Skip to main content
sharethis

 

บันทึกถ่ายทอดสดเยี่ยมชมนิทรรศการ Memes of Dissent เล่าเรื่องจุดตัดของสื่อสังคมออนไลน์กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมสมัยของไทย จัดโดย พิพิธภัณฑ์สามัญชน โดยมี อานนท์ ชวาลาวัณย์ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สามัญชน พาชม

สำหรับนิทรรศการดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 28 ม.ค.ที่ผ่านมาที่อาคาร All Rise (สำนักงาน iLaw )

เพจ พิพิธภัณฑ์สามัญชน Museum of Popular History อธิบายการจัดนิทรรศการครั้งนี้ไว้ด้วยว่า อินเทอร์เน็ตนำความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาสู่การเคลื่อนไหวทางการเมือง เทคโนโลยีใหม่นี้เข้ามารบกวนการเผยแพร่ข้อมูลทางเดียวในลักษณะที่ ”เรื่องเล่าหลัก” ถูกกำหนดโดยสื่อเก่าที่มักถูกรัฐกำกับได้อย่างง่ายดาย

อินเทอร์เน็ตลดการพึ่งพิงสื่อเก่าของประชาชน นอกจากนั้นยังเปิดพื้นที่ใหม่สำหรับการมีส่วนร่วมทางการเมืองน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารได้โดยไม่ระบุตัวตน พวกเขาก็สามารถแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเป็นอิสระโดยไม่ต้องเสี่ยงกับการถูกข่มขู่คุกคามหรือถูกลงโทษ

การประท้วงในปี 2020 - 2021 เป็นการประท้วงโดยสันติโดยใช้การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อย่าง การแสดงศิลปะ และละครล้อเลียนข้างถนน ไปจนถึงการเคลื่อนไหวที่หล่อหลอมโดยวัฒนธรรมของเยาวชนที่เข้าใจอินเทอร์เน็ต

“อินเทอร์เน็ตมีม” คือภาษาภาพรูปแบบหนึ่งที่อาศัยอารมณ์ขัน การเสียดสี ที่ต้องอาศัยไหวพริบในการนำวัฒนธรรมร่วมสมัยมาดัดแปลงในการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นทางการเมือง

มีมทางอินเทอร์เน็ตสามารถถูกดัดแปลงเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำกัด พวกมันถูกสร้าง ถูกแชร์ ถูกดัดแปลงและถูกแชร์อีกครั้ง ซึ่งแสดงถึงวัฏจักรของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

ในบริบทของการประท้วงในปี 2020 - 2021 “อินเทอร์เน็ตมีม” คือเครื่องมือที่คนรุ่นใหม่ใช้ต่อสู้ทางการเมือง มุกตลกหรือรอยยิ้มได้กลายเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ใช้ทำลายความชอบธรรมหรือสถานะศักดิ์สิทธิ์ของผู้มีอำนาจ

นิทรรศการ Memes of Dissent ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สาม หลังเคยจัดที่จังหวัดพะเยาและเชียงราย โดยในครั้งนี้เราได้เพิ่มมีมบางส่วนที่ถูกสร้างสรรค์หลังการเลือกตั้งปี 66 เป็นส่วนหนึ่งของงานด้วย

นิทรรศการ Memes of Dissent: นำเสนอโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์สามัญชน Museum of Popular History และ ARTCADE 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net