Skip to main content
sharethis

โอฬาร  อ่องฬะ


คณะทำงานศึกษาแนวทางการกระจายอำนาจ


ในการบริหารจัดการท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม


 


เป็นระยะเวลา ประมาณเกือบ 1 สัปดาห์มาแล้ว ที่กระแสข่าวทั้งในหน้าสิ่งพิมพ์ วิทยุ ทีวี ต่างๆ ได้นำเสนอมุมมอง ทัศนะของหลายๆภาคส่วน ต่อประเด็นของ ร่างพระราชบัญญัติหนังสือพิมพ์ สื่อสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. .... ท่ามกลางความขัดแย้งในแนวคิดจาก 2 ส่วนใหญ่ๆ


 


ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในส่วนของ กระทรวงมหาดไทย (มท.) ที่เสนอความคิดที่แตกต่าง ผ่านรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อ.ป.ท.) กับ แนวคิดของทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ผ่านมุมมองในการนำเสนอของตัวแทนของตัวแทนผู้นำองค์กรชุมชนรวมถึงองค์กรชาวบ้านที่มีรูปแบบการทำงานเคลื่อนไหวทางสังคมในรูปแบบต่างๆ


 


เมื่อย้อนมองกับมาต่อแนวทางในการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการท้องถิ่น ก็จะพบว่า มุมมอง ข้อคิดเห็นต่างๆที่ปรากฏมานั้นเป็นการแสดงทัศนะ วิวาทะมิติทางโครงสร้างอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการอธิบายถึงความยุ่งยาก ทับซ้อน ในการปกครองในระดับท้องถิ่น การแทรกแซงบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ


 


ในขณะที่องค์กรชุมชน ผู้นำชาวบ้าน ได้อธิบายแนวคิด วิวาทะในการนำเสนอทางเลือก กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่น การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น การหนุนเสริมการทำงานในรูปแบบภาคีท้องถิ่น ผ่านแนวทางประชาธิปไตยทางตรง หรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม


 


จากบทเรียนและประสบการณ์ของผู้เขียนและเพื่อนๆอีกหลายคนที่มีโอกาสเข้าไปเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการพัฒนาตำบล หรือ ตำแหน่งในฝ่ายบริหารไม่ว่าจะเป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รวมไปถึงเป็นตัวแทนประชาคมหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือแม้กระทั้ง ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวบ้านที่ผ่านกลไกการเลือกตั้ง หรือประชาธิปไตยแบบตัวแทน และได้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายเล็กๆเพื่อเป็นกลไกการทำงานในการตอบสนองแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชน เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิเคราะห์การทำงาน ปรากฏการณ์ เงือนไข ข้อจำกัดที่ค้นพบในการการบริหารจัดการและการปกครองท้องถิ่น


 


สิ่งที่ทางเครือข่ายได้ค้นพบจากการแลกเปลี่ยนพูดคุย จัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูล การสัมภาษณ์ กระบวนการกลุ่มย่อยต่างๆนั้น พบว่าถึงแม้ทิศทาง/แนวทางในการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการท้องถิ่น และการเปิดพื้นที่ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะปรากฏอยู่บ้างในเชิงของโครงสร้างรูปแบบตามกฎหมาย


 


แต่ทว่าในแง่ของความจริงที่ปรากฏ ในการบริหารจัดการและการปกครองท้องถิ่น รวมถึงการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลับมีเงื่อนไข ข้อจำกัด ความซับซ้อนในหลายๆประการด้วยกัน เช่น


 


ประการที่ 1.  ความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการท้องถิ่นได้ถูกกำกับจากทิศทางของกระทรวงมหาดไทยโดยการสร้างเงื่อนไขทางกฎหมาย โดยออกพระราชบัญญัติต่างๆขึ้นมากำกับและควบคุม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น


 


...สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล 2537 แก้ไข ปี 2546 ในส่วนที่ ๕ ว่าด้วย "การกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนตำบล"


 


"มาตรา ๙๐ ให้นายอำเภอมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามวรรคหนึ่ง ให้นายอำเภอมีอำนาจเรียกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบล และลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลมาชี้แจงหรือสอบสวน ตลอดจนเรียกรายงานและเอกสารใดๆ จากองค์การบริหารส่วนตำบลมาตรวจสอบก็ได้


 


