้นตอนนี้อาจใช้เวลา 6-9 เดือน

5. ขั้นตอนสุดท้ายคือการให้ประชาชนทำประชามติครั้งสุดท้ายรับรองร่างรัฐธรรมนูญที่ สสร.ร่างขึ้นมาเสนอต่อประชาชน

กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูยเห็นว่าแม้จะมีขั้นตอนและใช้เวลาพอสมควรและยังมีอีกหลายประเด็นที่ยังไม่ชัดเจรน แต่จำเป็นที่จะต้องทำประชามติเพื่อขอความเห้นจากประชาชนโดยเร็วที่สุดอย่างน้อยที่สุดภายในปลายปี 2566 นี้ ดังนั้นสิ่งที่เป็นกระดุมเม็ดแรกที่จะทำให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คือการมีคำถามประชามติที่มาจากประชาชนและประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจในการร่างคำถามของตัวเอง

รัชพงศ์ แจ่มจิรชัยกุล จากไอลอว์กล่าวว่าการลงคะแนนเสียงประชามติสิ่งที่สำคัญคือการรู้ว่าคำถามประชามติคืออะไร เพราะเมื่อประชาชนเข้าคูหาไปลงคะแนนแล้วทำได้แค่ว่าจะเห็นหรือไม่เห็นชอบเพราะไม่สามารถขีดฆ่าส่วนที่ไม่ชอบหรือเติมอะไรเข้าไปในคำถามได้ คำถามที่ ครม.จะมีมติให้ถามในการำทประชามติจึงสำคัญและเป็นเรื่องน่ากังวลจากการที่เคยมีคำถามพ่วงที่เป็นปัญหาอย่างการให้ ส.ว.มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีถึง 5 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อยากให้ซ้ำรอยอีกแล้ว

รัชพงศ์ได้เสนอตัวอย่างคำถามว่าควรจะต้องเขียนไว้เลยว่าให้แก้ไขรัฐธรรมนูยได้ทั้งฉบับหรือไม่และให้ สสร.ต้องมาจากประชาชน ซึ่งเขาเห็นว่าอย่างน้อยขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2560 ยังเปิดช่องให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อกัน 50,000 ชื่อเสนอให้มีการทำประชามติและสามารถมีคำถามประชามติที่มาจากประชาชนได้ และกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญได้มีคำถามที่เลือกใช้ในการระดมรายชื่อ 50,000 ชื่อดังนี้

“ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่ารัฐสภาต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดย สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน”

รัชพงศ์อธิบายคำถามแรกนี้ว่าที่เจาะจงไปที่รัฐสภาที่มีหน้าที่อยู่ในกระบวนการขั้นถัดไป เพื่อให้รัฐสภาจะต้องมีหน้าที่ตามคำถามประชามติ นำความเห็นของประชาชนไปทำให้เกิดขึ้นจริง โดยเขาอธิบายคำวามสำคัญของเนื้อหาคำถามนั้นมีอยู่ 2 ประเด็น

ประการแรก การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่นั้นต้องทำได้ “ทั้งฉบับ” ต้องไม่มีเงื่อนไขอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้

ถ้าไม่เขียนไว้อาจเห็น ส.ว. ใส่เงื่อนไขห้าม สสร.แก้ไขหมวดองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ หรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งจะเป็นการปิดประตูปฏิรูปการเมือง เสียเวลาการทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไปฟรีๆ อีก จึงจำเป็นต้องยืนยันว่าต้องทำรัฐธรรมนูญใหม่ได้ทั้งฉบับไว้ในคำถาม

ประการที่สอง สสร.ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน เพราะถ้าไม่เขียนไว้รัฐสภาอาจทำให้ สสร. มาจากการแต่งตั้งของใครก็ไม่รู้หรือมีการเก็บที่นั่งให้คนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

