Skip to main content
sharethis

ชาวพม่าในเชียงใหม่จัดงาน “UP AGAINST THE DICTATOR-SHIT” รำลึกครบรอบ 3 ปี การรัฐประหารในพม่า ยืนหยัดต่อต้านและไม่ยอมพ่ายแพ้ เรียกร้องนานาชาติยืนเคียงช้างประชาชนชาวพม่า คว่ำบาตรระบอบเผด็จการทหาร ตัดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และคว่ำบาตรบริษัทน้ำมันและก๊าซพม่า

 

2 ก.พ. 2567 เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา เวลา 17.00 – 19.00 น. ชาวพม่าในจังหวัดเชียงใหม่รวมตัวกันที่บริเวณลานท่าแพ จัดงาน “UP AGAINST THE DICTATOR-SHIT” เพื่อรำลึกครบรอบ 3 ปี การรัฐประหารในพม่า ภายในงานมีการแสดงนิทรรศการใบหน้าผู้นำเผด็จการในพม่าและการรัฐประหาร อ่านบทกวี และเปิดให้ผู้ร่วมงานกล่าวแสดงความร็สึกต่อการรัฐประหารที่เกิดขึ้น นอกจากนี้นักกิจกรรมชาวพม่าและชาวไทยได้ร่วมกันแสดง Performance Art รำลึกถึงความสูญเสียของประชากรจากการรัฐประหารในพม่า

ทั้งนี้ นักกิจกรรมชาวไทยและชาวพม่าได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ “ต่อต้านและไม่ยอมพ่ายแพ้” ดังนี้ ช่วงเวลา 3 ปีตั้งแต่เกิดรัฐประหารพม่าในวันที่ 1 ก.พ. 2021 พวกเราขอร่วมรำลึก 3 ปีของการกระทำของเผด็จการทหารเมียนมาที่โหดเหี้ยมและเป็นอาชญกรรมต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ในพม่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีผู้ถูกจับกุม 25,799 คน ในจำนวนนั้นมี 19,911 กำลังถูกกักขังและตัดสินคดี และมีพลเรือนกว่า 4,341 คนเสียชีวิต จากข้อมูลโดยสมาคมช่วยเหลือ นักโทษการเมือง (AAPP) มีประชาชนกว่า 2.3 ล้านคนถูกทำให้พลัดถิ่นตั้งแต่เกิดรัฐประหาร และมีคน 18.6 ล้านคนที่ต้องการความช่วยเหลือทางมนุษยธรมอย่างเร่งด่วน ในจำนวนนี้มีเด็ก 6 ล้านคนรวมอยู่ด้วย

กองทัพพม่าใช้การโจมตีทางอากาศกว่า 600 ครั้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021 ถึง มกราคม 2023 ซึ่งพื้นที่สะกายได้รับผลกระทบมาก ที่สุดโดยถูกทิ้งระเบิดกว่า 90 วัน รวมถึงรัฐคะจิ่น รัฐคะเนนี และรัฐกะเหรี่ยงที่ถูกโจมตีทางอากาศเป็นจำนวนมากเช่นกัน ตัวเลขเหล่านี้เน้นให้เห็นถึงผลกระทบในวงกว้างของความขัดแย้งที่กระทบในพื้นที่ 7 รัฐชาติพันธุ์ และ 7 แคว้นของประเทศเมียนมาตั้งแต่เกิดเหตุการณ์รัฐประหารเป็นต้นมา เมื่อใดก็ตามที่ประเทศพม่าประสบกับความขัดแย้งและเกิดความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ประเทศ เพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศไทยและประเทศอินเดียกลายเป็นพื้นที่ลี้ภัยสำหรับชาวพม่า ประเทศไทยที่มีชายแดนและประวัติศาสตร์ร่วมกับพม่าและมีบทบาทสำคัญกับประชาธิปไตยพม่า อีกทั้งยังเป็นผู้ลงทุนมากเป็นอันดับที่ 3 ในประเทศพม่า ดังนั้นความมีเสถียรภาพและพัฒนาการของประเทศไทยจึงเกี่ยวข้องกับความสำเร็จของพม่าโดยตรง