เมื่อนายอำเภอเห็นว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบลผู้ใด ปฏิบัติการในทางที่อาจเป็นการเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเสียหายแก่ราชการและนายอำเภอได้ชี้แจงแนะนำตักเตือนแล้วไม่ปฏิบัติตาม ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนที่จะรอช้ามิได้ให้นายอำเภอมีอำนาจออกคำสั่งระงับการปฏิบัติราชการของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลไว้ตามที่เห็นสมควรได้ แล้วให้รีบรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดทราบภายในสิบห้าวันเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยสั่งการตามที่เห็นสมควรโดยเร็ว การกระทำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณีตามวรรคสาม ไม่มีผลผูกพันองค์การบริหารส่วนตำบล"


 


"มาตรา ๙๑ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม นายอำเภอจะรายงานเสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและให้แสดงเหตุผลไว้ในคำสั่งด้วยเมื่อมีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือถือว่ามีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นใหม่"


 


จะเห็นว่า แค่เฉพาะในมาตราที่ ๙๐ และ ๙๑ ของพ.ร.บ. นี้ ได้ให้อำนาจแฝงไปอยู่ที่อำนาจของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เช่น อำเภอ จังหวัด ในการควบคุม กำกับ บังคับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีลักษณะความสำคัญในแง่ของจิตวิทยาในท้องถิ่นที่ให้อำนาจชี้ขาด หรือให้คุณ ให้โทษได้ถ้าไม่ได้ตอบสนองอำนาจและความต้องการของผู้มีอำนาจ หรือภาษาที่ใช้ในวงการคือ "การขอความร่วมมือ"


 


ทั้งๆที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ภายใต้แนวทางการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพ และ พัทยา) ในมาตรา ๔๓ แห่ง พ...สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล 2537 แก้ไข ปี 2546 ได้กล่าวไว้ว่า "องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น"และ เมื่อพิจารณาถึงการตั้งจัดองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตราที่ ๔๑ จัตวา แห่ง พ...สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล 2537 แก้ไข ปี 2546 "ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกันภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว


การรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นใดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตตำบลนั้น"


 


ฉะนั้น จะเห็นได้ว่ากว่าที่จะจัดตั้ง เปลี่ยนสถานะจากสภาตำบลมาเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลได้นั้น จะต้องใช้มติ ความเห็นชอบจากประชาชน องค์กรชุมชน ในตำบลนั้นๆ แต่ เมื่อมาวิเคราะห์ การควบคุม จัดการ หรือ แม้แต่ยุบองค์การบริหารส่วนตำบล ก็ไม่ปรากฏว่ามีกลไกของชุมชนในกระบวนการดังกล่าวเลย


 


ประการที่ 2. เมื่อมองประเด็นในช่องทางในการในการมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา ภายใต้ พ...สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล 2537 แก้ไข ปี 2546 ในมาตรา ๖๙/๑ การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมนิ ผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด


 


จากเนื้อหาดังกล่าวนั้น ทำให้กระบวนการทำงานขององค์กรชุมชน เสมือนว่าได้มีพื้นที่ในการเข้าไปหนุนเสริมกระบวนการในการทำงาน และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นแล้ว ความจริงที่พบคือ "ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด"   สิ่งที่กระทรวงมหาดไทยใช้มาเป็นระเบียบตามมาตรา ที่ ๖๙/๑ คือ   ะเบียบมหาดไทย "ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘" ชื่อระเบียบ ก็บอกชัดเจนแล้วว่าเป็น ระเบียบมหาดไทย ไม่ใช้ระเบียบที่มาจากการกำหนดเองของท้องถิ่น ในเนื้อหาระเบียบดังกล่าวนี้ได้ให้ความสำคัญใน 3 ประเด็นด้วยกัน คือ


 


1) โครงสร้างคณะกรรมการที่จำแนกเป็น 3 ส่วน ได้แก่


 


  -คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น เป็นโครงสร้างที่มีมาจากการคัดเลือกโดยมาจากนายยกองค์การบริหารส่วนตำบลเสนอ จากการคัดสรรภายในสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มาจากการผู้ทรงคุณวุฒิ และตัวแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาคม ทำหน้าที่กำหนดแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่น ดูแผนงานกิจรรมให้สอดคล้องกับนโยบาย


 


 -คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จะเป็นเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล เช่น ปลัด อ.บ.ต. เจ้าหน้าที่การคลัง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ทำหน้าที่รวบรวมแผนจากเวทีประชาคมในหมู่บ้าน ตำบล


 


- คณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น มาจากการเสนอของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  มาจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และตัวแทนจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล รวมถึงตัวแทนประชาคม ทำหน้าที่ กำหนดแนวทางการประเมินผล ติดตามประเมินผล และรายงานต่อผู้บริหาร สภา และ ประชาชน