จีรนุช เปรมชัยพร เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ (CALL) กล่าวถึงการรณรงค์ครั้งนี้ว่าเกิดจากการรวมตัวกันของหลายองค์กร แต่ที่เรียกว่าเป็นกลุ่มประชาชนเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของประชาชนทั้งปรเทศจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม แม้ว่าการเป็นประชาชนประเทศนี้จะเป็นเรื่องเหนื่อยยาก แต่ประชาชนก็แสดงเจตจำนงให้เห็นผ่านการเลือกตั้งที่ผ่านมาแล้วว่าอยากเห็นประเทศเป็นอย่างไรและการเสนอคำถามประชามติครั้งนี้จะเป็นอีก 1 ครั้งที่ประชาชนจะมาเริ่มต้นในการสร้างกติกาในการปกครองประเทศโดยจะมีรัฐธรรมนูญที่สามรถเขียนใหม่ได้ทั้งฉบับโดยมีตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

จีรนุชกล่าว่าการหารายชื่อ 50,000 รายชื่อภายใน 7 วันเป็นเป้าหมายที่กลุ่มตั้งไว้และเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้จากการร่วมใจกันของประชาชนในประเทศนี้ที่ไม่พร้อมจะเห็นสังคมไทยยังเป็นอย่างที่เป็นอยู่ต่อไป

จีรนุชกล่าวถึงขั้นตอนที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการลงชื่อเสนอคำถามประชามติครั้งนี้ได้โดยการไปลงชื่อตามสถานที่ที่ทางโครงการจัดให้ลงชื่อได้แล้วใน 16 จังหวัด 36 จุดโดยเช็คได้ที่นี่ หรือหากต้องการลงชื่อโดยการส่งเอกสารเองทางไปรษณีย์สามารถดาวโหลดแบบฟอร์ม และส่งไปที่ ตู้ ปณ.79 ปณศ.สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ประเทศไทย 10400 หรือสแกนส่งไปที่ conforall66@gmail.com

ตัวแทนจาก CALL กล่าวว่าเบื้องต้นอยากขอให้เป็นการลงชื่อและยื่นเป็นเอกสารตัวจริงเนื่องจากยังมีความไม่ชัดเจนในกติการรวบรวมรายชื่อว่าว่าสามารถลงชื่อทางออนไลน์ได้หรือไม่จึงจำเป็นต้องทำให้เกิดเป็นลายมือชื่อจริงในกระดาษ อย่างไรก็ตามผู็ที่สนใจมีความไม่สะดวกที่จะทำได้จริงก็สามารถทำผ่านทางเว็บไซต์ https://conforall.com/#petition

ชีวิตประชาชนจะดีขึ้นได้ต้องมีรัฐธรรมนูญใหม่ที่ประชาชนมีส่วนร่วม

ไพฑูรย์ สร้อยสด จากสมัชชาคนจน กล่าวว่ารัฐธรรมนูญ 2560 ที่ใช้อยู่ตอนนี้เป็นสิ่งที่เกิดมาจากการเผด็จการหรือการรัฐประหารทำให้ประชาชนไม่สามารถหนีพ้นมาได้ สมัชชาคนนจึงเห็นว่าจะทำอย่างไรให้มีรัฐธรรมนูญที่จะทำให้ชีวิตประชาชนดีขึ้นกว่านี้ได้

ตัวแทนจากสมัชชาคนจนได้กล่าวถึงกระบวนการที่ทำงานร่วมกับเครือข่ายประชาชนและองค์กรต่างๆ นับตั้งแต่ปลายปี 2562 ได้ยกประเด็นที่ใช้เป็นหัวข้อในการพูดคุยว่าควรจะมีอยู่ในรัฐธรรมนูญ เช่น สิทธิเกษตรกร แรงงาน สิทธิชุมชนและการพัฒนา สิทธิการศึกษา สิทธิในที่อยู่อาศัยและสิทธิในที่ดิน เป็นกิจกรรมเริ่มต้นของโครงการยกร่างรัฐธรรมนูญคนจน ต่อเนื่องมาถึง 63 ก็ได้จัดเวทีทั้ง 5 ภูมิภาคเพื่อเสนอแนะแนวทางและข้อคิดเห็นต่างๆ เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญคนจน ซึ่งมีผู้เสนอประเด็นใหม่ๆ มาอย่างเช่นเรื่องความมั่นคงของประชาชนสำคัญกว่าความมั่นคงของรัฐ หรือเรื่องจัดสรรอำนาจอธิปไตยระหว่างสถาบันการเมืองต่างๆ และการต่อต้านรัฐประหารโดยคนทำรัฐประหารจะต้องไม่ลอยนวลพ้นผิด การยอมรับความหลากหลายทางเพศ รัฐไทยต้องเป็นรัฐสวัสดิการ การยอมชดใช้ค่าเสียหายแปแก่ปะรชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายหรือกฎหมายของรัฐ ไปจนถึงเรื่องสันติภาพชายแดนใต้