นอกจากนี้ความเกี่ยวข้องด้านวัฒนธรรมก็ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์นี้แข็งแกร่งขึ้นที่ผ่านมาองค์กรนอกภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรนานาชาติได้จับตามองสถานการณ์ที่ชายแดนอย่างใกล้ชิดและได้ให้การสนับสนุนความช่วยเหลือที่สำคัญ ซึ่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็นพื้นที่กันชนที่สำคัญเอื้อให้เกิดพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์และเป็นที่หลบภัยสำหรับผู้ต้องการลี้ภัยจากความขัดแย้งในพม่าโดยรองรับผู้ลี้ภัยมากกว่า 90,000 คน ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 80 ทั้งนี้ความสัมพันธ์กับประเทศไทยใด้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการรับผู้ลี้ภัยเพิ่มเติมกว่า 45,000 คนหลังการรัฐประหารเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 เป็นต้นมา ความเอาใจใส่และช่วยเหลือเร่งด่วนจากนานาชาติจึงเป็นที่จำเป็นเพื่อจัดการวิกฤตมุนษยธรรมในภูมิภาคที่สำคัญนี้ พวกเรานักกิจการรมชาวไทยและพม่าขอประณามการรัฐประหารและความโหดเหี้ยมโดยระบอบเผด็จการทหารในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีความกดดันจากนานาชาติแต่ระบอบเผด็จการทหารยังคงดำเนินการกระทำอันโหดเหี้ยมต่อไปเสมือนเชื่อว่าสามารถทำได้โดยปราศจากความรับผิดชอบ

 

พวกเราขอเรียกร้องให้หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย เช่น นายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับชายแดน คณะกรมมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ซาติและการปฏิรูปประเทศ ให้ปฏิบัติดังนี้

1. ต้องยอมรับและสนับสนุนความช่วยเหลือที่เพียงพอแก่ผู้ลี้ภัยชาวพม่าที่เกิดจากความขัดแย้งและปัญหาการเมือง โดยเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

2. ขอให้ยืนยันในหลักสิทธิมนุษยชนและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้พลัดถิ่นจากพม่า

3. ดำเนินการเชิงรุกผ่านการทำงานร่วมกับประชาคมอาเซียนและประชาคมนานาชาติ โดยการสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุผลได้อย่างแท้จริง

4. สนับสนุนและปกป้องสิทธิของผู้อพยพรวมถึงผู้ที่ทำงานในประเทศไทยด้วยการขยายมาตรการช่วยเหลือและ ปกป้องที่ครอบคลุมรอบด้าน

5. สร้างพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์กับองค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรชุมชนโดยใช้เครือข่ายเหล่านี้เพื่ออำนวย ความสะดวกของความช่วยเหลือต้านมนุษยธรรมข้ามชายแดน เพื่อร่วมกันจัดการอุปสรรคที่กำลังบีบคั้นอยู่

พวกเราขอเรียกร้องประชาคมนานาชาติให้ดำเนินการดังนี้

1. ยืนยันว่าผู้นำเผด็จการทหารและผู้มีส่วนร่วมก่ออาชญากรรมทั้งหมดต้องรับผิดชอบกับอาชญากรรมที่ได้ก่อ ขึ้น

2. เพิ่มความพยายามในการคว่ำบาตรต่อระบอบเผด็จการทหารรวมถึงมาตรการตัดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และคว่ำบาตรบริษัทน้ำมันและก๊าซพม่า (Myanmar Oll and Gas Enterprise: MOGE)

3. หยุดการส่งออกและขายน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานให้กับทหารพม่า

4. สนับสนุนความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับผู้ประสบความเดือดร้อนโดยเฉพาะผู้ที่พลัดถิ่นจากความ เสี่ยงทางการเมืองและความขัดแย้ง

5. ให้การยอมรับและทำงานร่วมกับผู้ที่มีบทบาทต่างๆด้วยความชอบธรรมและให้มีอำนาจควบคุมพื้นที่อย่าง เพียงพอ

สุดท้ายพวกเราขอเรียกร้องทุกฝ่ายให้แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับชาวพม่า เพื่อแสดงความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้ากับความสำเร็จของการปฏิวัติ เพื่อทำลายระบอบเผด็จการทหารและเพื่อยืนเคียงช้างประชาชน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net