 


ดังนั้นประเด็นต่อโครงสร้างคณะกรรมการเหล่านี้จะพบว่า ในส่วนขององค์กรชาวบ้านในการเข้าไปจัดทำแผนในระดับท้องถิ่นแทบไม่มีช่องว่างให้กลไกองค์กรชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วม หนุนเสริม ติดตามเลย              


 


2) คำนิยาม"แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา"หมายความว่าผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งแสดงถึงวิสัยทัศน์พันธกิจและจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในอนาคตโดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผน


การบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด อำเภอ และแผนชุมชน


 


ดังนั้น นิยามของแผนฯ จึงมุ่งเน้นที่การยึดเอาแผนยุทธ์ศาสตร์ในระดับนโยบายและระดับจังหวัดมาเป็นแม่แบบในการวางแผนพัฒนาตำบลโดยไม่สอดคล้องกับเงือนไข บริบท วัฒนธรรมที่แตกต่างและหลากหลายในแต่ละตำบล


 


3) กระบวนการจัดทำแผน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในมิติประชาคม ในระยะหลังประชาคมกลับกลายเป็นเงือนไขที่ถูกกำกับโดยกระทรวงมหาดไทย มิได้มีความหมายในการเป็นเวทีกลไกการทำงานที่เป็นลักษณะการมีส่วนร่วม แต่กลับกลายเป็นลักษณะปัจเจกบุคคลที่ทำหน้าที่ สอง ลักษณะ คือ 1.เปิดซอง ประมูลโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตรวจรับการจ้าง คล้ายๆกับกับเป็นตรายางประทับ ให้กับการจัดจ้างในโครงการต่างๆ และ2. เป็นการตรวจสอบ ถ่วงดุลอำนาจ ความขัดแย้งในท้องถิ่น  


 


ดังนั้น กลไกเวทีประชาคมจึงมีข้อจำกัดและเนื้อหา การมีส่วนร่วมของประชาคมก็มีแค่ในขั้นตอนแรก คือ เสนอปัญหาความต้องการว่าจะเอาอะไร เท่านั้น  แต่กระบวนการในการจัดทำแผน จำเป็นต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมมากกว่า ทั้งการวิเคราะห์ ทบทวน ต้นทุน เชื่อมโยงกระบวนการทำงาน ฯลฯ


 


พ.ร.บ.การกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจ พ..2542 ได้ให้น้ำหนักเนื้อหาในการกระจายอำนาจในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี รายได้ในท้องถิ่น และมุ่งเน้นที่ถ่ายโอนภารกิจให้กับท้องถิ่น โดยต้องถ่ายโอนภารกิจทั้งหมด 250 ภารกิจให้แล้วเสร็จ ในปี พ..2550 ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตกอยู่ในสภาวะที่ตั้งตัวเพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจต่างๆไม่ทันและขาดประสิทธิภาพ ในขณะที่แผนกระจายอำนาจดังกล่าวฯไม่ได้มุ่งเน้นในการพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรองรับทิศทางการกระจายอำนาจเลย


 


ในขณะที่การจัดสรรงบประมาณรายได้ ที่ทางรัฐบาลต้องให้เงินอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 35 % ในปี 2549 (ตามพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจ) แต่ในที่สุดกลับเหลือเพียงแค่ 24.1% (ปี 2549) เท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้มีการปรับแก้แนวทางของแผนขั้นตอนการกระจายในด้านงบประมาณโดยที่รัฐจะต้องอุดหนุนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไว้ที่ 35 % แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาในการให้เงินอุดหนุนให้ชัดเจน


 


ประการที่ 3.ความบอบช้ำจากการถูกแทรกแซง จากการเมืองในระดับภูมิภาค ชาติ กลุ่มทุนทั้งในระดับท้องถิ่น การเมืองจากส่วนกลาง นักการเมือง ได้เข้ามาแทรกแซง ควบคุมกลไกภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการส่งผู้แทนของตนเองลงสมัครรับเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น หรือการสร้างระบบอุปถัมภ์แบบใหม่ขึ้นมา เพื่อรองรับและแสวงหาผลประโยชน์เพื่อกลุ่มทุนของตนเอง


 