ไพฑูรย์กล่าวว่าเมื่อปี 2565 เมื่อมีแนวโน้มจะมีการเลือกตั้งในปี 2566 ได้จัดเวทีสัญจรนำเสนอเรื่องเหล่านี้ต่อพรรคการเมือง ซึ่งมีกลุ่มองค์กรต่างๆ เข้าร่วมกว่า 216 องค์กร และมี 7พรรคการเมืองที่เข้าร่วมเวทีที่จัดขึ้น

จากเวทีที่จัดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนต้องการประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพเสมอภาค

“เรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องของประชาธิปไตยไม่ใช่แค่เรื่องของพรรคการเมืองอีกต่อไปไม่ใช่เรื่องเฉพาะของนักการเมืองอีกต่อไป ชาวบ้านเราเองก้ต้องการมีส่วนร่วมในประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเพราะเรื่องการเมืองเป็นการกำหนดชีวิตของประชาชน จะดีจะร้ายเรื่องที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่มาจากการเมืองทั้งสิ้น” ไพฑูรย์กล่าวถึงเหตุผลที่ประชาชนจะต้องเข้ามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญให้มากที่สุด

ไพฑูรย์กล่าวทิ้งท้ายว่าชีวิตของประชาชนจะดีขึ้นชีวิตของคนจนจะดีขึ้นได้รัฐธรรมนูยต้องมาจากประชาชนและต้องเขียนใหม่ทั้งฉบับ สสร.ก้ต้องมาจากการเลือกตั้ง 100% โดยมีสัดส่วนของคนจนร่วมด้วย

จับตาการแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลว่าจะให้ประชาชนทุกคนจะมีส่วนร่วมได้จริงหรือไม่

จินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่ารัฐบาลกำลังพูดเรื่องแก้รัฐธรรมนูญที่หลายคนก็เห็นว่าเป็นเรื่องดี แต่ก้ต้องดูด้วยว่ารัฐบาลจะแก้อย่างไรและเป็นประโยชน์กับชาวบ้านหรือเปล่า เพราะพอรัฐบาลประกาศว่าจะแก้รัฐธรรมนูญครอบครัวข้าราชการในแต่ละจังหวัดก็เตรียมตัวลง สสร.แล้ว เหมือนกับที่มีการเลือกตัวแทนจังหวัดแล้วก็มีข้าราชการส่งตัวแทนตัวเองเข้ามาแล้วก็ล็อกผลโหวตคณะกรรมการในองค์กรอิสระแต่ละจังหวัด เวลาฟังรัฐบาลบอกว่าจะแก้ต้องดูด้วยว่าจะแก้อย่างไรแก้แล้วประชาชนได้เข้าถึงรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่แล้วเอาใครมาเป็นคนแก้หรือจะเอาคน คสช.เข้ามาแก้ ประชาชนได้เข้าไปแก้ด้วยหรือไม่ เพราะฉบับ 2560 ที่ผ่านมาก็ไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม

จินตนายกตัวอย่างเช่น เรื่องการชุมนุมไปได้เลยถ้าประชาชนมีปัญหา แต่รัฐบาลพยายามเอาปัญหาทุกปัญหาเป็นเรื่องการเมืองและเรื่องความมั่นคง ทั้งปัญหาปากท้อง ผลกระทบจากโครงการ เรื่องราคาพืชผล ทุกคนก็ถูกกล่าวหาว่ามาล้มล้างรัฐบาล การมารับฟังปัญหาจึงไม่เกิดขึ้น

