Skip to main content
sharethis

ภัยพิบัติจากพายุไซโคลนนาร์กิสที่พัดถล่มปากแม่น้ำอิรวดีเมื่อปี 2551 นอกจากจะสร้างความสูญเสียและความเสียหายให้กับคนในพื้นที่แล้ว ประชาชนยังต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่บีบบังคับให้เด็กสาวจำนวนมากเข้าสู่วงจรการค้าประเวณี

 

ดาดา เด็กสาว วัย 19 ปี  ยอมทิ้งอนาคตของตัวเองมาขายบริการทางเพศเพื่อนำเงินมาจุนเจือครอบ ครัว หลังเกิดเหตุพายุไซโคลนนาร์กิส เธอเล่าพร้อมน้ำตาว่า “กว่าจะได้เงิน 5 ,000 จั๊ต (165 บาท) ฉันต้องนอนกับลูกค้าถึง 3 ชั่วโมง

ดาดา เล่าว่า เธอสูญเสียพ่อที่เป็นชาวประมงไปกับภัยพิบัติในครั้งนั้น ทุกวันนี้เธอต้องยอมเสียสละเพื่อเลี้ยงดูน้องๆ   เช่น เดียวกับเด็กสาวอีกจำนวนมากในหมู่บ้านเดียวกันที่จำใจหันมาทำอาชีพขายบริการทางเพศ เพราะต้องแบกรับภาระทางการเงินหลังเกิดภัย พิบัติ แม้กระทั่งน้องสาวของดาดาที่บอกว่า โตขึ้นจะทำอาชีพเดียวกับพี่สาว

มีรายงาน เช่นเดียวกันว่า  สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำคงแย่ยังบีบบังคับ ให้หญิงสาวไปทำงานในต่างถิ่น ทั้งในกรุงย่างกุ้ง และในเมืองอื่นๆ ซึ่งหญิงสาวเหล่านั้นมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์

มะ ธิดา วัย 24 ปี จากหมู่บ้านซิตตเว ในเมืองลาบุตตา เปิดเผยว่า หลังไซโคลนนาร์กิส ชาวบ้านในพื้นที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบากมาก ชาวบ้านทำงานทุกอย่างเท่าที่จะหาทำได้ ก่อนหน้านี้ มะ ธิดา รับจ้างขนอิฐ แต่ในตอนนี้เธอทำงานในอาบอบนวด เธอเล่าว่าเธอมีรายได้จากอาชีพนี้ เป็นกอบเป็นกำ โดยลูกค้าส่วนใหญ่มีทั้งเจ้าของที่นา นักธุรกิจนาเกลือและประมง หรือแม้แต่พ่อม่ายชาวนาที่ภรรยาเสียชีวิตไป กับไซโคลนนาร์กิส

ทั้งนี้ ภัยพิบัติไซโคลนนาร์กิสในปี 2551 คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 140, 000 คน ทำลายบ้านเรือนไปกว่า 450,000 หลัง จนทำให้มีชาวบ้านต้องไร้บ้านกว่า 800,000 คน แม้จะครบรอบ 2 ปีแล้ว  แต่ชีวิตของ ชาวบ้านจำนวนมาก ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ เนื่องจากยังต้องเจอกับปัญหา เศรษฐกิจ ทั้งไม่มีที่ทำกิน  เพาะปลูกไม่ได้ผล ขาดแคลนน้ำดื่มสะอาด และที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม ทั้งนี้ หลังนาร์กิส ชาวนาจำนวนมากถูกสถานการณ์บังคับให้ทิ้งที่นา มาเป็นแรงงานรับจ้างรายวัน เช่นเดียวกับชาวประมงที่ต้องทิ้งอาชีพของ ตนมารับจ้างเช่นกัน

ต่องเส่ง  ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจประมงมากว่าสามสิบปีและอาศัยอ ยู่ในหมู่บ้านเอสิ่นฉ่ายเล่าว่า พายุไซโคลนนาร์กิสได้ทำลายนาข้าวชาว นา การประมง และแม้แต่ธุรกิจนาเกลือ แม้จะมีการฟื้นฟู แต่ รัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือในระยะเวลาที่สั้น จึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และธุรกิจในพื้นที่ก็ยังไม่ฟื้นตัว เต็มที่ จึงทำให้เขาไม่กล้าจ้างคนงานจำนวนมากในเวลานี้

บรรณาธิการวารสารธุรกิจในย่างกุ้งเปิดเผยว่า ภาคอิรวดีเปรียบเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำ ของประเทศพม่า แต่ขณะนี้คนเหล่านี้กำลังย้ายไปอยู่ในพื้นที่อื่นเพื่อหา งานทำที่ดีกว่า จึงทำให้คนที่ปลูกข้าวในภาคอิรวดีลดน้อยลงด้วย

ขณะที่มีรายงานว่า เมืองมโยะ ติ๊ด รอบนอกลาบุตตา เป็นอีกเมืองหนึ่งได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาให้ทันสมัยหลังเสียหาย จากพายุไซโคลนนาร์กิส ขณะนี้เต็มไปด้วยผับ บาร์ ร้านคาราโอเกะ และบริการอาบอบนวด ซึ่งเมืองนี้ ทั้งนี้เมืองมโยะ ติ๊ด เริ่มมีประชาชนเข้ามาอาศัยอยู่หนาแน่น และดึงดูดให้เด็กสาวที่ต้องการ เงินให้เดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมาก

นักธุรกิจคนหนึ่งในเมืองลาบุตตากล่าวว่า “เมื่อก่อนในเมืองมโยะ ติ๊ด ไม่มีทั้งร้านคาราโอเกะ ร้านอาบอบนวด หรือแม้กระทั่งบาร์ หญิงสาวที่ขายบริการทางเพศก็มีจำนวนน้อย แต่ตอนนี้มากขึ้น และเมืองนี้ กลายเป็นจุดหมายของเด็กสาวเหล่านี้ไปแล้ว” และเนื่องจากรายได้ไม่มากเท่าย่างกุ้ง หลายคนจึงมุ่งตรงไปขายบริการที่ย่างกุ้ง

อย่างไรก็ตาม  พื้นที่ประสบภัยนาร์กิสยังจำเป็นต้องได้รับเงินช่วยเหลืออีก ราว 500 ล้านดอลลาร์ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์จากกลุ่มเอ็นจี โอต่างๆ ก็ยังคงอยู่ภายใต้มาตรการเข้มงวดของรัฐบาลพม่าต่อไป โดยกลุ่มเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า ในช่วงมีการจัดการเลือกตั้งในปีนี้ เชื่อว่า รัฐบาลจะยิ่งใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น (Irrawaddy 3 พ.ค.53)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net