Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

พุทธศาสนาอันเป็นมรดกของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้หันหลังให้กับอำนาจและสถานะอันได้เปรียบทางชนชั้นสู่การดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายอย่างสามัญชน คือ “ทัศนะต่อโลกและชีวิตแบบอริยสัจ” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อดับทุกข์ทางจิตวิญญาณ ได้ถูกอรรถาธิบายขยายความ ถูกตีความรับใช้สถานะทางชนชั้น และรูปแบบวิถีชีวิตที่ตรงกันข้ามกับวิถีชีวิตของผู้ให้กำเนิดพุทธศาสนาอย่างสิ้นเชิง ดังในสังคมพุทธไทยนั้น พุทธศาสนาคือ “แก้วสารพัดนึก” ที่ถูกนำไปตอบปัญหาได้ทุกเรื่อง เมื่อเราดูทีวีรายการธรรมะ หรือเข้าไปในร้านหนังสือธรรมะ เราอาจได้ดูรายการสนทนาธรรม หรือรายการหนังสือประเภทนี้ เช่น ธรรมาพารวย ธรรมาค้าขึ้น ทำบุญอย่างไรให้สวย ฯลฯ อันเป็น “ประดิษฐกรรมทางปัญญา”ของพระนักคิดนักเขียนชื่อก้องแห่งยุคสมัย จะว่าไปแล้ว ในสังคมไทยนั้นการตีความคำสอนพุทธศาสนาเพื่อรับใช้ “คุณค่าที่ตรงกันข้าม” กับคุณค่าที่พระพุทธองค์เสนอ ได้ก่อให้เกิดพุทธศาสนาแบบมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ตกทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน ดังที่ ธงชัย วินิจจะกูล สะท้อนภาพสังคมไทยตามคติพุทธแบบมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ว่า “สังคมอินทรียภาพแบบพุทธ คือแนวคิดที่เน้นว่าสังคมจะปกติสุขและจะเคลื่อนตัวพัฒนาไปได้ ก็ต่อเมื่อหน่วยต่างๆ ของสังคมจะต้องรู้จักหน้าที่ของตนและทำงานอย่างประสานสอดคล้องกัน (harmony) เปรียบเสมือนอวัยวะต่างๆ ของร่างกายซึ่งมีหน้าที่ต่างๆ กัน ความสำคัญไม่เท่ากัน แต่ต้องประสานสอดคล้องกันจึงจะไม่เจ็บป่วย ประเทศชาติหรือสังคมเปรียบเสมือนร่างกายขนาดใหญ่ เป็นองค์รวมขององคาพยพที่ไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน แต่ล้วนมีความสำคัญและต้องทำตามหน้าที่ของตนอย่างประสานสอดคล้องกัน สังคมจึงจะไม่เจ็บป่วย แถมมีสุขภาพแข็งแรงเติบโตต่อไปได้ องค์รวมที่เรียกว่าประเทศไทย จึงเต็มไปด้วยหน่วยย่อยๆ ที่มีบุญบารมีไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะพิจารณาหน่วยสังคมใดๆ เช่นครอบครัว ที่ทำงาน หมู่บ้าน ตำบล จังหวัด กระทรวง กรม โรงเรียน บริษัท โรงงาน ฯลฯ ก็จะพบผู้คนที่มีบุญบารมีไม่เท่ากัน และต้องยอมรับความสูงต่ำในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่ทุกๆ คนล้วนมีความสำคัญเพราะทุกอวัยวะทุกหน้าที่ล้วนมีความสำคัญ ความสามัคคีที่เป็นคาถาในอาร์มแผ่นดินมีรากมาจากพุทธศาสนา ได้รับการตีความให้เข้ากับปรัชญาสังคมอินทรียภาพแบบพุทธของไทยสมัยใหม่\ (มติชนออนไลน์

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net