จากประเด็นที่วิเคราะห์ดังกล่าวนั้นเองทำให้เห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ตกอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้า คลายไม่ออก ความพยายามในการปลดล็อก ปลดปล่อยตนเอง เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอิสระ( Autonomy) ในการบริหาร จัดการ ทั้งการตัดสินใจ การจัดการงบประมาณ การมีศักดิศรีเป็นของตนเอง ก็เป็นเรื่องยากที่จะผลักดัน เปลี่ยนแปลงต่อสู้กับระบบมหาดไทย ในขณะที่ แนวทางในการต่ออายุให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้ถึง 60 ปี ก็เกิดความขัดแย้งระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการล้ำเส้นบทบาท หน้าที่ การช่วงชิงการนำ  ในระดับพื้นที่ ที่เป็นลักษณะโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจในท้องถิ่น ก็ปรากฏอยู่เสมอๆ


 


เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิศทางการกระจายอำนาจในการปกครองท้องถิ่น( Local Government) รวมถึง บริหารจัดการท้องถิ่น (Local Governance) จึงมิได้มุ่งเน้นเฉพาะทางใดทางหนึ่งในการกระจายอำนาจเท่านั้น แต่หากต้องกระจายไปสู่ภาคส่วนต่างๆในสังคม ชุมชน ในการกำหนดชะตากรรมของท้องถิ่นร่วมกันด้วย เช่น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิชุมชน การจัดการระบบน้ำและเหมืองฝาย เป็นต้น


 


ในขณะที่แนวทางการผลักดันการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในส่วนต่างๆก็ได้พยายามที่จะเสนอแนวคิดผ่านในรูปแบบของ ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน..... ซึ่งมีหลักคิด ที่มองว่า ชุมชนเป็นสังคมฐานรากที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมแตกต่างหลากหลายตามภูมินิเวศน์ เนื่องจากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ชุมชนอ่อนแอ ประสบปัญหาความยากจน เกิดปัญหาสังคมมากขึ้น ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนถูกทำลายจนเสื่อมโทรม


 


และยังมีแนวคิดเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ การสร้างระบอบประชาธิปไตย และประชาชนให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่น


 


นอกจากนั้น ยังสนับสนุนให้ชุมชนและประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาจังหวัด  และแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในระดับประเทศบทเรียนจากกระบวนการทำงานร่วมกับท้องถิ่น และที่สำคัญจะเป็นแนวทางในการทำงานร่วมกันในระดับพื้นที่ได้อย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ


 






ในมาตราที่ ๑๙ ของร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. ... นี้เองได้อธิบายบทบาทหน้าที่ของ สภาองค์กรชุมชนในระดับตำบล ว่ามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้


 


(๑) ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของชุมชนและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน


 


(๒) เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล เพื่อพัฒนาท้องถิ่น


 


(๓) ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองรวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต  การเมืองและสิ่งแวดล้อม


 


(๔) จัดให้มีเวทีสมัชชาชุมชนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่มีผลหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน ทั้งนี้ ให้หน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้อนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินการต้องนำความเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาด้วย


 


(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรชุมชนในตำบลเกิดความเข้มแข็งจนสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน


 


(๖) ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น สภาองค์กรชุมชนจังหวัด และสภาองค์กรชุมชนแห่งชาติ


 


(๗) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ดำเนินการอยู่ในตำบล รวมทั้งตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


 


(๘) วางระเบียบและข้อบังคับในการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล


 


(๙) จัดทำรายงานประจำปีของสภาองค์กรชุมชนตำบล รวมถึงสถานการณ์ชุมชนตำบลด้านต่างๆ  เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบ


 


(๑๐) เสนอรายชื่อสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลให้เป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนจังหวัด จำนวนไม่เกินสองคน


 


(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่สภาองค์กรชุมชนแห่งชาติ และสภาองค์กรชุมชนจังหวัดมอบหมาย


 


 


 


 


จะเห็นได้ว่า ทั้ง ๑๑ ประการ ที่เป็นบทบาทหน้าที่ของสภาองค์กรชุมชน มีลักษณะการเข้าไปหนุนเสริมกระบวนการทำงานในระดับท้องถิ่น ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้อย่างมีเหตุมีผล และไม่มีลักษณะการจัดการเชิงอำนาจ ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง


 


ในทางกลับกัน ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ…...นี้เองจะเป็นโอกาสที่จะนำไปสู่การปลดล็อก อีกแบบหนึ่ง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถมีอิสระในบริหารจัดการตนเอง การวางแผนพัฒนา ในการผลักดัน ปฎิรูป แก้ไข กฎหมายลูกที่เป็นอุปสรรคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดับท้องถิ่น/ตำบล การสร้างกลไกภาคีในการจัดการท้องถิ่นนอกเหนือไปจากคว


 


ดังนั้น"กุญแจ"ดอกนี้ จึงมีความหมายและความสำคัญต่อท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ในการเปิดประตูไปสู่เส้นทางการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net