Skip to main content
sharethis
Event Date
 
“10 ปีทนายสมชาย นีละไพจิตร สูญหายโดยถูกบังคับ”
 
12 มีนาคม 2557 เวลา 08.30-16.00น. 
 
ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
 
จัดโดย มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) และ กองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร 
<--break- />
กำหนดการ
 
08:30-09:00 ลงทะเบียนงานภาคเช้า
 
09:00-09:10 กล่าวเปิดงานเสวนา โดย 
Ms. Matilda Bogner UN OHCHR Regional Representative
 
09.10-09.15 กล่าวต้อนรับและเปิดงาน 
โดย นางอังคณา นีละไพจิตร ประธาน มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
 
09:15-09:45 “ประเทศไทยกับการเตรียมความพร้อมในการให้สัตยาบันในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปกป้องบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับ” โดย
ผู้แทนจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม*
คุณสมชาย หอมลออ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายแห่งประเทศไทย
 
09:45-10:00 พัก/ อาหารว่าง
 
10:00-11:30 การเสวนา หัวข้อ “ความท้าทายทางกฎหมายไทยในการสืบสวน ดำเนินคดีในกรณีการสูญหายโดยถูกบังคับ”
I:  อุปสรรคและปัญหาในการดำเนินคดีกรณีการสูญหายโดยถูกบังคับในประเทศไทย
คุณวสันต์ พานิช ทนายความผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน
 
II: ความล้มเหลวในการแสวงหาร่างผู้เสียหายส่งผลกระทบต่อการสืบสวนและการดำเนินคดีอย่างไร?
ตัวแทนจากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ)*
 
III:  ความล้มเหลวในการแสวงหาร่างผู้เสียหายส่งผลกระทบต่อสิทธิและสถานะทางกฎหมายในกระบวนการพิจารณาคดีทางอาญาของครอบครัวเหยื่ออย่างไร?
ผศ.ดร. ปกป้อง ศรีสนิท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
11:30-11:45 เปิดตัวรายงาน10 ปี สมชาย นีละไพจิตรสูญหายโดยถูกบังคับ “10 ปีอันไร้ซึ่งความจริง: สมชาย นีละไพจิตรและการสูญหายโดยถูกบังคับในประเทศไทย” โดย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ)
 
11:45-12:15 แลกเปลี่ยนซักถาม
 
12:15-12:30 กล่าวขอบคุณและปิดการเสวนา โดย ตัวแทนจากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล - ICJ
 
12:30 รับประทานอาหารกลางวัน
 
เวลา 13.00-13.30 น. ลงทะเบียนงานภาคบ่าย
 
เวลา 13.30-14.00 น. พิธีกรกล่าวต้อนรับ
·        นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการกองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร กล่าวเปิดงาน
·        นายจอน อึ๊งภากรณ์ กรรมการกองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร กล่าวถึงความเป็นมาและความหมายของรางวัลสมชาย นีละไพจิตร
 
เวลา 14.00-14.15 น.  พิธีมอบรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ๒๕๕๗ และรางวัลผู้มีผลงานสิทธิมนุษยชนน่ายกย่อง ประจำปี ๒๕๕๗ และรางวัลวิทยานิพนธ์ด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น
·        มอบรางวัลโดย ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์การเมือง
และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
เวลา 14.15-15.30 น.  เสวนา “บนเส้นทางการต่อสู้..ประสบการณ์นักสิทธิมนุษยชนไทย” โดย
·        ผู้รับรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ๒๕๕๗
·        ผู้รับรางวัลผู้มีผลงานสิทธิมนุษยชนน่ายกย่อง ประจำปี 2557 และผู้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น ประจำปี 2557
·        ดำเนินรายการโดย ผศ. รุจน์ โกมลบุตร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกรรมการกองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร
 
เวลา 15.30-16.00  กล่าวปิดท้าย โดย  ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
 
 
ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน: http://bit.ly/1fE3baw 
ติดต่อสอบถาม: somchaifund@gmail.com หรือ โทร.081-773-5155 หรือ 0898291167
 
หมายเหตุ: *วิทยากรอยู่ระหว่างรอยืนยัน
- สำหรับงานช่วงเช้า มีล่ามแปล 2 ภาษา และเครื่องแปลภาษาไว้บริการ
- เพื่อความสะดวกของผู้เข้าร่วม ขอความกรุณาหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล หากมีความจำเป็นขอความกรุณาจอดที่อาคารจามจุรีสแควร์
 
.....
 
เกี่ยวกับ รางวัลสมชาย นีละไพจิตร
กองทุนรางวัลสมชาย ดำเนินกิจกรรมมอบรางวัลสมชาย นีละไพจิตร เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติ และเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่มีคุณูประการ เสียสละ ในการส่งเสริม ปกป้อง สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้สังคมในวงกว้างตระหนักถึงความสำคัญและยอมรับบทบาทของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ทำงานเพื่อเผยแพร่ความรู้ หรือตีแผ่ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน เป็นการให้รางวัลทุกสองปี
 
ผู้ที่ได้รับรางวัลสมชาย นีละไพจิตร 2555 ได้แก่ นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความผู้มีประสบการณ์อย่างยาวนานในการทำคดีเกี่ยวกับความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคดีสิทธิมนุษยชน
 
ปี 2557 เป็นการให้รางวัลเป็นครั้งที่สอง และได้เปิดรับชื่อผู้สมควรได้รับรางวัลจากประชาชนทั่วไป ใน 3 ประเภท คือ 
1 ประเภทบุคคล/ชุมชน/กลุ่มบุคคล/องค์กร
2 ประเภทงานวิจัยทางวิชาการหรือวิทยานิพนธ์
3 ประเภทสื่อมวลชน (ผลงาน / บุคคล/ ทีมงาน)
 
กติกาในการเสนอชื่อเบื้องต้นคือ ต้องมีความโดดเด่นในผลงานด้านสิทธิมนุษยชนที่ทำ โดยเฉพาะในปี 2556-2557 งานวิชาการและผลงานสื่อต้องถูกเผยแพร่ระหว่าง 1 ม.ค. 2556 – 31 ม.ค. 2557
 
จากการเปิดให้ประชาชนทั่วไปเสนอชื่อเป็นเวลาสามเดือน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนมกราคม 2557 มีรายชื่อถูกเสนอทั้งหมดจำนวน 12 ชื่อ ซึ่งมาจากหลากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เช่น ด้านสิทธิแรงงาน ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ด้านสิทธิชุมชน เป็นต้น
 
คณะกรรมการคัดเลือกรายชื่อจนเหลือผู้เข้ารอบสุดท้ายประเภทบุคคล/ชุมชน/กลุ่มบุคคล/องค์กร 3 รายชื่อ ได้แก่  
1 นายบุญยืน สุขใหม่ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน
2 น.ส. เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายสิทธิมนุษยชน
3 ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา
 
จากรายชื่อดังกล่าว จะมีเพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ประจำปี 2557 พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท ส่วนอีก 3 ชื่อที่เหลือจะได้รับรางวัลผู้มีผลงานสิทธิมนุษยชนน่ายกย่อง พร้อมเงินรางวัลรายละ 10,000 บาท
 
ส่วนประเภทงานวิชาการ มีผู้ได้รับรางวัล 1 คน ส่วนประเภทสื่อนั้น ไม่มีผู้ได้รับรางวัล
 
เกี่ยวกับกองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร
กองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2548 จากเงินรางวัลแมกไซไซจำนวน 800,000 ของนายจอน อึ๊งภากรณ์ 
 
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รางวัลสมชาย นีละไพจิตร 2557 ได้ที่นี่
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net