จินตนายังได้กล่าวถึงกระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญคนจนที่มีเครือข่ายองค์กรต่างๆ และประชาชนเข้าร่วมว่า เธอได้ไปร่วมด้วยซึ่งในกระบวนการนี้มีทั้งนักกฎหมาย เอ็นจีโอ และยังเอาร่างดังกล่าวที่ร่วมกันจัดทำขึ้นมานี้ไปให้ประชาชนในภูมิภาคต่างๆ ได้ร่วมแสดงความเห็น แต่กระบวนการของรัฐบาลจะทำแบบที่ภาคประชาชนทำหรือไม่แล้วจะเอาร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนช่วยกันร่างขึ้นมานี้ไปร่วมด้วยหรือไม่ การที่รัฐบาลบอกจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่นี้จึงไม่ได้เป็นผู้กำหนดแต่ฝ่ายเดียว แต่เห็นว่ากลไกการแ้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องมีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการคัดสรรหาตัวแทนจากกลุ่มอาชีพต่างๆ

จินตนากล่าวว่าการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ขึ้นมานั้นไม่ได้เห็นหัวประชาชนแต่เป็นเพียงมองแต่ว่าผู้มีอำนาจและกลุ่มนายทุนจะอยู่กันอย่างไร อย่างเช่นเรื่องสิทธิในการชุมนุมที่ประชาชนมีตามรัฐธรรมนูญแต่ก็ถูกเอายึดไว้อยู่กับกฎหมายอย่าง พ.ร.บ.ชุมนุม ประชาชนไปยื่นหนังสือแล้วแก้ปัญหาไมไ่ด้เพราะถูกจำกัดทั้งจำนวนวันชุมนุม จำกัดพื้นที่ จำกัดข้อเรียกร้องอยู่ในกำมือของภาครัฐ ทำให้การเรียกร้องของประชาชนไม่มีทางสำเร็จ ทำให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่นี้ไม่ได้มีการศึกษาเรื่องสิทธิเสรีภาพและกลไกการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน แล้ววันนี้การออกบัตรคนจนมาแต่มีคนที่ไม่สามารถเข้าถึงบัรคนจนได้จะทำอย่างไร สวัสดิการรัฐที่ไม่ครอบคลุมชาวบ้านหรือการจัดเก็บภาษีที่ท้องถิ่นไม่สามารถกำหนดเองได้ ทำให้เราไม่สามารถบอกหรือเข้าถึงปัญหาการจัดการเรื่องเหล่านี้ได้

จินตนาอยากเรียกร้องว่าให้ภาคประชาชนเข้าชื่อการเสนอแก้ไขคำถามประชามติให้ได้ 50000 ชื่อในการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้ 100 เปอร์เซนต์ และให้สามารถแก้ไขได้ทั้งฉบับเพราะบางเรื่องอาจจะมีความสำคัญกับประชาชนมากกว่าหรือจะสร้างความเสมอภาคให้กับประชาชนได้ ซึ่งในวันนี้พี่น้องประาชนหลากหลายกลุ่มก็มีการศึกษาเรื่องรัฐธรรมนูญและเขียนขึ้นมาร่วมกันเพื่อเอามารวมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้

 

“รัฐบาลประกาศแก้รัฐธรรมนูญวันนี้เมียผู้ว่าเมียนายอำเภอพวกประธานสภากาชาดจังหวัด สภากาชาดอำเภอ เตรียมเป็น สสร.กันหมดแล้ว เหมือนกับที่ทุกๆ ปีที่จังหวัดทุกจังหวัดจะเอาข้าราชการ เอาคนของตัวเองเข้าไปสมัคร 10 กลุ่ม 20 กลุ่มเลือกตัวแทนเข้ามาแล้วก็ล็อกโหวตเข้าเป็นคณะกรรมการองค์กรอิสระในแต่ละจังหวัด เพราะฉะนั้นพอฟังรัฐบาลพูดเรื่องแก้รัฐธรรมนูญช่วยคิดตามด้วยว่าเขาแก้อย่างไร” จินตนากล่าว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net